ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เคล็ดลับ....การเลือกซื้อกล้องดิจิตอล


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,423 ครั้ง
เคล็ดลับ....การเลือกซื้อกล้องดิจิตอล

Advertisement


ใครที่กำลังคิดจะซื้อกล้องดิจิตอล  วันนี้มีคำแนะนำในการเลือกซื้อมาฝากค่ะ  ถ้าทำตามรับรองได้กล้องคุณภาพดีแน่นอน  ตามนี้นะคะ

#1. กำหนดงบประมาณ
ก็เหมือนกับการเลือกซื้อของทุกอย่าง ที่คุณจะต้องรู้ก่อนว่าคุณมีงบกี่บาท เพราะการที่คุณไปยืนเลือกซื้อแน่นอนว่าจะต้องมีกล้องตัวที่ดีกว่า สวยกว่า และอาจจะแพงกว่า ถ้าคุณไม่อยากกระเป๋าฉีกก็กำหนดไว้เลยว่ามีงบเท่าไร สำหรับผู้เริ่มต้น ผมแนะนำให้มองหากล้องราคาถูก ที่มีฟังก์ชั่นมากพอ, น้ำหนักเบา, จับถนัดมือ เมื่อคุณใช้ได้คล่องแล้ว ผมคาดว่ามันก็จะเก่าพอดี แล้วคุณค่อยไปหาซื้อตัวใหม่ที่ดีกว่าตัวเดิม

#2. อย่าหลงเชื่อ ดิจิตอล ซูม
อย่าไปเชื่อคนขายเกี่ยวกับเรื่องของดิจิตอลซูม พูดให้เข้าใจง่ายๆ ดิจิตอลซูมก็คือการซูมสมมุติที่ระบบดิจิตอลทำให้ ไม่ใช่ความสามารถของเลนส์ ความแตกต่างก็คือ ดิจิตอลซูม จะเป็นการซูมที่ทำให้ภาพไม่คมชัด และอาจจะมีเม็ดสีขึ้นเต็มภาพ เพราะฉะนั้นให้เลือกดูที่ออฟติคอลซูมที่สูงที่สุดเท่าที่งบอำนวยดีกว่า (ยิ่งซูมได้มาก คุณก็สามารถดึงภาพเข้ามาได้ใก้ลมากขึ้น, สามารถยืนได้ห่างจะสิ่งที่ต้องการจะถ่ายได้มากขึ้น)

#3. 2 อย่างที่ต้องพิจารณาก่อนซื้อ
นั่นก็คือ การ์ดความจุ หรือที่เรียกว่าเมม กับแบตเตอรี่ คุณคงไม่อยากจะซื้อกล้องที่ใช้การ์ดเมมที่ชาวบ้านเขาไม่นิยมใช้กันใช่มั้ย เพราะนอกจากซื้อกล้องแล้วคุณยังจะต้องลงทุนซื้อตัวอ่านการ์ดที่ดูดข้อมูลเก็บเข้าคอมพ์อีกต่างหาก เอาเป็นว่าผมแนะนำให้หากล้องที่ใช้ CF การ์ด ส่วนเมมโมรี่ ก็เช่นเดียวกัน คุณคงไม่อยากจะมีที่ชาร์ตแบตแบบหลากชนิดเต็มบ้านไปหมด 2 สิ่งนี้ผมแนะนำให้ใช้แบบที่ส่วนใหญ่เขาใช้กันเพราะอนาคตถ้าคุณจะซื้อกล้องตัวใหม่ คุณก็จะสามารถนำ 2 อย่างนี้ไปใช้ต่อได้

#4. อย่าดูที่ขนาดของกล้องเพียงอย่างเดียว
ต้องบอกว่ากล้องดิจิตอลสมัยนี้ จิ๋วแต่แจ๋ว แม้จะเครื่องเล็กแต่คุณสมบัติไม่แพ้กล้องระดับมืออาชีพ แต่ก็นั่นแหละ สาระสำคัญคือ ต้องดูว่ามันเหมาะมือคุณหรือเปล่า น้ำหนักสิ่งมีผลต่อการพกพา คุณอาจจะไม่ต้องการกล้องที่เล็กที่สุด แต่คุณต้องการกล้องที่เหมาะมือต่างหาก


#5. ระวังโปรโมชั่น
กล้องที่มาพร้อมกับโปรโมชั่น แถมนู่น นี่นั่น มีการ์ดให้ พร้อมขาตั้ง มีกระเป๋า สารพัด มันก็ดีอยู่หรอก แต่อย่าลืมมองที่คุณภาพของกล้อง ของภาพที่จะออกมาด้วย อย่าลืมว่าคุณจะซื้อกล้องไม่ได้ซื้อโปรโมชั่น

#6. ตรวจสอบความสามารถในการซูมให้แน่ใจ
บางทีคุณอาจจะเคยเห็นโฆษณาบอกว่ากล้องนี้ซูมได้ 10x (10 เท่า) เห็นอย่างนี้แล้วคุณก็ต้องถามให้แน่ว่า 10x เนี่ยออพติคอลซูมกี่x และ ดิจิตอลซูมกี่x เพราะที่บอกว่า 10x  นี่มักจะเอาสองอย่างนี้มารวมกัน ฉะนั้นให้คุณสนใจที่ออพติคอลซูมเลือกที่มากที่สุดเท่าที่มีงบ ไม่ต้องไปสนใจที่ดิจิตอลซูม

#7. ดูภาพตัวอย่างก่อนซื้อ จะทำให้เราทราบว่ากล้องตัวนี้ถ่ายภาพได้คมชัดแค่ไหน
ข้อดีของกล้องดิจิตอลก็คือมันสามารถพรีวิวภาพที่ถ่ายได้ในช่องมองภาพ LCD ตรงนี้ที่คุณต้องดูว่ามันใหญ่พอสำหรับคุณหรือเปล่า (ยิ่งใหญ่มากก็เปลืองแบต) และสามารถขยายภาพดูได้หรือเปล่า ขยายดูสัก 100% เพื่อจะได้เช็คได้ว่ากล้องถ่ายได้ชัดเท่าที่ต้องการหรือเปล่า

#8. มีไมโครโฟนในตัวหรือเปล่า
อย่าทำหน้าสงสัยว่าจะเอาไปทำไม ก็ในเมื่อซื้อกล้องไปถ่ายภาพนิ่ง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่หลายคนมองข้ามถึงประโยชน์ของมัน 2 ประการ คือ คุณสามารถใช้กล้องบันทึกเสียงได้ และ สามารถบันทึกภาพวิดีโอสั้นๆ ได้

#9. ปริมาณพิกเซลที่แท้จริง
ถ้ากล้องที่คุณสนใจบอกว่ามี 10 megapixel และใช้เทคโนโลยี Foveon x3 ให้เอา 3 หาร 10 นั่นแปลว่ากล้องตัวนั้นมีพิกเซลที่แท้จริงเพียง 3.3 megapixel เพราะ
เทคโนโลยี Foveon x3 คือการจำลองพิกเซล

#10. ความจุภาพ
เมื่อตัดสินใจซื้อกล้องแล้วก็เตรียมเงินซื้อการ์ดแมมไว้ด้วยเลย เพราะยังไงที่เขาแถมมาก็มักจะไม่ค่อยพอกับความต้องการอยู่แล้ว

#11. มีโปรแกรมถ่ายภาพกลางคืน
มีกล้องเป็นของตัวเองแล้ว จะอย่างไรก็คงต้องมีโอกาสได้ถ่ายภาพในสภาพแสงน้อย หรือถ่ายตอนกลางคืนแน่ๆ เพราะฉะนั้นก็ดูเลยว่ากล้องตัวที่สนใจมี ISO สูงสุดเท่าไร (สูงไว้ก่อนดี เพราะยิ่งมืดก็ยิ่งต้องใข ISO สูงๆ), มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวหรือเปล่า, มีโหมดถ่ายภาพกลางคืนให้มั้ย

#12. อย่าไปยึดติดกับเมก้าพิกเซล
ยิ่งเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น กล้องก็โฆษณาว่ามีจำนวนเมก้าพิกเซลมากขึ้น ทั้งที่ในความเป็นจริงมีจำนวนเมก้าพิกเซลเยอะๆ ก็ใช่ว่าคุณจะได้ภาพที่ชัด และยิ่งถ้าคุณแค่จะถ่ายภาพแล้วอัดรูปแค่ไม่กี่นิ้ว ก็ไม่เห็นจำเป็นต้องใช้เมก้าพิกเซลสูงๆ ลองพิจารณาสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่น ความเร็วสูงสุด-ต่ำสุดของชัตเตอร์ (ถ่ายได้ฉับไว เช่น ถ่ายภาพคนวิ่ง), ระยะเวลาการเปิดกล้อง ใช้เวลานานเท่าไรถึงจะถ่ายได้,

#13. เผื่อเงินไว้ด้วย เพราะบางทีอาจจะไม่ใช่แค่กล้องที่ต้องซื้อ
เมื่อมีกล้องก็ต้องมีเมมการ์ดไว้เก็บภาพ, ต้องมีการ์ดรีดเดอร์เอาไว้ดูดภาพจากกล้องเก็บเข้าคอมพ์, มีที่ชาร์ตแบตกล้อง, กระเป๋ากล้อง, ขาตั้ง บางทีอาจจะต้องเพิ่มฮาร์ดดิสก์คอมพ์ด้วยซ้ำ ยังไงถ้าต้องซื้อก็ซื้อพร้อมกันกับกล้องรวดเดียวเลย จะได้ต่อรองได้ราคาพิเศษ

#14. ระวังของถูก
ใครๆ ก็อยากได้ของถูก นอกจากผมจะเตือนให้ระวังโปรโมชั่นล่อใจแล้ว แนะนำให้หาซื้อในร้านค้าที่เราไว้ใจ หรือคุ้นเคย เพราะจะได้ไม่ถูกหลอกย้อมแมวขายแล้ว ยังอุ่นใจเรื่องบริการหลังการขายได้อีกด้วย

#15. โปรแกรมถ่ายอัตโนมัติ
โหมดถ่ายภาพอัตโนมัติ อาทิ ถ่ายกลางคืน, ถ่ายภาพบุคคล, ถ่ายภาพกีฬา, ถ่ายพลุ ฯลฯ เหล่านี้ต้องมี เพราะจะทำให้การถ่ายภาพของคุณสะดวก และสนุกขึ้น

#16. มีแฟลชในตัวหรือเปล่า
มันเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน เพราะฉะนั้นควรจะเลือกที่มีแฟลชในตัว ไม่งั้นจะถ่ายภาพกลางคืนได้ไง

#17. กล้องเก่าอย่าทิ้ง
ได้ใหม่อย่าลืมเก่า ของเก่ามีประโยชน์ ลองเอาไปให้ พ่อแม่ญาติพี่น้องใช้, เก็บไว้ใช้ในกรณีที่ตัวใหม่มีปัญหา, เอาไปบริจาค(ได้บุญ) หรือไม่ก็เอาไปเทิร์นเปลี่ยนเป็นเมมการ์ด ฯลฯ

#18. ออฟติคอล ซูมเท่าไรถึงจะพอ
สงสัยใช่มั้ยว่าตกลงจะเลือกซื้อกล้องที่มีจำนวน ออพติคอลซูมเท่าไรถึงจะพอ ผมมีข้อแนะนำ ถ้าคุณจะเอาไปใช้ถ่ายคนเป็นหลัก เช่น ถ่ายเพื่อนๆ ในงานปาร์ตี้ เลือกซื้อสัก 2x, 3x ก็พอ แต่ถ้าเน้นถ่าย outdoor ถ่ายวิว ถ่ายตึกก็ต้อง 5x ขึ้น แต่ถ้าต้องการใช้ถ่ายภาพที่เคลื่อนไหวที่ความเร็วสูง เช่น ถ่ายภาพคนวิ่ง รถแล่น สัตว์วิ่ง ก็ต้อง 7x ขึ้นไป อย่าลืมนะครับว่าต้องดูที่ ออพติคอลซูมเท่านั้น

#19. มีช่องต่อขาตั้งกล้องหรือเปล่า
เผื่อว่าคุณจะต้องตั้งกล้องภ่ายภาพ เช่น ตั้งเวลาถ่าย, ตั้งถ่ายพลุ แต่คุณไม่ช่องสำหรับต่อขาตั้งกล้องแล้วจะทำอย่างไร

#20. ลองเปรียบเทียบราคาในเนตดูก่อนซื้อ
เป็นอีกหนทางหนึ่งสำหรับคนฉลาดซื้อ ขยันเข้าอินเตอร์เนตเช็คราคาร้านนู้นร้านนี้ ก่อนจะตัดสินใจซื้อ หรือเดินเล่นดูหลายๆ ร้าน ถามราคาก่อนเลือกซื้อ

#21. ลองอ่านรีวิว ที่เขาแนะนำดูด้วย
ทั้งในเนต และนิตยสารเกี่ยวกับกล้องทุกฉบับ มีการรีวิวทดสอบกล้องให้คุณได้เลือกอ่านอยู่แล้ว ลองอ่านดูเสียหน่อย แม้ว่าจะมีศัพท์เทคนิค ที่ไม่เห็นจะรู้เรื่อง แต่ก็เอาเถอะ เผื่อว่ามันจะมีข้อมูลที่คุณพอจะเข้าใช้แล้วนำไปใช้ในการตัดสินใจซื้อ

#22. ยิ่งมีเมก้าพิกเซลเท่าไรก็ยิ่งดี
ผมแนะนำไปว่าเมก้าพิกเซลไม่ใช่สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อกล้อง มีมากไปก็ราคาแพง ซึ่งก็ไม่ได้ใช้ ถ้าคุณต้องการซื้อกล้องแล้วนำมา print รูปขนาด 8x10 ผมฟันธงเลยว่าคุณหากล้องสัก 5 megapixel ก็พอ มากกว่านี้ถือว่าไม่จำเป็น น้อยกว่านี้ก็จะได้คุณภาพรูปที่ไม่เพียงพอ

