Advertisement
สาระแห่งธรรม
ชาวพุทธเรา ส่วนมากได้ถูกปลูกฝัง ตอกย้ำ ให้มีศรัทธาในพระสงฆ์ โดยไม่ตั้งเงื่อนไข ทุ่มลงไปหมดเนื้อหมดตัว ไม่กล้าพูด ไม่กล้าแตะ ต้องกลัวบาป เป็นเหตุให้พระสงฆ์บางรูป ทำอะไรได้ตามใจชอบ ไม่กลัวบาป เพราะ ชาวบ้านกลัวบาปเสียแล้ว ไม่กล้าแตะต้องพระสงฆ์ กลายเป็น ชั่วชางชีดีช่างสงฆ์ ซึ่งไม่เป็นการถูกต้อง ในฐานะของพุทธบริษัท ผู้มีหุ้น คือ มีส่วนรับผิดชอบต่อ พระพุทธศาสนาร่วมกันอยู่ พระพุทธเจ้าทรงฝากพระพุทธศาสนาไว้กับ พุทธบริษัททุกเหล่าไม่ใช่เฉพาะกับ พระสงฆ์หมู่เดียว อุบาสกอุบาสิกา ก็มีส่วนเท่า ๆ กัน ต้องรับผิดชอบพุทธศาสนาด้วยกัน ทางวัดเรียกร้องให้ชาวบ้าน บริจาคเงินที่หามาได้ ด้วยความเหนื่อยยาก ลำบาก บำรุงพระสงฆ์ด้วยปัจจัยสี่ ชาวบ้านก็ช่วยกันบำรุงภิกษุสงฆ์ ให้อยู่สุขสบาย มีเป็นจำนวนมาก ที่อยู่สุขสบายด้วยปัจจัยสี่ รวมทั้งรถยนต์ ยิ่งกว่าชาวบ้านผู้บำรุงเอง ชาวบ้านหวังเพียงให้ท่าน ตั้งอยู่ในศีลในธรรม เป็นเนื้อนาบุญของเขา ไม่มัวเมาอยู่ใน ลาภยศ เสียงสรรเสริญ และ บริวารห้อมล้อม อันพระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นอันตรายอย่างยิ่งของภิกษุสงฆ์
เมื่อพระสงฆ์บางรูป ทำสิ่งที่ชาวบ้านเข้าใจว่า ผิดพลาดบกพร่อง ชาวบ้านติเตียนบ้าง ตามสิทธิของเขา ทางที่ผู้เป็นศิษย์ ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ซึ่งเคารพนับถือภิกษุนั้น และตัวภิกษุนั้นเอง ควรจะทำก็คือ รับฟังด้วยความสงบ สุภาพ ไม่พึงเสียใจ ไม่พึงโกรธเคือง ถ้าเสียใจ โกรธเคือง และปฏิเสธเสียแต่ต้นแล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่า เขาติเตียนผิดหรือถูก เพราะมีโทสาคติ ลำเอียงเพราะโทสะ เข้าครอบงำเสียแล้ว แม้เขาชม ก็ไม่พึงรีบรับไว้ ถ้ารีบรับไว้ด้วยความดีใจ เพลิดเพลินในคำชม จะรู้ได้อย่างไรว่า เขาชมถูกหรือผิด เพราะ มีฉันทาคติ ลำเอียงเพราะความพอใจ เข้าครอบงำเสียแล้ว การยึดมั่น ถือมั่น ในตัวพระสงฆ์ เฉพาะรูป มากเกินไปอย่างหลงใหล คลั่งใคล้นั้น จึงเป็นผ้าบังตาไม่ให้เห็นสัจธรรม แม้จะชอบฟังธรรมของภิกษุนั้น ก็จะไม่เห็นธรรม แม้จะเที่ยวติดตามภิกษุนั้นอยู่ ก็เชื่อว่า อยู่ห่างไกลจากภิกษุนั้น ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
