Advertisement
เกมทีใช้ในการฝึกอบรม
เกมส์ที่ใช้ในการฝึกอบรม
เกมส์ที่ใช้ในการฝึกอบรมคือการปฤบัติกิจด้วยการเล่น หรือการแข่งขันของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจ ความสามารถ ทัศนคติ และจริยธรรมในการปฎิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล
ความสำคัญของเกมส์ที่ใช้ในการฝึกอบรม
- เปิดโอกาสให้ทุกคนแนะนำและเปิดเผยตัวเองออกมา
- สร้างให้ทุกคนในกลุ่มได้รู้จักคุ้นเคยกัน
- ทำให้ผู้รับฝึกการอบรมรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกันมีการใช้ความคิดร่วมกัน
- ทำให้บรรยาการในการฝึกอบรมเป็นไปอย่างผ่อนคลายและเป็นมิตรกัน
- ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความมั่นใจและความกล้าแสดงออก
ประโยชน์ของเกมในการพัฒนาบุคลากร
ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีการทำความรู้จักกับผู้อื่นที่เข้าร่วมการอบรมด้วยกันเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและทำให้ทุกคนมีความสนิทสนมกันเร็วขึ้นกว่าการที่ทำความรู้จักกันเองในการนำเกมมาใช้ในการฝึกอบรมยังทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างเต็มที่และทำให้บรรยากาศในการเรียนรู้ช่วยให้ผู้รับการฝึกอบรมสนุกสนาน ไม่รู้สึกเหมือนการสอนทั่วๆไปและทำให้ผู้ฝึกอบรมเรียนรู้ได้ในเวลาระยะสั้นประหยัดค่าใช้จ่ายและทำให้มีความกล้าแสดงออกและกล้าแสดงความคิดเห็นต่อกลุ่ม
ลักษณะของเกมที่ใช้ในการฝึกอบรมที่ดี
- เน้นศูนย์กลางการเรียนเป็นกลุ่มสำหรับผู้รับการฝึกอบรม
- มีการแสดงออกอย่างทั่วถึงทุกคนมีส่วนร่วมในเกม
- สร้างบรรยากาศความเป็นกันเองและให้เกียรติผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- ได้สาระความรู้และความสนุกเพลิดเพลิน
- มีสถานการแข่งขันเชิงสร้างสรรค์
- มีความหลากหลายในรูบแบบของเกม
- เป็นเกมที่สร้างความท้าทายและกระตุ้นให้ผู้รับการฝึกอบรมอยากเข้าร่วมเล่น
องค์ประกอบของเกม
1. ชื่อของเกม
2. วัตถุประสงค์หลักและรอง ที่ได้จากการเล่นเกม
3. ขนาดของกลุ่ม จำนวนคนในการเล่นเกม
4. อุปกรณืและเครื่องมือที่ใช้ในการเล่นเกม
5. กฎ กติกา มารยาท ในการเล่นเกม
6. สถานที่ และเวลาในการเล่น
7. ขั้นดำนินการ
8. การตัดสินผล
9. สรุปสาระของเกม
10. การนำสิ่งที่ได้จากเกมนำไปประยุกต์ใช้ในหน้าที่การงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
รูปแบบของเกมที่ใช้ในการฝึกอบรม แบ่งออกเป็น 5 ประเภท
1. กิจกรรมละลายพฤติกรรม
มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้จักคุ้นเคยระหว่างผู้รับการฝึกอบรมเกมจะช่วยอ่นเครื่องและสร้างบรรยากาศแห่งการเปิดเผยตัวเองให้ผู้อื่นรู้จักและเป็นประโยชน์ในการฝึกอบรม
2. กิจกรรมเพื่อประสบการณ์การเรียนรู้
เป็นการเน้นสาระรวบยอด เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทัศนคติ ความเข้าใจ และก่อให้เกิดทักษะใหม่ๆเพื่อนำไปใช้ในการทำงาน
3. กิจกรรมสันทนาการหรอนันทนาการ
เป็นการเสริมบรรยากาศให้มีความสนุกสนาน ร่าเริง เพื่อให้คลายจากความตึงเครียด ทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้รับฝึกการอบรมให้มากยิ่งขึ้นส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมจัดขึ้นในการรวมกลุ่ม หรืองานพบปะสังสรรค์
