สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเน้นย้ำมาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ทะเลาะวิวาท และการใช้ความรุนแรงภายในโรงเรียนโดยใช้มาตรการ 3 ป (ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม)
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04277/ว201 ลงวันที่ 5 มีนาคม 2568
เรื่อง เน้นย้ำมาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทและการใช้ความรุนแรงภายในโรงเรียน โดยใช้มาตรการ 3 ป (ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม)
เรียน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต
อ้างถึง หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04277/ว1332 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2567
ตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04277/ว1332 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2567 เรื่องมาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทและการใช้ความรุนแรงภายในโรงเรียน โดยใช้มาตรการ 3 ป (ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม) ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต และสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ แจ้งสถานศึกษาในสังกัดปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางดังกล่าว นั้น
ศูนย์บริหารความสุขและความปลอดภัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอเรียนว่า เนื่องจากเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทและการใช้ความรุนแรงของนักเรียนเกิดขึ้นบ่อยครั้งทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไข ปัญหาความไม่ปลอดภัยของนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน จึงขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตและสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เน้นย้ำมาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทและการใช้ความรุนแรงภายในโรงเรียน โดยใช้มาตรการ 3 ป (ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม) ให้สถานศึกษาในสังกัดปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางดังกล่าวอย่างเคร่งครัด และขอเน้นย้ำเพิ่มเติม ดังนี้
1. กรณีการจัดการเหตุความรุนแรง ขอให้ดำเนินการตามมาตรการและแนวทางการแก้ไข ปัญหาเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทและการใช้ความรุนแรงภายในโรงเรียน โดยใช้มาตรการ 3 ป (ป้องกัน ปลูกฝังปราบปราม) อย่างจริงจัง โดยดำเนินการให้ครบทุกมิติตามที่ สพฐ, สั่งการและทำรายงานทุกระยะ
2. การจัดการเรียนรู้ กรณีู้ก่อเหตุต้องจัดการให้เกิดการเรียนรู้ผลของการกระทำความรุนแรง เช่น การรักษาพยาบาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงจากการถูกทำร้ายในทุกรูปแบบ การได้รับบาดเจ็บต่าง ๆและมีการทำ RCA (Root Cause Analysis) เพื่อให้นักเรียนสามารถสะท้อนย้อนคิดและเรียนรู้ใหม่
3. การดำเนินการต้องให้ต่อเนื่องโดยการทำไทมไลน์การเกิดเหตุการณ์ทุกครั้ง และให้จัดตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับโรงเรียน เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามขั้นตอนของแผนเผชิญเหตุที่ได้เตรียมไว้แล้ว พร้อมทั้งตั้งคณะกรรมการระดับเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบการปฏิบัติงานของสถานศึกษาให้เป็นไปตามขั้นตอนจนเกิดผลสำเร็จ
4. การรายงานการดำเนินการให้จัดทำรายงานถึงเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะผู้บริหารระดับสูงที่กำกับติดตามดูแลพื้นที่ ๆ อยู่ในความรับผิดชอบรับทราบ โดยมีผู้อำนวยการศูนย์บริหารความสุขและความปลอดภัย ดูแลเรื่องประสานงานการแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ทะเลาะ วิวาทและการใช้ความรุนแรงภายในโรงเรียนดังกล่าวในภาพรวมของ สพฐ. ต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อทราบและดำเนินการ
ขอแสดงความนับถือ
(นายธีร์ ภวังคนันท์)
รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปฏิบัติราชการแทน
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


ดาวน์โหลดไฟล์แนบ
ที่มา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน