ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ฝนดาวตกสิงโต


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดอ่าน : 20,423 ครั้ง
ฝนดาวตกสิงโต

Advertisement

ฝนดาวตกสิงโตในปี 2541 - 2543

เมื่อคืนวันที่ 17 พฤศจิกายน 2541 ผู้คนทั่วโลกเฝ้ารอชมฝนดาวตกสิงโตกันอย่างเอิกเกริก สื่อทั้งไทยและเทศเกาะติดความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้นับเป็นข่าวในแวดวงดาราศาสตร์ ที่ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไป มากที่สุดข่าวหนึ่ง แต่ปรากฏการณ์ในคืนนั้น สร้างความผิดหวังให้กับผู้คนเหล่านั้น แต่กลับมีจำนวนประชาชนจำนวนหนึ่งในประเทศไทย และ ยุโรป ที่มีโอกาส มองเห็นดาวตกดวงสว่างจำนวนมาก ที่เกิดขึ้นในคืนวันที่ 16 พฤศจิกายน เกิดขึ้นอะไรขึ้นกับฝนดาวตกกลุ่มนี้ เหตุใดเวลาที่เกิดดาวตกในอัตราสูงสุด จึงไม่เป็นไปตามความคาดหมาย การศึกษาพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง ของสายธารอุกาบาตที่ก่อให้เกิดฝนดาวตกสิงโต อย่างละเอียดในเวลาต่อมา ช่วยคลี่คลายปัญหาเหล่านี้ และนำไปสู่การทำนายเวลา การเกิดฝนดาวตกที่แม่นยำมากขึ้น คำอธิบายการเกิดฝนดาวตกสิงโตในปี 2541 ปรากฏอยู่ในวารสาร Monthly notices of Royal Astronomical Society โดยเดวิด แอชเชอร์ ,มาร์ค เบลีย์ และ วาเชสลาฟ เอเมลยาเนนโก ด้วยข้อสังเกตุจากปรากฏการณ์ในปีนั้น ที่เกิดไฟร์บอลจำนวนมาก ซึ่งแสดงว่าดาวตกที่เกิดขึ้นมีขนาดใหญ่หลายเซนติเมตร และมีความหนาแน่นของกลุ่มอนุภาคที่สูง สิ่งนี้ทำให้นักวิจัยเชื่อว่า อุกาบาตที่เป็นต้นกำเนิด หลุดออกจากดาวหางเทมเพิล-ทัตเติลหลายร้อยปีมาแล้ว คำถามที่เกิดขึ้นคือ เหตุใด สายธารนี้จึงยังคงรักษาความหนาแน่นเอาไว้ได้ พวกเขาจึงทำการ ศึกษาสายธารอุกาบาตที่เกิดจากดาวหางเทมเพิล-ทัตเติล ย้อนไปในอดีต พบว่ามีสายธารหนึ่งตรงกันกับตำแหน่งของโลก ณ เวลาที่ เกิดดาวตกในอัตราสูงสุด ซึ่งเป็นสายธารที่ดาวหางทิ้งไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1333 และสาเหตุของการที่อนุภาคภายในสายธารอุกาบาตยังคงรักษาความหนาแน่นไว้ได้แทนที่จะกระจายห่างกันก็เนื่องมาจากกระบวนการที่เรียกว่า”เรโซแนนซ์” ที่มีกับดาวพฤหัสบดี คล้ายกับวงแหวนของดาวเสาร์ที่สามารถคงรูปร่างอยู่ได้ภายใต้อิทธิพลแรงโน้มถ่วงมหาศาลจากดาวเสาร์ งานวิจัยครั้งนี้นอกจากจะสามารถอธิบายปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นในปี 2541 แล้ว ยังทำให้นักดาราศาสตร์ทั้งหลาย ให้ความสนใจกับแบบจำลองนี้มากยิ่งขึ้น



