ที่ ศธ 04006/ว5110
เรื่อง ทบทวนการรับเงินหรือทรัพย์สินเพื่อจัดการศึกษา
เรียน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทุกเขต
อ้างถึง หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ศธ 04002/ว 2968 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2551
ตามหนังสือที่อ้างถึง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แจ้งเรื่องการรับเงิน และทรัพย์สินเพื่อการจัดการศึกษา ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตและสถานศึกษาในสังกัด เพื่อชักซ้อมแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับเงินบริจาค การรับเงินแป๊ะเจี๊ยะ การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา และการเก็บเงินบำรุงการศึกษา ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันและเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบ ในการกำกับ ติดตาม และวินิจฉัย กรณีเกิดข้อร้องเรียน ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น
ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอแจ้งว่า เพื่อให้การดำเนินการ รับนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการรับเงินหรือทรัพย์สินเพื่อจัดการศึกษา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้อง ตามกฎ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง จึงขอทบทวนการปฏิบัฏิบัติ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ดังนี้
1. การรับบริจาค หมายถึง การที่ผู้บริจาคมีความประสงค์จะบริจาคเงินหรือทรัพย์สิน ให้แก่โรงเรียนด้วยความเต็มใจเพื่อการกุศลโดยมิหวังผลตอบแทนใด ๆ โรงเรียนสามารถรับบริจาดได้ทั่วไป ยกเว้นช่วงเวลาการรับนักเรียน ต้องไม่มีการขอรับบริจาคจากผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นการขอให้แสดง ความจำนงหรือรับบริจาคผ่านองค์กรอื่นใด ทั้งนี้ เมื่อโรงเรียนได้รับบริจาคแล้วจะต้องออกใบเสร็จรับเงิน ของโรงเรียนให้ในทันทีทุกครั้ง หรือบริจาคผ่านระบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) และลงบัญชีควบคุม การใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้รับบริจาค เพื่อให้มีหลักฐาน โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งใบเสร็จรับเงินของโรงเรียนผู้บริจาคสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
2. การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา หมายถึง การรับเงินหรือทรัพย์สินตามโครงการต่าง ๆ ของโรงเรียนเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษา เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของนักเรียน ตามที่คณะกรรมการ สถานศึกษาเห็นชอบแล้ว ซึ่งผู้ปกครองเห็นว่าบุตรหลานจะได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าว จึงมอบเงิน ทรัพย์สินให้โดยความสมัครใจ เมื่อโรงเรียนได้รับเงินหรือทรัพย์สินแล้วจะต้องออก ของโรงเรียนให้ทันที และลงบัญชีควบคุมการใช้จ่ายเงินให้ถูกต้อง มีหลักฐาน โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
3. การเก็บเงินบำรุงการศึกษา หมายถึง การรับเงินจากผู้ปกครองที่มีความประสงค์ ต้องการจะให้บุตรหลานเพิ่มพูนประสิทธิภาพและคุณภาพการศึกษาด้วยรูปแบบ วิธีการ สื่อ อุปกรณ์ และครูผู้สอน ที่ทำการสอนเพิ่มเติมจากเกณฑ์มาตรฐานทั่วไปของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นกรณีพิเศษโดยความ สมัครใจ ซึ่งโรงเรียนต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดโดยเคร่งครัดและพิจารณากำหนดค่าใช้จ่ายตามความจำเป็น สำหรับใบเสร็จรับเงินของโรงเรียน ที่เป็นข้าราชการสามารถนำไปเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรได้ ตามประเภทและอัตรา ที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังกำหนด
ทั้งนี้ การเรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษา โรงเรียนจักต้องแจ้งค่าใช้จ่ายและรายละเอียด การเรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษา พร้อมจำนวนเงิน ไว้ในประกาศการรับนักเรียนของโรงเรียนในช่วงของ การรับสมัครนักเรียนและช่วงเปิดภาคเรียน เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้รับทราบไว้โดยชัดเจน และต้องเปิดเผยให้ทราบโดยทั่วกัน พร้อมทั้งรายงานให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบ เพื่อทำหน้าที่ ควบคุม กำกับ ดูแลให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้อง ตามกฎ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อมิให้ เกิดข้อร้องเรียน
4. การรับเงินแป๊ะเจี๊ยะ หมายถึง การรับเงินหรือทรัพย์สินจากผู้ที่มอบให้ในช่วงการรับนักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการแลกเปลี่ยนกับโอกาสในการเข้าเรียน กรณีดังกล่าวนี้ ไม่ว่าจะมอบให้โรงเรียน ผ่านสมาคมผู้ปกครองและครู ผ่านคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ถือเป็นการรับเงินหรือทรัพย์สิน ที่ผิดระเบียบของทางราชการ และขัดหรือแย้งกับมาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือ ประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาลในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสำนักงาน ป.ป.ช.
จึงเรียนมาเพื่อทราบและกำกับ ติดตาม พร้อมแจ้งให้โรงเรียนในสังกัดทราบเพื่อถือปฏิบัติ โดยเคร่งครัด ตลอดจนประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องได้ทราบทั่วกัน
ขอแสดงความนับถือ
ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ดาวน์โหลดไฟล์แนบ
ที่มา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน