การพัฒนารูปแบบการพัฒนาโรงเรียนไผ่งามพิทยาคมด้วย PNPK Model ตามวงจรคุณภาพ PDCA
(Development of Paingampittayakom School PNPK Model with PDCA Quality Cycle) โดยการดัดแปลงใช้ชื่อภาษาอังกฤษของโรงเรียนไผ่งามพิทยาคม PHAINGAMPITTAYAKOM ตัวย่อคือ PNPK
P = Participation การมีส่วนร่วม
หมายถึง การมีส่วนร่วมในการทำงานเพราะการมีส่วนร่วมของบุคลากรจะทำให้เกิดการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันแก้ปัญหา (จิตรศิริ ขันเงิน, 2547) เพราะเมื่อบุคลากรได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานด้วยแล้ว จะลดการต่อต้านเกี่ยวกับแนวคิดและการดำเนินงาน รวมทั้งช่วยลดความขัดแย้งและความเครียดจากการทำงาน ทำให้บุคลากรได้ร่วมกันพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายและยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เกิดความมุ่งมั่นในการสร้างความสำเร็จให้กับองค์กร รู้สึกพึงพอใจในผลงานที่เกิดขึ้น และเกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและผูกพันกับองค์กร โดยบุคลากรทุกคนควรมีส่วนร่วมในการทำงาน การมีส่วนร่วมมีโครงสร้างพื้นฐานจำแนกเป็น 3 มิติ ได้แก่ มิติที่ 1 มีส่วนร่วมในเรื่องอะไร (what participation are we concerned with?) หรือเรียกอีกอย่างว่า ประเภทหรือลักษณะของการมีส่วนร่วม ได้สร้างกรอบพื้นฐานของการมีส่วนร่วมประกอบด้วยประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1)การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (participation in decision making) ซึ่งเป็นการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่ระยะเริ่มต้น 2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม (participation in implementation) เป็นการเข้าร่วมโดยการสนับสนุนทางด้านทรัพยากร การเข้าร่วมในการบริหาร และการเข้าร่วมในการร่วมแรงร่วมใจ 3) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (participation in benefits) โดยอาจจะเป็นผลประโยชน์ทางวัตถุ ทางสังคม หรือโดยส่วนตัว และ 4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (participation in evaluation) ซึ่งเป็นการควบคุมและตรวจสอบการดำเนินกิจกรรม รวมทั้งเป็นการแสดงถึงการปรับตัวในการมีส่วนร่วมต่อไป มิติที่ 2 ใครที่เข้ามามีส่วนร่วม (whose participation are we concerned with?) ในส่วนนี้ มีคำที่ใช้ในความหมายว่า บุคลากรทางการศึกษา (Educational personnel) อันได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือ ปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ การบริหารการศึกษา และปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษา มิติที่ 3 การมีส่วนร่วมนั้นเกิดขึ้นอย่างไร (how is participation occurring with in the project?) ในมิตินี้ มีประเด็นที่ควรพิจารณาอยู่ 4 ประเด็นด้วยกันคือ 1) พื้นฐานของการมีส่วนร่วม พิจารณาเกี่ยวกับแรงที่กระทำให้เกิดการมีส่วนร่วมมาจากเบื้องบนหรือเบื้องล่าง และแรงที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมมาจากที่ใด 2)รูปแบบของการมีส่วนร่วม พิจารณาเกี่ยวกับรูปแบบขององค์กร การมีส่วนร่วมโดยตรงหรือโดยอ้อม 3)ขอบเขตของการมีส่วนร่วม พิจารณาเกี่ยวกับระยะเวลาที่เข้ามามีส่วนร่วมและช่องของกิจกรรม และ 4) ประสิทธิผลของการมีส่วนร่วม พิจารณาเกี่ยวกับ การให้อำนาจแก่ผู้เข้ามามีส่วนร่วม และปฏิสัมพันธ์ของคุณลักษณะต่างๆ ของสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม Cohen and Uphoff (1977, pp. 7 26)
N = New Educational innovation นวัตกรรมทางการศึกษาใหม่
