ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมคณิตศาสตร์  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การพิจารณาค่าความจริง (Truth value)


คณิตศาสตร์ เปิดอ่าน : 16,085 ครั้ง
การพิจารณาค่าความจริง (Truth value)

Advertisement

การพิจารณาค่าความจริง (Truth value) โดย นายไสว นวลตรณี และ นายศักดา บุญโต
          ประพจน์เดิมที่ถูกเปลี่ยนแปลงไปนั้น แยกพิจารณาความเป็นจริง หรือความเป็นเท็จได้ดังนี้
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

หัวข้อ

ประพจน์ที่เกิดขึ้นเป็นคู่ปฏิเสธของประพจน์เดิม
           ประพจน์ชนิดนี้เกิดขึ้นได้ด้วยการเติมคำ "ไม่" ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์  "~"  ข้างหน้าประพจน์เดิม เช่น ก แทน มีทุเรียนอยู่ในกระจาด
         
          ~  ก  แทน  ไม่มีทุเรียนอยู่ในกระจาด ซึ่งจะมีกรณีที่เกิดขึ้นได้แตกต่างกัน 2 กรณี ดังนี้
          กรณีที่ 1  ก เป็นจริง เนื่องจากมีทุเรียนอยู่ในกระจาดจริงๆ ดังนั้น ~  ก เป็นเท็จ
          กรณีที่ 2  ก เป็นเท็จ (เนื่องจากไม่มีทุเรียนอยู่ในกระจาด) ดังนั้น  ~  ก เป็นจริง
          สรุปได้ว่า  กรณีที่ ก เป็นจริง  ~ ก จะเป็นเท็จ 
                       กรณีที่ ก เป็นเท็จ ~ ก  จะเป็นจริง

          เขียนแสดงด้วยตารางได้ดังนี้
   
  ~ ก
กรณีที่ 1 จริง เท็จ
กรณีที่ 2 เท็จ จริง

[กลับหัวข้อหลัก]

ประพจน์ที่เกิดขึ้นเป็นคู่ปฏิเสธของประพจน์เดิม : กรณีที่ 1

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
ประพจน์ที่เกิดขึ้นจากประพจน์สองประพจน์ที่เชื่อมด้วยตัวเชื่อม "และ"
          ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ " ^ " ประพจน์ชนิดนี้เกิดขึ้นได้โดยการนำเอาประพจน์มาเชื่อมกันด้วย "และ" เช่น 
                 ก  แทน  "มีทุเรียนอยู่ในกระจาด"
                 ข  แทน  "มีมั่งคุดอยู่ในกระจาด"

         ประพจน์ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมประพจน์ ก ^ ข ด้วย "และ"  คือ "มีทุเรียนและมังคุดอยู่ในกระจาด" เขียนแทนด้วย "ก ^ ข"  จะมีกรณีที่เกิดขึ้นได้แตกต่างกัน 4 กรณีดังนี้

        กรณีที่ 1    ก  เป็นจริง
                         ข  เป็นจริง
                         ประพจน์ "มีทุเรียนและมังคุดอยู่ในกระจาด" เป็นจริง
        กรณีที่ 2     ก  เป็นจริง
                         ข  เป็นเท็จ
                         ประพจน์ "มีทุเรียนและมังคุดอยู่ในกระจาด" เป็นเท็จ
        กรณีที่ 3      ก  เป็นเท็จ
                         ข  เป็นจริง
                         ประพจน์  "มีทุเรียนและมังคุดอยู่ในกระจาด" เป็นเท็จ
        กรณีที่ 4     ก  เป็นเท็จ
                         ข  เป็นเท็จ
                         ประพจน์ "มีทุเรียนและมังคุดอยู่ในกระจาด" เป็นเท็จ

         สรุปได้ว่า กรณีที่ ก เป็นจริง ข เป็นจริง ประพจน์  ก ^ ข เป็นจริงกรณีอื่นๆ นอกจากนี้  ก ^ ข เป็นเท็จ

         เขียนแสดงด้วยตารางได้ดังนี้

  ก ^ ข
กรณีที่ 1 จริง จริง จริง
กรณีที่ 2 จริง เท็จ เท็จ
กรณีที่ 3 เท็จ จริง เท็จ
กรณีที่ 4 เท็จ เท็จ เท็จ

[กลับหัวข้อหลัก]

