ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"กูเกิ้ล"ผุดนวัตกรรม แว่นเสมือนจริง-รถอัตโนมัติ!


ความรู้ทั่วไป เปิดอ่าน : 8,224 ครั้ง
"กูเกิ้ล"ผุดนวัตกรรม แว่นเสมือนจริง-รถอัตโนมัติ!

Advertisement

การแข่งขันอย่างดุเดือดในแวดวงธุรกิจทุนนิยมปัจจุบัน โดยเฉพาะในวงการ 'ไอที' ถือเป็นสิ่งที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง เพราะประกอบกับเทคโนโลยีที่รุดหน้าในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดการผลักดันนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมามาก มาย หลายผลิตภัณฑ์นับได้ว่าน่าตื่นตาตื่นใจ ซึ่งแต่ละบริษัทก็ต่างคิดค้นพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อช่วงชิงเงินในกระเป๋าของ ผู้บริโภคกันอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย



โดยหนึ่งในบริษัทที่มักชอบสร้างความฮือฮาในวงการไอทีอย่าง บริษัทกูเกิ้ล สหรัฐอเมริกา ซึ่งเติบโตมาจากการเป็นผู้นำด้านเว็บไซต์ 'เสิร์ช เอ็นจิ้น' ของโลกไซเบอร์ ยังคงไม่พอใจอะไรง่ายๆ กับแค่การถ่ายทำแผนที่ทุกตารางนิ้วบนผืนโลก



ล่าสุด กูเกิ้ลเปิดตัวโครงการสุดทะเยอทะยานเพิ่มอีก ได้แก่ 'กูเกิ้ล โปรเจ็กต์ กลาส เออาร์'



แว่นตาล้ำยุคที่ผสมผสานเอาเทคโนโลยี 'เออาร์' ไว้ใน หนึ่งเดียว



พร้อมปล่อยคลิปวิดีโอโฆษณาแว่นตาดังกล่าว สร้างความตื่นเต้นไปทั่ววงการไอทีและผู้บริโภค



'กูเกิ้ล เอ็กซ์' หน่วยวิจัยและพัฒนาของกูเกิ้ลได้หยิบเอา 'เทคโนโลยีเสมือนจริง' (อักเมนต์ เรียลลิตี้) หรือ เออาร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ได้รับการกล่าวขวัญฝันถึงมาเนิ่นนานในวงการไอที หลักๆ คือการซ้อนภาพที่ถูกประมวลสังเคราะห์จากคอมพิวเตอร์เข้าไปในบริเวณเดียวกันกับที่ 'นัยน์ตา' ของมนุษย์มองเห็น



ประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีเออาร์ คือ การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ที่รวดเร็วขึ้น เพิ่มพูนความสามารถในการรับรู้ต่อสถานการณ์ต่างๆ (ซิตจูเวชันเนล อแวเนสส์) ส่งผลโดยตรงถึงปริมาณและคุณภาพของผลลัพธ์ที่ดีขึ้น



แม้เทคโนโลยีดังกล่าวปัจจุบันจะถูกนำมาประยุกต์ใช้แล้วในหลายวงการ



เช่น อุตสาหกรรมเกม กีฬา รถยนต์ และในกองทัพ เช่น หมวกของนักบินเครื่องบินขับไล่ประจัญบาน 'เอฟ-35 ไลต์นิ่ง ทู'



ทว่า นวัตกรรมดังกล่าวยังคงถูกใช้อยู่ในแวดวงที่จำกัด และยังดูห่างไกลจากแวดวงผู้บริโภคทั่วไป กระทั่งการเปิดตัวโครงการดังกล่าวของกูเกิ้ล





โดยกูเกิ้ลเปิดเผยว่า 'แว่นตาเออาร์' นั้นสวมอยู่บนใบหน้าของเจ้าหน้าที่กูเกิ้ลในโครงการหลายคน