ในปี 2542 เดวิด แอชเชอร์ นักดาราศาสตร์ในไอร์แลนด์ ที่เป็นหนึ่งในคณะนักวิจัยที่อธิบายที่มา ของฝนดาวตกสิงโตในปีที่ผ่านมา ได้ร่วมกับโรเบิร์ต แมกนอต ซึ่งทำงานอยู่ที่ออสเตรเลีย ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในการสร้างแบบจำลองสายธารอุกาบาตของฝนดาวตกสิงโตในวารสาร WGN ขององค์การอุกาบาตสากล ( International Meteor Organization ) พวกเขาคำนวณได้ว่าจะเกิดฝนดาวตกในอัตราที่สูง หลายพันดวงต่อชั่วโมงในปี พ.ศ. 2542 ,2544 และ 2545 จากนั้นเมื่อฝนดาวตกสิงโตในเดือนพฤศจิกายน 2542 ผ่านพ้นไป แอชเชอร์และแมกนอต กลายเป็นสองนักดาราศาสตร์ที่ได้รับการกล่าวถึงไปทั่ว เพราะเวลาที่เขาทำนายไว้คลาดเคลื่อนจากเวลาจริงไปเพียง 8 นาที เท่านั้น ในปีถักมาคือ ปี 2543 ฝนดาวตกสิงโตมีอัตราการเกิดสูงสุด สองครั้ง มองเห็นได้ในยุโรปและอเมริกา ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเวลา 3.44 น. ตามเวลาสากล ด้วยอัตรา 230 ดวงต่อชั่วโมง จากนั้นอัตราการเกิดต่ำลงจนสูงสุดอีกครั้งใน เวลา 7.15 น. ด้วยอัตราประมาณ 390 ดวง ต่อชั่วโมง ปรากฏการณ์ในปีนี้เร็วกว่าผลคำนวณของแอชเชอร์และแมกนอตประมาณ 30 นาที

จากหนังสือ ทางช้างเผือก สารสมาคมดาราศาสตร์ไทย


ฝนดาวตกสิงโต

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ก้อนอะไรกลมๆ บนดาวอังคาร?

ก้อนอะไรกลมๆ บนดาวอังคาร?


เปิดอ่าน 23,864 ครั้ง
ไขมันในร่างกาย

ไขมันในร่างกาย


เปิดอ่าน 816 ครั้ง
วัสดุในชีวิตประจำวัน

วัสดุในชีวิตประจำวัน


เปิดอ่าน 30,558 ครั้ง
การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ

การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ


เปิดอ่าน 19,637 ครั้ง
เมลามีน คืออะไร?

เมลามีน คืออะไร?


เปิดอ่าน 102,548 ครั้ง
ไส้เดือนดิน

ไส้เดือนดิน


เปิดอ่าน 12,536 ครั้ง
ฝนช่อมะม่วง

ฝนช่อมะม่วง


เปิดอ่าน 24,951 ครั้ง
รู้จักวิตามิน H

รู้จักวิตามิน H


เปิดอ่าน 21,664 ครั้ง
ปะการัง

ปะการัง


เปิดอ่าน 15,952 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ทำไมจึงไม่บรรจุน้ำอัดลมให้เต็มขวด?

ทำไมจึงไม่บรรจุน้ำอัดลมให้เต็มขวด?

เปิดอ่าน 25,450 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
กฎของก๊าซ (THE GAS LAWS)
กฎของก๊าซ (THE GAS LAWS)
เปิดอ่าน 19,915 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำไมดวงอาทิตย์ตอนเช้าหรือตอนเย็นจึงดูดวงใหญ่
ทำไมดวงอาทิตย์ตอนเช้าหรือตอนเย็นจึงดูดวงใหญ่
เปิดอ่าน 22,930 ☕ คลิกอ่านเลย

การมีจินตนาการโดยไม่มีความรู้และความเข้าใจนั้นเรียกว่า การฝันกลางวัน
การมีจินตนาการโดยไม่มีความรู้และความเข้าใจนั้นเรียกว่า การฝันกลางวัน
เปิดอ่าน 18,877 ☕ คลิกอ่านเลย

จักรวาลมีดาวทั้งหมด 300,000,000,000,000,000,000,000
จักรวาลมีดาวทั้งหมด 300,000,000,000,000,000,000,000
เปิดอ่าน 38,274 ☕ คลิกอ่านเลย

รู้จักวิตามิน H
รู้จักวิตามิน H
เปิดอ่าน 21,664 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำไมแมลงปอต้องบินไปแตะผิวน้ำ
ทำไมแมลงปอต้องบินไปแตะผิวน้ำ
เปิดอ่าน 32,264 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เราสอบไปเพื่ออะไร?
เราสอบไปเพื่ออะไร?
เปิดอ่าน 21,344 ครั้ง

มุมกล้องที่ดี..ช่วยคุณได้ขนาดไหน..ไปดูคลิปนี้กันครับ
มุมกล้องที่ดี..ช่วยคุณได้ขนาดไหน..ไปดูคลิปนี้กันครับ
เปิดอ่าน 12,897 ครั้ง

กรดไหลย้อน และการรักษากรดไหลย้อน
กรดไหลย้อน และการรักษากรดไหลย้อน
เปิดอ่าน 1,644 ครั้ง

การปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาล
เปิดอ่าน 13,111 ครั้ง

ประวัติย่อของคณิตศาสตร์ : พีธาคอรัส (Pythagorus)
ประวัติย่อของคณิตศาสตร์ : พีธาคอรัส (Pythagorus)
เปิดอ่าน 89,681 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