Advertisement
ผู้ที่ขาดกำลังใจนั้น มักจะมีความรู้สึก เบื่อหน่าย ท้อแท้ หดหู่ เซื่องซึม ไม่กระตือรือร้นที่จะกระทำกิจกรรมใดๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อท่านมีความรู้สึกขาดกำลังใจเช่นว่านี้ก็อย่าเพิ่งหมดกำลังใจ จงพยายามค้นหา ใคร่ครวญ ตรึกตรองพินิจพิจารณาถึงสาเหตุแห่งความผิดหวังหรือความล้มเหลวนั้นซึ่งสาเหตุของการหมดกำลังใจ มีได้หลายสาเหตุ ได้แก่
1. ด้านร่างกาย อาจจะเป็นเพราะว่าร่างกายไม่สมประกอบ มีโรคประจำตัว เจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งจะต้องได้รับการรักษาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ทำให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอ ไม่สามารถทำงานได้เหมือนผู้อื่น สิ่งเหล่านี้มีผลต่อจิตใจ ทำให้เกิดความท้อแท้ เบื่อหน่ายหมดกำลังใจได้
2. ด้านจิตใจ อาจเกิดขึ้นโดยรู้ตัว คือรู้ตัวว่ามีปัญหาและรู้ว่าปัญหานั้นมีสาเหตุมาจากอะไร แต่ไม่สามารถขจัดหรือแก้ปัญหานั้นได้ จึงเกิดความไม่สบายใจเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่พึงปรารถนา หรืออาจเกิดขึ้นโดยไม่รูู้้ตัว คือไม่รู้ว่าทำไมจึงไม่มีกำลังใจ เงินทองก็มีใช้ ตำแหน่งหน้าที่การงานก็ดี แต่ถ้าเราค่อยๆ พิจารณาไตร่ตรองดู ก็จะรู้ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร สาเหตุอาจจะอยู่ลึกๆ หรือฝังใจมาตั้งแต่เด็กจนเราอาจนึกไม่ถึงก็เป็นได้ เช่น มีความน้อยเนื้อต่ำใจในรูปร่างของตัวเองความไม่ยุติธรรมของพ่อแม่หรืออาจจะรู้สาเหตุแต่่ไม่ยอมรับ จึงเกิดอาการท้อแท้ เบื่อหน่าย ไม่มีกำลังใจที่จะปฏิบัติกิจกรรมใดๆ ให้เป็นผลดีได้เท่าที่ควร
3. ด้านสังคม คือ ไม่มีใครรัก ไม่มีใครสนใจ เมื่อตนทำดีแล้ว แต่ไม่มีใครเห็นความดี เช่น ทำงานมาหลายปี แต่เจ้านายไม่เคยเห็นความดี หรือความสำคัญของตนเลย
วิธีที่จะทำให้เกิดกำลังใจมีดังนี้
1. ก่อนอื่นต้องพยายามหาสาเหตุเสียก่อนว่า การที่เราไม่มีกำลังใจนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร แล้วพยายามหาทางปรับปรุงแก้ไขและยอมรับเสีย
2. อย่าคิดหรือมองว่าตนเองเป็นคนมีปัญหา ไร้ความสามารถ คนอื่นที่เขามีปัญหา ไร้ความสามารถมากกว่าเราก็ยังมีอีกมาก เราต้องมาตั้งใจกระทำใหม่
3. อย่ามัวหมกตัวอยู่คนเดียว ลองพูดคุยกับผู้ที่เราไว้ใจ หรือเชื่อถือ อย่างน้อยก็เป็นการระบาย ความอัดอั้นตันใจของเราได้และเราอาจจะได้รับคำแนะนำ ชี้แนะจากเขาผู้นั้นก็เป็นได้
4. มองโลกในแง่ดี พยายามทำจิตใจให้สดชื่น อะไรต่างๆ ก็จะดูดีขึ้น
5. อ่านหนังสือดีๆ อาจจะได้รับความรู้ สิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ แล้วนำมาปรับปรุง แก้ไขให้ดีขึ้น และยังทำให้เราเกิดความเพลิดเพลินอีกด้วย
6. ออกกำลังกายตามที่ท่านชอบและถนัด ซึ่งอาจจะทำให้สุขภาพแข็งแรงได้อีกด้วย
7. พยายามอย่าปล่อยให้มีเวลาว่างมากเกินไป ควรหางานอดิเรกทำ เช่น หัดทำกับข้าว เย็บปักถักร้อย ทำสวนครัว ฯลฯ เพราะอาจจะสนุกไปกับงานเหล่านั้น
8. เมื่อตื่นนอน ควรรีบลุกจากที่นอนทันที ควรมีแผนการทำงานของแต่ละวันและทำงาน ด้วยความกระฉับกระเฉง ตั้งใจที่จะกระทำกิจกรรมต่างๆ อย่างจริงจัง
จากวิธีที่กล่าวมาข้างต้น อาจจะทำให้ท่านที่ขาดกำลังใจกลับมีกำลังใจขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะส่งผลทำให้ชีวิต ของคุณมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น
โดย ธาริณี มาลัยมาตร์ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
|
วันที่ 12 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,205 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,190 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,172 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 23,262 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,492 ครั้ง |
เปิดอ่าน 66,794 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,122 ครั้ง |
เปิดอ่าน 53,626 ครั้ง |
|
|