เพราะอยู่ในขั้นตอนการทดสอบจริงแล้ว



แว่นตาเออาร์ มีลักษณะเหมือนแว่นตาธรรมดาทั่วไป แต่จะมีกล้องรับภาพขนาดเล็กและจอแสดงผลอันจิ๋วประกอบมาด้วยกันอยู่ที่เลนส์ข้างหนึ่งของแว่น จอแสดงผลนี้เองที่จะเป็นตัวแสดง 'ภาพสังเคราะห์' จากคอมพิวเตอร์ ส่งผลให้ภาพปรากฏขึ้นที่ด้านหน้านัยน์ตาของผู้ใช้ ทำให้ภาพที่ถูกประมวลขึ้นเสมือนปรากฏอยู่ในโลกจริง



การคาดการณ์จากข้อมูลเบื้องต้นในคลิปเปิดตัวแว่นตาเออาร์ของกูเกิ้ล แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการแสดงข้อมูลสถานที่ปลายทาง เส้นทาง และข้อมูลสภาพอากาศ สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ฟังเพลงและสื่อสารได้แบบสมบูรณ์ทั้งภาพและเสียง ควบคุมด้วยการสั่งการจากเสียงของผู้ใช้และลักษณะการเคลื่อนไหวของศีรษะ เช่น ส่ายหัว รวมทั้งสามารถใช้เป็นเครื่องเตือนความจำผู้ใช้ได้เกี่ยวกับธุระสำคัญต่างๆ ผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์



นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ค้นหาและระบุตำแหน่งบุคคลได้ด้วยระบบ 'ละติจูด' ของกูเกิ้ล



ขณะที่น.ส.พ.นิวยอร์ก ไทมส์ ระบุไว้ตั้งแต่เมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมา คาดว่าแว่นตาเออาร์ของกูเกิ้ลน่าจะออกวางจำหน่ายแก่ผู้บริโภคได้ภายในปลายปี 2555 ในราคาใกล้เคียงกันกับ 'สมาร์ตโฟน' อย่างไรก็ตาม โฆษกของกูเกิ้ลแจงว่าคงไม่น่าจะเร็วขนาดนั้น



คณะผู้พัฒนาแว่นตาเออาร์ของกูเกิ้ลระบุว่า การประกาศเปิดตัวโครงการนี้ ส่วนหนึ่งเพื่อให้สมาชิกของคณะทำงานสามารถนำแว่นเออาร์ไปทดสอบได้ในสภาพแวดล้อมนอกสำนักงาน



โดยทางคณะผู้พัฒนารู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เห็นลักษณะของภาพที่ถูกถ่ายในสถานการณ์จริง โดยที่ผู้ถ่ายไม่ต้องเสียเวลาใช้มือหยิบสมาร์ตโฟนขึ้นมาตั้งท่ายิง





นอกจากนี้ หนึ่งในผู้ทดสอบการใช้งานแว่นเออาร์ยังรวมถึง 'เซอร์เกย์ บริน' ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทกูเกิ้ลด้วย ซึ่งข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาปรับปรุงระบบการใช้งานให้เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมจริงก่อนจะนำออกจำหน่าย



'เทคโนโลยีที่ใช้ คือแบบที่คอยช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ในเวลาที่ต้องการ และไม่เข้ามาจุ้นจ้านในเวลาที่ผู้ใช้ไม่ต้องการ ส่งผลให้ทางคณะผู้พัฒนาสร้างนวัตกรรมอย่างแว่นเออาร์ขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สำรวจและแบ่งปันโลกของตัวเองกับผู้อื่นได้โดยไม่พลาดโอกาสสำคัญ' ทีมงานกูเกิ้ลประกาศ



แว่นเออาร์ดังกล่าวจะถูกนับเป็นนวัตกรรมชิ้นแรกของผลิต ภัณฑ์รูปแบบใหม่ เรียกว่า 'ระบบประมวลผลแบบติดตัว' ซึ่งจะมีลักษณะเด่นในการแสดงข้อมูลทุกอย่างที่ผู้ใช้มอง โดยผสมผสานเทคโนโลยีเสิร์ช เอ็นจิ้น ระบบการระบุตำแหน่งแบบจีพีเอส โทรศัพท์มือถือ และกล้องถ่ายรูป เข้าไว้ด้วยกันในหนึ่งเดียว



'พวกเราเปิดเผยโครงการนี้ต่อสาธารณชน เพราะต้องการให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์และพูดคุยกันในสังคม ซึ่งทางผู้พัฒนาจะได้รวบรวมและเรียนรู้จากความคิดเห็นต่างๆ มาปรับปรุงผลิต ภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้จริงมากที่สุด' คณะผู้พัฒนากล่าว