ประพจน์ที่เกิดขึ้นจากประพจน์สองประพจน์ที่เชื่อมด้วยตัวเชื่อม "และ" : กรณีที่ 1


ประพจน์ที่เกิดขึ้นจากประพจน์สองประพจน์ที่เชื่อมด้วยตัวเชื่อม "และ" : กรณีที่ 2

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
ประพจน์ที่เกิดจากประพจน์สองประพจน์เชื่อมกันด้วยตัวเชื่อม "หรือ"
          ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ "v" ประพจน์ชนิดนี้เกิดขึ้นได้โดยการนำเอาประพจน์ทั้งสองมาเชื่อมกันด้วย "หรือ"
          สำหรับความหมายของคำ "หรือ" ในทางตรรกวิทยานั้น เมื่อเชื่อมประพจน์สองประพจน์ด้วย "หรือ" แล้ว จะมีความหมายถึงประพจน์ใดประพจน์หนึ่ง หรือทั้งสองประพจน์เลยก็ได้

          ดังนั้นประพจน์ "มีทุเรียนหรือมังคุดอยู่ในกระจาด" จึงมีความหมายเช่นเดียวกับ "มีทุเรียนหรือมังคุดอย่างน้อยหนึ่งอย่างอยู่ในกระจาด"
          ให้   ก  แทน  "มีทุเรียนอยู่ในกระจาด"
               ข  แทน  "มีมังคุดอยู่ในกระจาด"
               ประพจน์ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมประพจน์ ก,ข ด้วย "หรือ" คือ "มีทุเรียนหรือมังคุดอยู่ในกระจาด"  ซึ่งเขียนแทนด้วย "ก v ข"  ซึ่งจะมีกรณีที่เกิดขึ้นได้แตกต่างกัน 4 กรณี ดังนี้

          กรณีที่ 1    ก  เป็นจริง
                          ข  เป็นจริง
                          ประพจน์ "มีทุเรียนหรือมังคุดอยู่ในกระจาด" (อย่างน้อยหนึ่งอย่าง) เป็นจริง
          กรณีที่ 2    ก  เป็นจริง
                          ข  เป็นเท็จ
                          ประพจน์ "มีทุเรียนหรือมังคุดอยู่ในกระจาด" (อย่างน้อยหนึ่งอย่าง) เป็นจริง
          กรณีที่ 3    ก  เป็นเท็จ
                          ข  เป็นจริง
                          ประพจน์ "มีทุเรียนหรือมังคุดอยู่ในกระจาด" (อย่างน้อยหนึ่งอย่าง) เป็นจริง
          กรณีที่ 4    ก  เป็นเท็จ
                          ข  เป็นเท็จ
                          ประพจน์ "มีทุเรียนหรือมังคุดอยู่ในกระจาด" (อย่างน้อยหนึ่งอย่าง) เป็นเท็จ

          สรุปได้ว่ากรณีที่ ก เป็นเท็จ ข เป็นเท็จ ประพจน์  ก v ข จะเป็นเท็จ กรณีอื่นๆ นอกจากนี้  ก v ข เป็นจริง

          เขียนแสดงด้วยตารางได้ดังนี้

  ก v ข
กรณีที่ 1 จริง จริง จริง
กรณีที่ 2 จริง เท็จ จริง
กรณีที่ 3 เท็จ จริง จริง
กรณีที่ 4 เท็จ เท็จ เท็จ

[กลับหัวข้อหลัก]

ประพจน์ที่เกิดจากประพจน์สองประพจน์เชื่อมกันด้วยตัวเชื่อม "หรือ" : กรณีที่ 1


ประพจน์ที่เกิดจากประพจน์สองประพจน์เชื่อมกันด้วยตัวเชื่อม "หรือ" : กรณีที่ 2

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
ประพจน์ที่เกิดขึ้นจากประพจน์สองประพจน์ที่เชื่อมด้วยตัวเชื่อม "ถ้า...แล้วจะได้..."
          ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ "  → " ข้อความชนิดนี้เกิดขึ้นโดยการนำเอาประพจน์ทั้งสองมาเชื่อมกันด้วย "ถ้า...แล้วจะได้... " โดยมีประพจน์หนึ่งเป็นเหตุและอีกประพจน์หนึ่งเป็นผล  เช่น
          ก  แทน  "นายแดงซื้อทุเรียน"
          ข  แทน  "นายแดงได้รับทุเรียน"

          ประพจน์ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมประพจน์ ก,ข ด้วย "ถ้า...แล้วจะได้..." คือ "ถ้านายแดงซื้อทุเรียนแล้ว นายแดงจะได้รับทุเรียน" ซึ่งเขียนแทนด้วย "ก → ข" จะเห็นว่าประพจน์ ก เป็นเหตุ ประพจน์ ข  เป็นผล ซึ่งจะมีกรณีที่เกิดขึ้นได้แตกต่างกัน 4 กรณี ดังนี้

