ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

กุญแจไขโจทย์คุณภาพการศึกษาไทย


บทความการศึกษา 3 พ.ย. 2557 เวลา 10:58 น. เปิดอ่าน : 9,329 ครั้ง
กุญแจไขโจทย์คุณภาพการศึกษาไทย

Advertisement

วันเพ็ญ แก้วสกุล
wanpen@nationgroup.com

โจทย์ใหญ่ด้าน "คุณภาพ" ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศที่หลาย ภาคส่วนต่างก็มองตรงกันว่าถึงเวลาแล้วหรือยังกับการ "ยกเครื่อง" การศึกษาของไทยทั้งระบบ เหตุจากผลประเมินคุณภาพที่ปรากฏออกมาว่าประเทศไทยติดกลุ่มรั้งท้ายตารางเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน

นอกจากนี้ ภาวะการ "ใช้งาน" ของบัณฑิตที่จบออกไป ยังคงเต็มไปด้วย "คำถาม" ถึงความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับค่าตอบแทนที่ค่อนข้างสูง ไม่นับรวมขีด ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ และเศรษฐกิจไทยที่ยังต้องเร่งทำกันอีกมาก

และที่กล่าวมา หนีไม่พ้นต้องพึ่งพา "คนคุณภาพ" ให้เข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยทั้งระบบก่อน โดยเฉพาะในวันที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเปิดฉากอย่างเป็นทางการในปี 2558 กุญแจดอกสำคัญที่จะมาไขโจทย์ ด้านการศึกษา สะท้อนผ่านมุมมอง นักเศรษฐศาสตร์ และผู้บริหารสถาบันการศึกษา รศ.ดร สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) ที่ว่า ประเทศไทย จะเดินกลยุทธ์ในแบบแยกส่วน ไม่ได้แต่ต้องมองเป็นส่วนๆ แล้วศึกษาเพื่อหารูปแบบของกลยุทธ์ ที่เหมาะสมในแต่ละส่วน "CLMV+T " เป็นหนึ่งในไม้เด็ดที่ รศ.ดร. สมภพ เสนอแนวคิดไว้ C คือ Cambodia L- Lao, M-Myanmar, V-Vietnam และ T -Thailand "ประเทศไทยมีความได้เปรียบเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน คนจากประเทศลาว พม่า กัมพูชา ต่างก็เข้ามาทำงานในไทย คุ้นเคยในวัฒนธรรม ไลฟ์สไตล์ และ การนับถือศาสนา อีกทั้งยังมีชายแดน ที่ติดกับประเทศไทย รัฐบาลหรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องคงต้องมาดูว่าจะทำอย่างไรที่จะคว้าโอกาสนี้ทำให้ประเทศไทย เป็นประตูเชื่อมสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เป็นศูนย์กลางธุรกิจ โดยเฉพาะ Service Base Economy และศูนย์กลางด้าน การศึกษาของภูมิภาคนี้"

ที่กล่าวมาไม่เพียงแต่มุมมองการ ขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจเท่านั้น รศ.ดร สมภพ บอก ยังต้องเชื่อมโยงเอามิติ ด้านการศึกษาเข้าไปด้วย เพราะใครมี ขีดความสามารถในการแข่งขันเหนือกว่า คนนั้นก็ได้เปรียบ ซึ่งการศึกษาจะเข้ามา มีส่วนช่วยตรงนี้อย่างมาก เรียกว่า ถ้าคนเก่งซะอย่างทำอะไร ก็ง่ายขึ้น เพราะ "คน" คือ "หัวใจ" ทั้งนี้มี 3 เรื่องหลักๆ ที่ในส่วน ของการศึกษาต้องเร่งทำและเตรียม ความพร้อม ประกอบด้วย 1. หลักสูตร จากนี้จะเปิดสอนในแบบเดิมๆ ไม่ได้อีก ต่อไป แต่ต้องมองเชิงขยายของเนื้อหา ที่กว้างและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น 2. อาจารย์ บุคลากรด้านการศึกษา