4. กิจกรรมเข้าจังหวะ
เป็นกิจกรรมที่ร่างกายตอบสนองต่อดนตรีและจังหวะที่ใช้ประกอบ ได้แก่ เสียงเพลง ตีกลอง
การเคราะไม้ ฉิ่งฉาบ
5. กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพ
เป็นการเล่นผาดโผนเป็นกิจกรรมส่งเสริมความสามารถด้านร่างกายให้มีความแข็งแรงส่งเสริมการเจรฺญเติบโตของกล้ามเนื้อหลักในการเคลื่อนไหวและความยืดหยุ่นของข้อต่างๆในร่างกายนอกจากนี้กิจกรรมนี้ยังเป็นการวัดสมรรถภาพของร่างกายไปในตัว
บทบาทของผู้นำเกม
ผู้นำเกมหรือวิทยากรในการฝึกอบรมไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมละลายพฤติกรรม ,กิจกรรมเพื่อประสบการณ์การเรียนรู้ , กิจกรรมสันทนาการหรอนันทนาการ ,กิจกรรมเข้าจังหวะและกิจกรรมทดสอบสมรรถภาพ สรุปคือ การดำเนินการกิจกรรมก่อน ระหว่างหรือภายหลังการฝึกอบรมจะมีวัตถุประสงค์หลายอย่างในบางครั้งเพื่อวัตถุประสงค์การเรียนรู้ผู้นำเกมต้องทำหน้าที่โดยมีบทบาทต่างๆที่หลากหลายโดยมีรายละเอียดดังนี้
บทบาทหลักของผู้นำเกม
เป็นผู้สอน
คือ เป็นผู้สอนให้ความรู้ผู้เข้ารับการอบรมให้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้และให้ตัวผู้เข้าอบรมเป็นศูนย์กลาง
เป็นผู้ฝึกหัด
คือ เป็ผู้ฝึกหัดหรือคอยกำกับให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้มีความสามารถในการพัฒนาให้มีความเข้าใจและความสามารถในงาน กับตนเองเละคนรอบข้าง
เป็นพี่เลี้ยง
คือ เป็นที่ปรึกษาและช่วยแก้ไขปัญหาในเกมและกิจกรรม
เป็นผู้นำ
คือ เป็นตัวอย่างและแบบอย่างให้กับผู้เล่นเกมและกิจกรรมและนำไปคิดประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
บทบาทของผู้นำเกม
o เป็นผู้ชี้นำให้เล่น หลังจากแจ้งกติกาแล้วโดยอาจมีการลองเล่นดูก่อนก่อนมีการแข่งขันจริงเพราะบางเกมผู้เล่นต้องมีการตีความจากคำสั่งในการเล่น
o มีเทคนิคในการจับผิดหรือการลักไก่ของผู้เล่นหูไวตาไว และมีเทคนิคการยืนในระยะที่เหมาะสมในการตรวจสอบ
o กำหนดกฎกติกา ให้มีความชัดเจนในการพูดการสื่อสารในกลุ่มที่เล่นกิจกรรม เช่นไม่ลืมที่จะให้แต่ละกลุ่มแจ้ง ชื่อทีม คำขวัญ และอุปกรณ์ประจำทีม
o ตัดสินชี้ขาดที่ยุติธรรมในการตัดสิน โดยที่ให้ผู้เล่นรู้สึกว่าลำเอียง
o มีเทคนิคในการควบคุมเกมและควบคุมเวลาที่ใช้ในการเล่นเกม
o รู้จักการแก้ไขปัญหาในขณะดำเนินเกม
o ไม่ลืมประเมินหรือสังเกตุพฤติกรรมในตอนเริ่มต้นจนถึงเวลาสิ้นสุดกิจกรรม
หน้าที่ของผู้นำเกม
หน้าที่ของผู้นำเกม คือการดำเนินการเพื่อเปลี่ยนแปลงบุคลิคของผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเกิดการเรียนรู้ให้เข้าใจและสามารถโดยจะต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมโดยมีการเตรียมสื่อ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นเกมให้อยู่ในสภาพที่ดีและพร้อมที่จะใช้งานได้ และจะต้องมีความเป็นมิตร และเป็นกันเองกับผู้เข้าร่วมเล่นเกมตั้งแต่ต้นจนจบ มีความสามารถในการพูด สื่อสาร มีการพูดที่น่าสนใจมีการอธิบายให้ชัดเจนเข้าใจง่ายและมีความยุติธรรมในการตัดสินและให้คะแนนโดยไม่อคิ เพราะรัก เกลียด หรือโกรธก็ตามโดยให้ความเท่าเทียมกันสำหรับผู้ที่เล่นเกมทุกคนและใช้เวลาในการใช้เวลาได้อย่างเหมาะสมในการเล่นเกมไม่นานหรือช้าเกินไปและสุดท้ายเมื่อจบการแข่งขันแล้วมีการสรุปจบประทับใจ อาจใช้คำคม เพลง คำขวัญในการสรุปจุดมุ่งหมายของเกม