อีกหนึ่งความคืบหน้าที่สร้างความฮือฮาไม่แพ้กัน คือ



การทดสอบระบบขับเคลื่อนรถยนต์อัตโนมัติ ภายใต้โครงการ 'กูเกิ้ล เซลฟ์ ไดรวิ่ง คาร์' หลังกรมการขนส่ง รัฐเนวาดา ของสหรัฐ ออกใบอนุญาตให้กูเกิ้ลทดสอบ 'รถอัจฉริยะ' ของตนบนท้องถนนสาธารณะ แต่จำกัดผู้โดยสารเพียง 2 คนเท่านั้น



การออกใบอนุญาตดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้ประมวลกฎหมายและข้อบังคับใหม่ ซึ่งจะส่งผลให้รัฐเนวาดาถูกยกระดับสู่แนวหน้าในการพัฒนารถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติของโลก



รถยนต์อัตโนมัติสายพันธุ์กูเกิ้ลถูกออกแบบมาให้ขับเคลื่อนด้วยการผสมผสานระบบการระบุตำแหน่งแบบจีพีเอส ตัวตรวจวัดความหนาแน่นการจราจร และซอฟต์แวร์สมองกลแบบเฉพาะกิจ



อย่างไรก็ดี หากจำเป็นผู้โดยสารก็สามารถเข้าควบคุมด้วยตนเองได้เหมือนการขับรถยนต์ปกติทั่วไป



วัตถุประสงค์ของการออกแบบรถยนต์นี้ ได้แก่ การลดอุบัติเหตุและความผิดพลาดในการขับขี่ของมนุษย์ รวมทั้งลดมลพิษจากไอเสียรถยนต์ด้วย เนื่องจากการใช้คอมพิวเตอร์ขับแทนจะทำให้การเดินทางประสิทธิภาพสูงกว่า



'แอนโทนีย์ เลวานดาว์สกี' หัวหน้าหน่วยพัฒนาสมองกลขับเคลื่อนและตัวตรวจวัดในรถยนต์ของกูเกิ้ล กล่าวว่า



คาดว่ารถยนต์ประเภทนี้จะพร้อมจำหน่ายในเวลาไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า แม้ขั้นตอนการทดสอบเพิ่งเริ่มต้น แต่กูเกิ้ลกำลังอยู่ในขั้นตอนของการหารือกับบริษัทประกันภัยและอุตสาหกรรมผู้ผลิต เพื่อทำให้รถยนต์ดังกล่าวสามารถนำมาโลดแล่นโดยผู้บริโภคได้



อย่างไรก็ตาม ยังคงมีเสียงทักท้วงจากบรรดา 'กูรูไอที' ทั้งหลายของสหรัฐ เกี่ยวกับความปลอดภัยของรถยนต์อัตโนมัติ ซึ่งอาจมีความเสี่ยงต่อไวรัสคอมพิวเตอร์ โดยในการทดสอบรถยนต์ดังกล่าวเคยเกิดอุบัติเหตุขึ้น 1 ครั้ง แต่อุบัติเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นขณะที่รถยนต์ถูกควบคุมโดย ผู้ทดสอบ



ล่าสุด รถยนต์รุ่นไฮเทคนี้กำลังถูกทดสอบโดยเจ้าหน้าที่จากกรมการขนส่งของรัฐเนวาดา ในเมืองคาร์สัน ซิตี้ โดยรถยนต์อัตโนมัตินับเป็นนวัตกรรมที่ผู้คนรู้จักกันมากที่สุดในบรรดาไอเดียล้ำยุคจาก 'กูเกิ้ล เอ็กซ์ แล็บ' หน่วยวิจัยและพัฒนาของกูเกิ้ล ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา



โครงการ 'สุดล้ำ' ทั้งสองแม้เป็นความพยายามที่ทะเยอทะยาน แต่ในมุมหนึ่งก็เป็นสิ่งจำเป็นในวงการธุรกิจ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพราะการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะมีผลถึงขั้นเปลี่ยนแปลงโลกได้นั้นย่อมต้องอาศัยการ 'ฝันให้ไกล'



ส่วนจะ 'ไปถึง' หรือไม่นั้น ก็ต้องลองพยายามดู



ไม่เช่นนั้นคงไม่มีวันรู้...!?!