รวมถึงนักศึกษาที่ต้องปรับ Mindset ให้มีความเป็นอาเซียน 3, สถาบันการศึกษา ต้อง เตรียมความพร้อมใน 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย Hardware ที่ต้อง ก้าวทันเทคโนโลยี ในส่วนของ PIM ได้ปรับให้มีการทำ Web Based Education ให้มากขึ้น โดยทำควบคู่ไปกับ Work Based Education ที่เป็นแกนหลักตั้งแต่ต้น

ทั้งนี้ ยังมีในส่วนของ Software ส่วนนี้อยากจะเห็นการขับเคลื่อนที่ เชื่อมโยงระหว่างการศึกษากับเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ให้มากขึ้น

สุดท้าย เป็นเรื่องของ Humanware ทรัพยากรบุคคลจากนี้จะต้องมองข้าม ความเป็นพรมแดนให้หมด เพราะจากนี้ ทุกอย่างจะหลอมเป็นเนื้อเดียว

สิ่งจะต้องเร่งทำต่อไปก็คือ การสร้างความเชื่อมโยงให้ได้ทั้งระดับประเทศ และต่างประเทศ โดยในส่วนของ PIM มุ่งสร้าง Asean Mindset บวกกับ 2 จุดแข็งสำคัญ นั่นคือ การเป็น Work Based Education และ Networking ทั้งในประเทศที่ทำกับภาคเอกชน และ ต่างประเทศ โดยโฟกัสไปที่ CLMV "อาเซียนยังมีโอกาสอีกมาก ทั้งเศรษฐกิจ และการศึกษา ในส่วนของ การศึกษามีความต้องการเยอะมากที่จะ ให้เข้าไปเปิดสอน จากการที่ธุรกิจต่างๆ เข้าไปเปิดดำเนินการ และต้องการพัฒนา

คนของตัวเองขึ้นมา หลักสูตรจำนวนมาก

จึงเป็นที่ต้องการ ไม่เฉพาะหลักสูตรระดับอุดมศึกษาเท่านั้น แต่ยังรวมถึง หลักสูตรในระดับมัธยมลงมา" ดังนั้นหากมองการศึกษาทั้งระบบ "ปริมาณ" ยังไม่น่าเป็นห่วงเท่า "คุณภาพ" จุดนี้เองที่ รศ.ดร สมภพ เน้นย้ำว่า ต้องยกเครื่อง ทั้งหลักสูตร บุคลากร และสถาบันการศึกษา ที่โดยความคิดแล้วยังหวังว่าประเทศไทยจะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลาง หรือ ฮับด้านการศึกษาในภูมิภาคอาเซียนได้

"ผมยังเห็นแสงสว่าง แต่ต้องเร่งทำกันตั้งแต่วันนี้ มองภาพให้ออก วางกลยุทธ์ ให้ชัด ทำทั้งด้านเศรษฐ และการศึกษา"

ทั้งนี้หนึ่งในแนวทางที่ PIM เริ่มทำ คือ การผลิตบัณฑิต "อาเซียนดีเอ็นเอ" เพื่อพร้อมด้านกำลังคนให้กับประเทศ โดยบัณฑิตที่จบออกไปต้องให้ได้คุณสมบัติทั้ง "7-11"

"7 Capacities" ได้แก่ ความสามารถที่จะ What การรู้จักตั้งคำถาม, Why การคิดเชิงวิเคราะห์, How รู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไร, When การบริหารจัดการเวลา, Where การกำหนดว่าอะไรสำคัญที้ต้อง ทำก่อน-หลัง, Who การมอบหมายงาน และสุดท้าย For Whom รู้ว่าใครคือกลุ่มเป้าหมาย

"11 คุณสมบัติ" ได้แก่ ความสามารถในการสื่อสาร, การทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคม , การเป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี, การมี Work Ethics, ทักษะและความสามารถในสาขาที่เรียน, การคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ, การเป็นคนดีในสังคม, ต้องมีวุฒิภาวะ, ความสามารถด้านภาษา ต่างประเทศ เทคโนโลยี และด้านการเงิน

สองคุณสมบัติสุดท้ายที่สำคัญ ก็คือ ภาวะผู้นำ และการมี Global Vision และ Asean Vision