การเตรียมการก่อนเล่นเกม
· วิเคราะห์กลุ่ม คือ ดูข้อมูลของผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน อายุ เพศ การศึกษา ประสบการณ์
· ขนาดกลุ่ม คือ การแบ่งจำนวนผู้เข้ากิจกรรม
· สถานที่ คือ การจัดเกมให้เหมาะสมกับสถานที่และจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
· สิ่อ/เครื่องมือที่พื้นที่ สถานที่ที่ใช้ในการเล่นเกมและอุปกรณืสำหรับเล่นเกม
· การวางแผนแล่นเกม คือ เกมนั้นมีวัตถุประสงค์ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ
· เตรียมอุปกรณ์เกม เอกสาร รางวัล หรือเครื่องมือที่ใช้ในการทำกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์
· เตรียมผู้ช่วยและเกมสำรอง เพราะกิจกรรมบางกิจกรรมต้องมีการสาธิตจึงต้องมีผู้ช่วยและมีเกมสำรองเผื่อเอาไว้
ตัวอย่างเกมกิจกรรม เตรียมความพร้อมและสมาธิ
เกม เรียกพลัง ความพร้อม ความเข้าใจ
วัตถุประสงค์
1. ใช้ในการเริ่มต้นเกมหรือกิจกรรม
2. ผู้นำเกมชี้แจงศัพท์ต่างๆที่ใช้ในการสนทนาร่วมกัน
3. สร้างสรรค์บรรยากาศในการจัดอบรมและเกม
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ไม่จำกัด
อุปกรณ์ -
สถานที่ ภายในห้องอบรม
ระยะเวลา ใช้คั่นช่วงขณะอบรม
วิธีการดำเนินการ
- ผู้นำเกมชี้แจงกติกามารยาทในการดำเนินกิจกรรมในช่วงเวลาที่ตกลงกันว่า จะมีคำศัพท์ เมื่อผู้นำเกมใช้คำพูดต่อไปนี้จะหมายความว่าอย่างไรและตอบว่าอย่างไร เช่น ผู้นำเกมพูดว่าIBC ให้ทุกคนพูดว่า เฮ้ พูดชื่อสินค้าให้พูดว่า เยี่ยม
- แล้วผู้นำเกมก็ทดสอบความพร้อม ความเข้าใจของผู้เล่นได้
- ศัพท์ที่จะใช้เรียกความพร้อมของกลุ่มได้ก็มีอีก เช่น ผู้นำเกมพูดว่า ซ้าย ให้ผู้อบรมพูดว่า จ๋า และพูดว่า ขวา ให้ตอบว่าน่ารัก
- ผู้นำเกมก็ทดสอบพูด ขวาขวา ซ้าย ขวา ซ้ายเป็นต้น
- แล้วผู้นำเกมชี้แจงว่านี่เป็นข้อตกลงในการดำเนินกิจกรรมในโครงการนี้
ตัวอย่างเกมกิจกรรม สร้างสัมพันธ์ สนุกสนานสามัคคี
เกม หากว่าเรากำลังสบาย
วัตถุประสงค์
1. ฝึกการพร้อมเพียงในการทำงานเป็นทีม
2. ความว่องไวและความสามัคคี
3. สร้างเสริมในการฟังและการเรียนรู้
4. เปลี่ยนแปลงอิริยาบถในการปฎิบัติกิจกรรมวิชาการ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คนขึ้นไป
อุปกรณ์ ไม่มี
สถานที่ ในห้องฝึกอบรม
ระยะเวลา 5 นาที
วิธีการดำเนินการ
- ผู้นำกิจกรรมตกลงกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ถ้าร้องเพลงหากว่าเรากำลังสบาย เพลงบอกให้ทำอะไรให้ทำตาม 2 จังหวะ
- เนื้อเพลงมีดังนี้ “หากพวกเรากำลังสบายจง.......พลัน” “หากพวกเรากำลังสนุกหมดเรื่องทุกใดๆทั้งสิ้นจง...... พลัน”
ตัวอย่างเกมสร้างความชื่อมั่น มุ่งมั่น สู่เป้าหมาย
เกมโยนเหรียญลงแก้ว
วัตถุประสงค์
1. เพื่อฝึกการประมาณโดยใชการสังเกต
2. เพื่อแสดงให้เห็นว่าความสำเร็จเป็นเรื่องของการฝึกฝน
3. เพื่อทำความรู้จักตนเองในอีกแง่มุมหนึ่ง
4. เพื่อแสดงให้เห็นว่าคนเรามีความแตกต่างกัน
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 20-30 คน
อุปกรณ์
- เหรียญ 10 บาท 3 เหรียญ
- ถังพลาสติกขนาดใหญ่ใส่น้ำ ¾ ส่วน
- แก้วน้ำใส 1 ใบ
สถานที่ ในสนาม
ระยะเวลา 10-20 นาที
วิธีดำเนินการ