          กรณีที่ 1
          ก  เป็นจริง  (เพราะ ก  แทนนายแดงซื้อทุเรียน)
          ข  เป็นจริง  (เพราะ ข  แทนนายแดงได้รับทุเรียน)
          ประพจน์ "ถ้านายแดงซื้อทุเรียนแล้วนายแดงจะได้รับทุเรียน" เป็นจริง
          กรณีที่ 2
          ก  เป็นจริง  (เมื่อนายแดงซื้อทุเรียน)
          ข  เป็นเท็จ  (เมื่อนายแดงไม่ได้รับทุเรียน)
          ประพจน์ "ถ้านายแดงซื้อทุเรียนแล้วนายแดงจะได้รับทุเรียน" เป็นเท็จ
          กรณีที่ 3
          ก  เป็นเท็จ  (เมื่อนายแดงไม่ซื้อทุเรียน)
          ข  เป็นเท็จ  (เมื่อนายแดงได้รับทุเรียน)
          ประพจน์ "ถ้านายแดงซื้อทุเรียนแล้วนายแดงจะได้รับทุเรียน" ยังเป็นจริงอยู่
          กรณีที่ 4
          ก  เป็นเท็จ  (เมื่อนายแดงไม่ซื้อทุเรียน)
          ข  เป็นเท็จ  (เมื่อนายแดงไม่ได้รับทุเรียน)
           ประพจน์ "ถ้านายแดงซื้อทุเรียนแล้วนายแดงจะได้รับทุเรียน" ยังเป็นจริงอยู่

          จะเห็นว่ากรณีนี้นายแดงไม่ได้ซื้อทุเรียน นายแดงจึงไม่ได้รับทุเรียน
          จะเห็นว่ากรณีที่ ก เป็นจริง ข เป็นเท็จ ข้อความ ก  →  ข จะเป็นเท็จ กรณีอื่นๆ นอกจากนี้ ก  →  ข เป็นจริง

          เขียนแสดงด้วยตารางได้ดังนี้

  ก → ข
กรณีที่ 1 จริง จริง จริง
กรณีที่ 2 จริง เท็จ เท็จ
กรณีที่ 3 เท็จ จริง จริง
กรณีที่ 4 เท็จ เท็จ จริง

[กลับหัวข้อหลัก]

ประพจน์ที่เกิดขึ้นจากประพจน์สองประพจน์ที่เชื่อมด้วยตัวเชื่อม "ถ้า...แล้วจะได้..." : กรณีที่ 1


ประพจน์ที่เกิดขึ้นจากประพจน์สองประพจน์ที่เชื่อมด้วยตัวเชื่อม "ถ้า...แล้วจะได้..." : กรณีที่ 4

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
ประพจน์ที่เกิดจากการเชื่อมสองประพจน์ด้วยตัวเชื่อม "ก็ต่อเมื่อ"
           ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์  ""  การเชื่อมประพจน์ ก กับ ข  ด้วย  ⇔  ซึ่งเขียนแทนด้วย ก ⇔ ข มีความหมายว่า  ก เป็นเหตุของ ข และในขณะเดียวกัน ข ก็เป็นเหตุของ ก  ด้วย ถ้าพูดตามภาษาตรรกวิทยาก็คือ ก ⇔ ข  มีความหมายเดียวกันกับ (ก → ข) ^  (ข → ก)  เช่น
            ก  แทน  สมชายไปงานเย็นนี้
            ข  แทน  สมศรีไปงานเย็นนี้

            ก  ข  แทน ถ้าสมชายไปงานเย็นนี้แล้ว (จะได้) สมศรีไปงานเย็นนี้ด้วย และถ้าสมศรีไปงานเย็นนี้แล้ว (จะได้)  สมชายไปงานเย็นนี้ด้วย
            สมมุติเหตุการณ์ว่า สุพจน์รู้จักสมชายและสมศรี และสุพจน์ได้กล่าว ประพจน์ ก ⇔ ข เราจะพิจารณาคำกล่าว ก ⇔ ข  ของสุพจน์ว่าเป็นจริงหรือเท็จได้ 4 กรณีคือ