 

จันท์เกษม รุณภัย - รายงาน

 

ที่มา ข่าวสดออนไลน์


"กูเกิ้ล"ผุดนวัตกรรม แว่นเสมือนจริง-รถอัตโนมัติ!

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ฟื้นฟูผิวหลังถูกแดดเผา

ฟื้นฟูผิวหลังถูกแดดเผา


เปิดอ่าน 14,566 ครั้ง
4 สมุนไพร สยบโรค

4 สมุนไพร สยบโรค


เปิดอ่าน 20,488 ครั้ง
ดื่มนม ยืดอายุ

ดื่มนม ยืดอายุ


เปิดอ่าน 16,601 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

อึ้ง!! สมุนไพรไทย 2,000 ตำรับ รักษามะเร็งได้จริง เตรียมเผยแพร่ผ่านหมอพื้นบ้านกันต่างชาติขโมยสูตร

อึ้ง!! สมุนไพรไทย 2,000 ตำรับ รักษามะเร็งได้จริง เตรียมเผยแพร่ผ่านหมอพื้นบ้านกันต่างชาติขโมยสูตร

เปิดอ่าน 22,463 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
จัดสวนอย่างไร ให้มี "ฮวงจุ้ย" ดี
จัดสวนอย่างไร ให้มี "ฮวงจุ้ย" ดี
เปิดอ่าน 17,879 ☕ คลิกอ่านเลย

เป็นอันธพาลเป็นโรคจิต เหตุเพราะขาดฮอร์โมนคุมการประพฤติ
เป็นอันธพาลเป็นโรคจิต เหตุเพราะขาดฮอร์โมนคุมการประพฤติ
เปิดอ่าน 12,066 ☕ คลิกอ่านเลย

งูพันไม้เท้าสัญลักษณ์ของการแพทย์
งูพันไม้เท้าสัญลักษณ์ของการแพทย์
เปิดอ่าน 17,175 ☕ คลิกอ่านเลย

12 ต้นไม้บนโต๊ะทำงานยอดนิยม ประดับไว้ให้สดชื่น
12 ต้นไม้บนโต๊ะทำงานยอดนิยม ประดับไว้ให้สดชื่น
เปิดอ่าน 56,893 ☕ คลิกอ่านเลย

เคล็ดลับเพื่อริมฝีปากเนียนนุ่ม
เคล็ดลับเพื่อริมฝีปากเนียนนุ่ม
เปิดอ่าน 10,694 ☕ คลิกอ่านเลย

การใส่หน้ากากอนามัยให้ได้ผล
การใส่หน้ากากอนามัยให้ได้ผล
เปิดอ่าน 11,653 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

กระทรวงศึกษาธิการ ปลดล็อคการศึกษาไทย พลิกฟื้นวิกฤติด้วยนโยบาย "ซ่อม สร้าง ป้องกัน"
กระทรวงศึกษาธิการ ปลดล็อคการศึกษาไทย พลิกฟื้นวิกฤติด้วยนโยบาย "ซ่อม สร้าง ป้องกัน"
เปิดอ่าน 3,204 ครั้ง

“IAU”ประกาศ 106 ชื่อดาวเคราะห์น้อยล่าสุด หนึ่งในนั้นมีชื่อ“คนไทย”
“IAU”ประกาศ 106 ชื่อดาวเคราะห์น้อยล่าสุด หนึ่งในนั้นมีชื่อ“คนไทย”
เปิดอ่าน 10,342 ครั้ง

ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของตัวแปรปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในจังหวัดนค
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของตัวแปรปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในจังหวัดนค
เปิดอ่าน 21,293 ครั้ง

PHP Multi Elearning II
PHP Multi Elearning II
เปิดอ่าน 21,187 ครั้ง

35 เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ ของคนวัย 35 ที่น่าเลียนแบบ
35 เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ ของคนวัย 35 ที่น่าเลียนแบบ
เปิดอ่าน 11,762 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