หมายถึง การสร้างนวัตกรรมขึ้นมาใช้นั้น ผู้สอนต้องพิจารณาถึงลักษณะเฉพาะและคุณสมบัติของนวัตกรรมเสียก่อนเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การสอน มิเช่นนั้นอาจก่อให้เกิดข้อผิดพลาดจนผู้เรียนสับสน หรือได้รับประสบการณ์ที่เบี่ยงเบนไปจากเป้าหมายที่ผู้สอนต้องการได้ ซึ่งมี 9 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1. สร้างกรอบแนวคิดในการพัฒนา ขั้นตอนที่ 2. วิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 3. กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 4. กำหนดคุณลักษณะนวัตกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 5. สำรวจทรัพยากรการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 6. ออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 7. วางแผนและดำเนินการพัฒนาการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 8. ตรวจสอบ ทดลองและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ และ ขั้นตอนที่ 9. สรุปและประเมินผลการเรียนรู้
P = Practice การปฏิบัติ
หมายถึง การใช้นวัตกรรม(Innovation) ในการจัดการศึกษาคือใช้ ในการเรียนการสอน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาการนำนวัตกรรม ต้องคำนึงถึงความสำคัญ 3 ประการ คือ
1.ประสิทธิภาพ(Efficiency)ในการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนผู้สอนได้เรียนและได้สอนเต็มความสามารถเต็มหลักสูตรเต็มเวลาด้วยความพึงพอใจ เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เต็มความสามารถ (Full Energy) และเกิดความพอใจ (Satisfaction) เป็นที่ได้ใช้สื่อนั้น
2.ประสิทธิผล(Productivity)ในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดจุดประสงค์ไว้ซึ่งนักเรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์ได้ดีกว่า สูงกว่าไม่ใช้สื่อนั้น
3.ประหยัด (Economy) ในการใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงสภาพความเหมาะสมตามฐานะแล้ว จะต้องประหยัด นั่นคือ ประหยัดทั้งเงินประหยัดเวลา และประหยัดแรงงาน
รวมทั้งการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียน ด้านการพัฒนา และใช้หลักสูตรสถานศึกษา การอ่านออกเขียนได้ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อเทคโนโลยีทางไกล (DLTV/DLT) การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
K = Keep Sustainable ความยั่งยืน
หมายถึง วงจรการบริหารงานรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนไผ่งามพิทยาคมด้วย PNPK Model ตามวงจรคุณภาพ PDCA มุ่งเน้นความยั่งยืนในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้เป็นคนดีมีลักษณะอันพึงประสงค์และมีทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 คุณภาพครูให้เป็นผู้นำทางนวัตกรรม เพื่อส่งผลให้เกิดคุณภาพโรงเรียน โดยผ่านกระบวนการวัดและประเมินผลนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อตรวจสอบพิจารณากำหนดคุณภาพและความเหมาะสมอย่างเป็นระบบ เพื่อการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงการบริหารงานและการจัดการเรียนการสอนภายใต้วงจรคุณภาพPDCAอย่างต่อเนื่อง โดยมีลักษณะการประเมินนวัตกรรมทางการศึกษาแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.การประเมินตนเองเป็นการประเมินระดับโรงเรียนที่ผู้คิดค้นพัฒนานวัตกรรมทั้งที่เป็นรายบุคคลหรือคณะบุคคล ดำเนินการประเมินโดยการตรวจสอบกระบวนการพัฒนาและความก้าวหน้าในการพัฒนานวัตกรรมของตนจากเกณฑ์การประเมินที่กำหนด เพื่อนำผลไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนานวัตกรรม
2.การประเมินโดยคณะบุคคล เป็นการประเมินเพื่อพิจารณาคุณภาพนวัตกรรม ซึ่งผู้ประเมินควรประกอบด้วย ผู้คิดค้นพัฒนานวัตกรรม ครู ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ หรืออาจมีผู้เชี่ยวชาญ ตามลักษณะ หรือประเภทของนวัตกรรม ร่วมประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนด
รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนไผ่งามพิทยาคมด้วย PNPK Model จะอยู่ภายใต้วงจรคุณภาพ PDCA
วงจรคุณภาพ (PDCA) ที่เน้นขั้นตอนการทำงาน 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นที่ 1 การวางแผน (PlanP) ขั้นที่ 2 การปฏิบัติตามแผน (DoD) ขั้นที่ 3 การตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน (CheckC) และ ขั้นที่ 4 การปรับปรุง (ActA)