การกำหนดกรอบการพัฒนา "คน" ดังกล่าวนั้น รศ.ดร สมภพ บอกคงต้องพัฒนาเครื่องมือติดตามและตรวจสอบ หรือในแนวทางที่เริ่มทำแล้วก็คือ TSR หรือ Teacher Student Relationship โดยจะเป็นทีมที่ทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างนักศึกษา ผู้ปกครอง และสถานประกอบการที่นักศึกษาเข้าไปฝึกงาน

"ผมเองยังเชื่อเสมอว่า คนไทย มีศักยภาพ หากมีนโยบายที่ชัดเจน และ ถูกทาง เมื่อเข้าสู่เออีซี เราจะเป็น ศูนย์กลางของการศึกษาได้" รศ.ดร สมภพ กล่าว

'ใครมีขีดความสามารถในการแข่งขันเหนือกว่า คนนั้นก็ได้เปรียบ ซึ่งการศึกษาจะเข้ามามีส่วนช่วยตรงนี้อย่างมาก'

 

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ


กุญแจไขโจทย์คุณภาพการศึกษาไทย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

อย่ากวดวิชาอย่างเดียว

อย่ากวดวิชาอย่างเดียว


เปิดอ่าน 7,499 ครั้ง
บทบาทผู้นำองค์กร 2020

บทบาทผู้นำองค์กร 2020


เปิดอ่าน 8,485 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การศึกษาแบบไหนสอนให้คิดเป็น

การศึกษาแบบไหนสอนให้คิดเป็น

เปิดอ่าน 16,971 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
บทบาทผู้นำองค์กร 2020
บทบาทผู้นำองค์กร 2020
เปิดอ่าน 8,485 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาแบบไหนสอนให้คิดเป็น
การศึกษาแบบไหนสอนให้คิดเป็น
เปิดอ่าน 16,971 ☕ คลิกอ่านเลย

Speed Leader 5 กุญแจความสำเร็จสร้างผู้นำ
Speed Leader 5 กุญแจความสำเร็จสร้างผู้นำ
เปิดอ่าน 13,617 ☕ คลิกอ่านเลย

หยุด การศึกษาที่สร้างทุกข์ให้นักเรียน และผู้ปกครอง
หยุด การศึกษาที่สร้างทุกข์ให้นักเรียน และผู้ปกครอง
เปิดอ่าน 35,830 ☕ คลิกอ่านเลย

"ครูเคยโทษตัวเองบ้างหรือไม่ ?" บทความกระแสคัดค้านการถ่ายโอนสู่ท้องถิ่น โดย วีระ สุดสังข์
"ครูเคยโทษตัวเองบ้างหรือไม่ ?" บทความกระแสคัดค้านการถ่ายโอนสู่ท้องถิ่น โดย วีระ สุดสังข์
เปิดอ่าน 21,963 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาเรียนรู้จากผู้ประสบความสำเร็จ: "สิงคโปร์"
ปฏิรูปการศึกษาเรียนรู้จากผู้ประสบความสำเร็จ: "สิงคโปร์"
เปิดอ่าน 9,870 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เจ๋งอ่ะ! 20 วิธีลดน้ำหนัก ผลาญ 500 แคลอรี่ต่อวัน
เจ๋งอ่ะ! 20 วิธีลดน้ำหนัก ผลาญ 500 แคลอรี่ต่อวัน
เปิดอ่าน 20,703 ครั้ง

ทำไมราคายางจึงร่วงหล่น?
ทำไมราคายางจึงร่วงหล่น?
เปิดอ่าน 14,717 ครั้ง

สีเขียว ช่วยให้คุณครีเอทีฟ
สีเขียว ช่วยให้คุณครีเอทีฟ
เปิดอ่าน 10,903 ครั้ง

อาจารย์เฉลิมชัย "ระบบการศึกษาประเทศไทย"
อาจารย์เฉลิมชัย "ระบบการศึกษาประเทศไทย"
เปิดอ่าน 15,491 ครั้ง

เคล็ดลับดีๆ เพื่อช่วยกำจัดความ "เขิน"
เคล็ดลับดีๆ เพื่อช่วยกำจัดความ "เขิน"
เปิดอ่าน 16,332 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