"ภิกษุ แม้เกาะชายสังฆาฏิของพระองค์ เดินตามพระองค์ไปทุกย่างก้าว แต่เธอยังมีความโลภ มีความกำหนัดแรงกล้า มีจิตพยาบาท ไม่มีสติสัมปชัญญะ จิตใจไม่มั่นคง ไม่สำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ภิกษุนั้นชื่อว่า อยู่ไกลพระองค์ และพระองค์ก็อยู่ไกลภิกษุนั้น เพราะเธอไม่เห็นธรรม ผู้ไม่เห็นธรรม ชื่อว่า ไม่เห็นพระองค์ ส่วนภิกษุ ที่อยู่ไกลพระองค์ แม้เป็นร้อยโยชน์ แต่เธอเป็นผู้ไม่มีความโลภ ไม่มีจิตกำหนัดแรงกล้า ไม่พยาบาท มีความคิดดี ไม่เป็นโทษ มีสติสัมปชัญญะ มีจิตใจมั่นคง สำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู เป็นต้นดีแล้ว ภิกษุนั้นชื่อว่า อยู่ใกล้พระองค์ และพระองค์ก็อยู่ใกล้ภิกษุนั้น เพราะเธอเห็นธรรม ผู้เห็นธรรมชื่อว่า เห็นพระองค์" (๒๕/๓๐๐/๒๗๒)
พระพุทธพจน์นี้ ควรจะเป็นเครื่องเตือนใจ พุทธบริษัทผู้มุ่งธรรม แต่ไปติดใจ หลงใหล คลั่งใคล้อยู่ในพระสงฆ์ พระสงฆ์ที่พวกเขายึดมั่นหลงใหลนั่นเอง จะมาเป็นกำแพงขวางกั้น ไม่ให้เขาเห็นธรรม ถ้าเขามีพฤติกรรมก้าวร้าว ต่อผู้ติเตียนพระสงฆ์ ที่เขาเคารพนับถือ ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่า เขามีขันติธรรม เมตตาธรรม อยู่เท่าใด ถ้าเขาวางอุเบกขาได้ นั่นแหละจะเป็นการรักษาธรรม เมื่อรักษาธรรมได้ ก็ชื่อว่า รักษาตนและรักษา พระผู้เป็นอาจารย์ได้ด้วย เมื่อทำลายธรรมเสียแล้ว จะรักษาตน และ รักษาภิกษุผู้เป็นอาจารย์ได้อย่างไร พระพุทธองค์ทรงสอน ให้มีสติเป็นเครื่องรักษาตน และรักษาผู้อื่น แต่ในการรักษาผู้อื่นนั้น ให้เพิ่มขันติ เมตตา ความไม่เบียดเบียนและ ความเอ็นดูเข้ามาด้วย (เสทกสูตร ๑๙/๒๒๔/๗๕๘-๗๖๑)
เป็นความบกพร่องของ พุทธบริษัทเราเป็นส่วนมาก ที่หวังพึ่งแต่พระสงฆ์ ในการแสวงหาบุญ ในการเจริญคุณธรรม ไม่พยายามพึ่งตนเอง และพึ่งธรรม ตามพระดำรัสสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่า "ให้ท่านทั้งหลาย พึ่งตนและพึ่งธรรม" แม้พระตถาคตเอง ก็เป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น พุทธบริษัทเรา จึงไม่ค่อยสร้างบุญขึ้น ในตนเอง หวังแต่จะให้พระแบ่งบุญให้ จึงไม่ตระหนักในการพัฒนาตน ให้พร้อมด้วยคุณธรรม ไม่ตระหนัก ไม่สำเหนียกรู้ว่า บุญอันสูงสุดนั้น คือ การทำตนให้เต็มเปี่ยม บริบูรณ์ด้วยคุณ และต้องทำเอง ทำด้วยตนเอง เปรียบเหมือนถ้า เราอยากเป็นคนรวย ทำไมไม่พยายามทำตนให้รวยเสียเองเล่า ทำไมต้องไปคอยขอเงิน จากคนรวยทีละ ๑๐ บาท ๒๐ บาท เราอาจขอเงินคนรวยในคร้งแรกเพื่อทำทุน.....ครั้งต่อไปพึ่งตนเองนะ
วันที่ 11 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,242 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,150 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 17,683 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,342 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,314 ครั้ง |
เปิดอ่าน 34,317 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,957 ครั้ง |
|
|