#23. ยิ่งมีฟังก์ชั่นมากเท่าไรยิ่งดี
สำหรับมือใหม่มากๆ ลองมองหากล้องที่มีฟังก์ชั่น full control หรือโหมดอัตโนมัติแบบที่คุณกดชัตเตอร์อย่างเดียว คำนวนทุกอย่างให้เสร็จสรรพ อย่าลืมหาที่ไวท์บาลานซ์และไอเอสโอเป็นออโต้ด้วย จะทำให้ถ่ายง่ายขึ้นอีกเยอะ

#24. กันน้ำได้หรือไม่
คงจะไม่ได้หมายถึงเอากล้องไปถ่ายใต้น้ำหรอก แต่เผื่อว่ามันจะหลุดมือพลัดตกน้ำ หรือตากฝน

#25. มี iso ต่ำสุด สูงสุด เท่าไร
ไอเอสโอ สูงๆ ทำให้คุณถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยได้ดี แต่มันก็ทำให้ภาพเำิกิดน้อยซ์ noise คือภาพเป็นเม็ดสีเล็กๆๆๆ กลับกัน ไอเอสโอต่ำๆ ก็ใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์ มันจะทำให้ภาพของคุณชัดใสมากขึ้น ลองมองหาไอเอสโอสัก 50 และใช้ถ่ายในที่แสงจัดๆ จะได้ภาพที่ชัดสวยมาก


โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3183 วันที่ 11 พ.ค. 2552


เคล็ดลับ....การเลือกซื้อกล้องดิจิตอล เคล็ดลับ....การเลือกซื้อกล้องดิจิตอล

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

สวนของคนไม่ชอบ..อยู่บ้าน

สวนของคนไม่ชอบ..อยู่บ้าน


เปิดอ่าน 6,420 ครั้ง
เมื่อโดนสุนัขบ้ากัด..

เมื่อโดนสุนัขบ้ากัด..


เปิดอ่าน 6,428 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ศิลปะ 3D บนลาดจอดรถ

ศิลปะ 3D บนลาดจอดรถ

เปิดอ่าน 6,447 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ไม่อยากเป็น.......ผู้หญิงกลิ่นตัวแรง
ไม่อยากเป็น.......ผู้หญิงกลิ่นตัวแรง
เปิดอ่าน 6,445 ☕ คลิกอ่านเลย

อุปกิเลส  คือโทษเครื่องเศร้าหมองของจิต  16  อย่าง
อุปกิเลส คือโทษเครื่องเศร้าหมองของจิต 16 อย่าง
เปิดอ่าน 6,877 ☕ คลิกอ่านเลย

"ความสัมพันธ์ระหว่างผึ้งกับมะละกอ" สรรพสิ่งล้วน พันเกี่ยว ( ด้านนิเวศวิทยา )
"ความสัมพันธ์ระหว่างผึ้งกับมะละกอ" สรรพสิ่งล้วน พันเกี่ยว ( ด้านนิเวศวิทยา )
เปิดอ่าน 6,456 ☕ คลิกอ่านเลย

ฝึกคิด...นอกกรอบ ...กันเถอะ
ฝึกคิด...นอกกรอบ ...กันเถอะ
เปิดอ่าน 6,513 ☕ คลิกอ่านเลย

คิดนอกกรอบ..แต่ทำตัวในกรอบ
คิดนอกกรอบ..แต่ทำตัวในกรอบ
เปิดอ่าน 6,455 ☕ คลิกอ่านเลย

          * * *   ยาม   3  ......  ตามไปดู * * *
* * * ยาม 3 ...... ตามไปดู * * *
เปิดอ่าน 6,508 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

การ์ตูนช่วยจำลำดับพยัญชนะไทย
การ์ตูนช่วยจำลำดับพยัญชนะไทย
เปิดอ่าน 19,420 ครั้ง

ขจัดไขมันบนพุงด้วยการแขม่วท้อง
ขจัดไขมันบนพุงด้วยการแขม่วท้อง
เปิดอ่าน 18,552 ครั้ง

ช่วยครูสอนเลขให้เด็กสนุก ด้วยสื่อดิจิตอลคณิตศาสตร์ระดับประถม
ช่วยครูสอนเลขให้เด็กสนุก ด้วยสื่อดิจิตอลคณิตศาสตร์ระดับประถม
เปิดอ่าน 26,940 ครั้ง

พระคาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )
พระคาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )
เปิดอ่าน 27,328 ครั้ง

ชมคลิป สถานทูตสหรัฐทำคลิปรับวันสงกรานต์
ชมคลิป สถานทูตสหรัฐทำคลิปรับวันสงกรานต์
เปิดอ่าน 11,342 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