            กรณีที่ 1   
            ก  เป็นจริง  เมื่อสมชายไปงานเย็นนี้
            ข  เป็นจริง  เมื่อสมศรีไปงานเย็นนี้
            จะได้ (ก → ข), (ข → ก) เป็นจริงทั้งคู่
            แสดงว่า (ก → ข) ^  (ข →ก) เป็นจริง ดังนั้น ก → ข เป็นจริง
            กรณีที่ 2
            ก  เป็นจริง   เมื่อสมชายไปงานเย็นนี้
            ข  เป็นเท็จ  เมื่อสมศรีไม่ไปงานเย็นนี้
             จะได้  (ก →ข) เป็นเท็จ,  (ข →ก) เป็นจริง
            แสดงว่า  (ก →ข) ^  (ข →ก)  เป็นเท็จ ดังนั้น ก ⇔ข  เป็นเท็จ
            กรณีที่ 3   
            ก  เป็นเท็จ  เมื่อสมชายไม่ไปงานเย็นนี้
            ข  เป็นจริง  เมื่อสมศรีไม่ไปงานเย็นนี้
            จะได้  (ก →ข)  เป็นจริง,  (ข →ก)  เป็นเท็จ
            แสดงว่า  (ก →ข) ^ (ข →ก) เป็นเท็จ  ดังนั้น ก ⇔ ข  เป็นเท็จ
            กรณีที่ 4   
            ก เป็นเท็จ เมื่อสมชายไม่ไปงานเย็นนี้
            ข เป็นเท็จ เมื่อสมศรีไม่ไปงานเย็นนี้
             จะได้ (ก →ข), (ก →ข) เป็นจริงทั้งคู่
            แสดงว่า (ก →ข) ^  (ข →ก) เป็นจริง ดังนั้น ก ⇔ ข เป็นจริง

            เขียนแสดงด้วยตารางได้ดังนี้

  ก ⇔ ข
กรณีที่ 1 จริง จริง จริง
กรณีที่ 2 จริง เท็จ เท็จ
กรณีที่ 3 เท็จ จริง เท็จ
กรณีที่ 4 เท็จ เท็จ จริง


[กลับหัวข้อหลัก]

ประพจน์ที่เกิดจากการเชื่อมสองประพจน์ด้วยตัวเชื่อม "ก็ต่อเมื่อ" : กรณีที่ 1


ประพจน์ที่เกิดจากการเชื่อมสองประพจน์ด้วยตัวเชื่อม "ก็ต่อเมื่อ" : กรณีที่ 2

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

บรรณานุกรม
นายศักดา บุญโต
นายไสว นวลตรณี


การพิจารณาค่าความจริง (Truth value)การพิจารณาค่าความจริง(Truthvalue)

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

จำนวนเต็ม (Integer) คืออะไร

จำนวนเต็ม (Integer) คืออะไร


เปิดอ่าน 14,874 ครั้ง
การเขียนเซต

การเขียนเซต


เปิดอ่าน 32,569 ครั้ง
การบวกและการลบ

การบวกและการลบ


เปิดอ่าน 30,254 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ไฮพาเทียแห่งอเล็กซานเดรีย และ ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล นักคณิตศาสตร์หญิงของโลก

ไฮพาเทียแห่งอเล็กซานเดรีย และ ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล นักคณิตศาสตร์หญิงของโลก

เปิดอ่าน 8,157 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of Data)
การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of Data)
เปิดอ่าน 50,608 ☕ คลิกอ่านเลย

สรุปสูตรพาราโบลา
สรุปสูตรพาราโบลา
เปิดอ่าน 211,530 ☕ คลิกอ่านเลย

การวัดมุมเป็นเรเดียน
การวัดมุมเป็นเรเดียน
เปิดอ่าน 42,492 ☕ คลิกอ่านเลย

จำนวนตรรกยะ
จำนวนตรรกยะ
เปิดอ่าน 33,479 ☕ คลิกอ่านเลย

ระบบเลขฐานสิบ (Decimal System)
ระบบเลขฐานสิบ (Decimal System)
เปิดอ่าน 91,962 ☕ คลิกอ่านเลย

ประวัติเครื่องหมายหาร  (÷)
ประวัติเครื่องหมายหาร (÷)
เปิดอ่าน 235,128 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

รักษาฝ้าให้หายขาดได้หรือไม่? ครีมรักษาฝ้าให้หายขาดมีจริงไหม? เราหาคำตอบมาให้แล้ว!
รักษาฝ้าให้หายขาดได้หรือไม่? ครีมรักษาฝ้าให้หายขาดมีจริงไหม? เราหาคำตอบมาให้แล้ว!
เปิดอ่าน 38,012 ครั้ง

แบบฝึกคิดเลขในใจ ระดับ 1 - ระดับ 5
แบบฝึกคิดเลขในใจ ระดับ 1 - ระดับ 5
เปิดอ่าน 19,417 ครั้ง

อุตสาหกรรมยุคใหม่ ทำไมต้องเข้าใจเรื่อง Smart Warehouse
อุตสาหกรรมยุคใหม่ ทำไมต้องเข้าใจเรื่อง Smart Warehouse
เปิดอ่าน 2,470 ครั้ง

วิธีปฐมพยาบาลข้อต่อเคล็ดหรือแพลง
วิธีปฐมพยาบาลข้อต่อเคล็ดหรือแพลง
เปิดอ่าน 102,380 ครั้ง

(ร่าง)กรอบทิศทางแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๔
(ร่าง)กรอบทิศทางแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๔
เปิดอ่าน 8,438 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