รายงานการประเมินโครงการสถานศึกษาพอเพียง (การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง) โรงเรียนวัดนาคราช อำเภอบางบ่อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการสถานศึกษาพอเพียง (การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง) โรงเรียนวัดนาคราช อำเภอบางบ่อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
ผู้ศึกษาค้นคว้า นายยุทธพล ทับลา
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน
สังกัด โรงเรียนวัดนาคราช
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) โครงการสถานศึกษาพอเพียง (การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง) ของโรงเรียนวัดนาคราช 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) โครงการสถานศึกษาพอเพียง (การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง) ของโรงเรียนวัดนาคราช 3) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) โครงการสถานศึกษาพอเพียง (การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง) ของโรงเรียนวัดนาคราช 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) โครงการสถานศึกษาพอเพียง (การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง) ของโรงเรียนวัดนาคราช เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจของนักเรียนใน เรื่อง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทักษะการปฏิบัติงานทางด้านกิจกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน 3 คุณลักษณะตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวัดนาคราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 12 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 จำนวน 23 คน และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 67 คน ซึ่งได้มาโดย การสุ่มการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model รายด้าน 4 ด้าน ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบประเมิน จำนวน 8 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) โดยใช้สถิติทดสอบ t-test แบบไม่เป็นอิสระจากกัน (Dependent Samples)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการการประเมินด้านบริบท (Context) ในภาพรวม พบว่า ด้านบริบทมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มาก ( = 4.37, S.D. = 0.65) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ในภาพรวม พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.49) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านบุคลากรอยู่ในระดับมากที่สุด มีครูที่มีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ในภาพรวม พบว่า ด้านกระบวนการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.45, S.D. = 0.48) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน และกระบวนการดำเนินการปฏิบัติตามกิจกรรมของโครงการ โดยภาพรวมมีความสอดคล้องหรือความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.46 S.D. = 0.47) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกิจกรรมของโครงการ ทั้ง 6 กิจกรรม ได้แก่ 1) ปลูกผักบุ้งจีน 2) ปลูกผักคะน้า 3) นาข้าวจำลอง 4) น้ำเต้า/ข้าวโพด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความเหมาะสมในงานเตรียมแปลงปลูก และการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ผักที่จะใช้ในการปลูกอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.51) ส่วน 5) ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรม ให้ความรู้และการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75, S.D. = 0.45) และ 6) ทำน้ำยาล้างจานปลอดสารเคมี ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความเหมาะสมของระยะเวลาในการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67, S.D. = 0.49)
4. ผลการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เป็นการประเมินเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของโครงการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
4.1 การประเมินความรู้ความเข้าใจของนักเรียนใน เรื่อง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า คะแนนแบบทดสอบก่อนเข้าร่วมโครงการและหลังเข้าร่วมโครงการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่าเฉลี่ยคะแนนแบบทดสอบของนักเรียนหลังเรียนเข้าร่วมโครงการ ( = 18.77) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ ( = 13.62)
4.2 การประเมินทักษะการปฏิบัติงานทางด้านกิจกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน พบว่า คะแนนทักษะการปฏิบัติงานทางด้านกิจกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 89.23 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน นักเรียนมีทักษะด้านการเก็บรักษาอุปกรณ์มากที่สุด รองลงมาคือ มีทักษะในการทำงานตามขั้นตอน คุณภาพของงาน การเลือกใช้อุปกรณ์และสามารถนำผลงานมาสร้างสรรค์ได้ ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกด้าน
4.3 การประเมินคุณลักษณะตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล ความมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม พบว่าโดยรวมคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 88.46 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน นักเรียนมีคุณลักษณะ ด้านความพอประมาณมากที่สุด (คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 96.15) รองลงมาคือ ด้านเงื่อนไขความรู้ ด้านความมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ด้านความมีเหตุผล และด้านเงื่อนไขคุณธรรม ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน
4.4 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการสถานศึกษาพอเพียง (การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง) ของโรงเรียนวัดนาคราช พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.62) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน โครงการเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงน่าสนใจและเรียนได้อย่างสนุกสนาน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.91, S.D. = 0.29) รองลงมา ได้แก่ ได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง มีการพัฒนาทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม และมีความรับผิดชอบที่ดี และโครงการนี้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อรายการประเมิน
4.5 ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อโครงการ พบว่า มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.63) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ( 3.51)
เมื่อพิจารณาความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.60) โครงการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง มี รองลงมา ได้แก่ นักเรียนสามารถนำความรู้และทักษะไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ความร่วมมือของผู้ปกครองและหน่วยงานที่ให้ความสนับสนุน และโครงการได้รับการยอมรับและสนองต่อความต้องการของชุมชน ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อรายการประเมิน
เมื่อพิจารณาความพึงพอใจของผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.65) นักเรียนสามารถนำความรู้และทักษะไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ความร่วมมือของผู้ปกครองและหน่วยงานที่ให้ความสนับสนุน และโครงการได้รับการยอมรับและสนองต่อความต้องการของชุมชน ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อรายการประเมิน