- ให้สมาชิกทีละคน โยนเหรียญลงในแก้วโยนลง 1 เหรียญ ได้ 10 คะแนนโยนครบ 3 เหรียญให้สมาชิกคนต่อไปโยนจนครบทั้งกลุ่ม
- รวมคะแนนของสมาชิกทุกคนในกลุ่ม เปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆกลุ่มไหนคะแนนมากที่สุดเป็นฝ่ายชนะ
ตัวอย่างเกมกิจกรรม เสริมสร้างทักษะการสื่อสารประสานงาน
เกม ฝูงวานร
วัตถุประสงค์
1. การฝึกสมาธิ
2. การสังเกตการจำ
3. การประสานงาน
4. ความสนุกสนานและเพลิดเพลิน
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 10-80 คน
อุปกรณ์ ไม่มี
สถานที่ ใช้ได้ทั้งในและนอกห้องฝึกอบรม
ระยะเวลา 10-20 นาที
วิธีการดำเนินการ
- จัดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรียงกันเป็นวงกลม หรือรูปตัว ยู ตามความเหมาะสม
- ผู้นำกิจกรรมแจ้งกฎและกติกาในการเล่นและกำหนดผู้ที่จะเริ่มเป็นคนแรก
- ผู้เล่นคนแรกจะร้องว่า “ลิง 1 ตัว” ผู้เล่นคนต่อไปจะอยู่ติดกับคนแรกจะซ้ายหรือขวาก็ได้จะต้องกระโดดทำท่าลิงไปข้างหน้า 1 ครั้ง พร้อมร้องว่า “กระโดด 1 ครั้ง”คนที่สามก็จะกระโดดทำท่าลิงไปข้างหน้า 1 ครั้งพร้อมร้องเสียงลิง 1 ครั้ง “เจี๊ยก”เป็นอันครบลิง 1 ตัว
- โดยที่ผู้นำกิจกรรมจะกำหนดเองตามความเหมาะสมกับคนเล่นว่าจะใช้ลิงกี่ตัว
ตัวอย่างเกม เสริมการทำงานเป็นทีมและสร้างทีมงาน
เกม จิ๊กซอสัมพันธ์
วัตถุประสงค์
1. รู้จักคิดวางแผนและทำงานร่วมกัน
2. ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
3.เสริมสร้างการทำงานให้ได้ประสิทธิภาพและปริมาณ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ไม่จำกัด แบ่งกลุ่มละ 8-10 คน
อุปกรณ์ ตัวต่อจิ๊กซอ 500 ชิ้นเท่าจำนวนกลุ่มที่แบ่งไว้
สถานที่ ในห้องอบรม
ระยะเวลา 10 นาที
วิธีการดำเนินการ
- ผู้นำกิจกรรมแบ่งผู้เล่นออกเป็นกลุ่มๆ แล้วแจกตัวต่อจิ๊กซอ 500 ชิ้น ให้กลุ่มละ 1 ชุด
- ให้แต่ละกลุ่มวางแผนต่อให้เสร็จ เมื่อกลุมใดต่อเสร็จให้ปรบมือพร้อมกัน
- ให้เวลากลุ่มละไม่เกิน10 นาทีเมื่อหมดเวลาก็มีการเดินตรวจและให้คะแนน
ตัวอย่างกิจกรรม เสริมสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ค์
เกม สร้างบ้านแปลงเมือง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อความช่วยเหลือช่วยกันทำงาน
2. เพื่อการวางแผนเสริมสร้างความคิดริเริ่ม
3. สร้างจินตนาการสู่ความสำเร็จ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50-100 คน แบ่งกลุ่มละ 8-10 คน
อุปกรณ์ กระดาษ A4 ที่ใช้แล้วประมาณ 100 แผ่น
สถานที่ ในห้องประชุม
ระยะเวลา 15 นาที
วิธีการดำเนินการ
- เมื่อสมาชิกในทีมมาพร้อมแล้วให้ผู้นำกิจกรรมอ่านคำสั่ง
- ใช้กระดาษที่มอบให้ 1 ปึก จัดตกแต่งให้เป็นปราสาท ราชวัง ที่สวยงาม
- ให้เวลา 10 นาที
- จับเวลาและเตรียมสรุปตามวัตถุประสงค์
วันที่ 12 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,338 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,181 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,177 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 11,353 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,932 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,684 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,157 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,317 ครั้ง |
|
|