ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมคณิตศาสตร์  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เลขคณิตคิดไม่ยาก : คุณรู้จัก "29 กุมภา" ดีแค่ไหน


คณิตศาสตร์ เปิดอ่าน : 26,480 ครั้ง
Advertisement

เลขคณิตคิดไม่ยาก : คุณรู้จัก "29 กุมภา" ดีแค่ไหน

Advertisement

วันที่ 29 กุมภาพันธ์นับเป็นความพิเศษเพราะมีได้แค่ 4 ปีครั้ง และวันที่ 29 ก.พ.แห่งปี 2008 นี้ก็พิเศษเข้าไปอีก เพราะวันที่ 29 ก.พ.นี้ ตรงกับวันศุกร์ นับเป็นครั้งแรกใน 28 ปี
       
       เชื่อว่าถ้าใครมีความสามารถคลิกเข้ามานั่งอ่านบทความชิ้นนี้ คงต้องเคยผ่าน 29 กุมภาพันธ์มาแล้วอย่างน้อย 3-4 รอบ
       
       ว่าแต่...คุณรู้จัก “วันที่ 29 กุมภาพันธ์” ที่มา 4 ปีครั้งดีแค่ไหนลองทดสอบด้วยการตอบคำถามเหล่านี้ดู
       
       1. ลองไล่ดูว่าปีที่จะมีวันที่ 29 ก.พ.ในอีก 5 รอบหลังจาก 2008 นี้มีปีอะไรบ้าง?
       
       2. ถ้าพจมานเกิดปี 1988 ดังนั้นวันที่ 29 กุมภาครั้งแรกของเธอ คือปีอะไร?
       
       3. ปีไหนบ้างที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน : 1900, 1972, 1956, 1946, 1992, 1886, 1420, 1600
       
       4. ปีนี้วันที่ 1 ม.ค.ตรงกับวันอังคาร ส่วนปีที่แล้ว 1 ม.ค.ตรงกับวันจันทร์ และก่อนหน้านั้น (ปี 2006) วันที่ 1 ม.ค.ตรงกับวันอาทิตย์ ลองทายดูแบบไม่เปิดปฏิทินว่า 1 ม.ค.ปีหน้า (2009) และวันที่ 1 ม.ค.2013 ตรงกับวันอะไรบ้าง?
       
       5. ปีปกติมี 365 วัน แต่ทุกๆ 4 ปีจะต้องเพิ่มขึ้นมาอีก 1 วันเพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ นั่นหมายความว่าโลกใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์นานกว่า 365 วัน แท้จริงแล้วโลกใช้เวลานานแค่ไหนโคจรรอบดวงอาทิตย์?
       
       ... ดูเฉลยท้ายบทความ ...
       แต่จะอ่านคำอธิบายในย่อหน้าถัดๆ ไปก่อนก็ไม่เกี่ยง !!

       
       เราจะหาว่าปีไหนบ้างที่มีเดือนกุมภาได้ 29 วัน มีกฎง่ายๆ คือ
       
       ปีคริสตศักราชที่หารด้วย 4 ลงตัว
       (อย่างปีนี้ 2008)
       
       แต่ 99% ของกฎในสากลโลกต้องมีข้อยกเว้น..
       
นั่นก็คือ ปีที่หารด้วย 100 ลงตัวไม่ต้องเพิ่มวันที่ 29 เข้าไป
       
(อย่างปี 1900 และ 1800 ก็หารด้วย 4 ลงตัวและหารด้วย 100 ลงตัว ดังนั้นจึงไม่ต้องเพิ่มวันที่ 29 ลงไป)
       
       แต่นั่นหาใช่สิ้นสุดไม่...
       เพราะมีข้อยกเว้นของข้อยกเว้นบอกอีกว่า... แม้จะผ่านด่านหารด้วย 4 และ 100 ลงตัวแล้วก็ตาม แต่ถ้าปีนั้นเกิดหารด้วย 400 ลงตัว ให้กลับไปใช้หลักการแรกสุด นั่นคือ เพิ่มวันที่ 29 เข้าไปด้วย
       
(อย่างปี 2000 และ 1600 หาร 4 ลงตัว, หาร 100 ก็ลงตัว ทว่ายังหารด้วย 400 ลงตัว ดังนั้นจึงเพิ่มวันที่ 29 ได้)
       
       เรื่องนี้มีคำอธิบาย...
       
       จากหลักการที่ว่า โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบกินเวลา 365.242199 วัน หรือ 365 กับอีก ¼ วัน ซึ่งปีปกติที่มี 365 วันก็จะทำให้เวลาขาดไป ¼ วัน ดังนั้นจึงต้องทดไว้ เมื่อทดครบ 4 ปีก็จะได้เท่ากับ 1 วันพอดี จึงทำให้ต้องเพิ่ม 1 ปีมี 366 วันในทุกๆ 4 ปี
       
       ปีที่มีวันเพิ่มมานั้นเราเรียกกันว่า “อธิกสุรทิน” ซึ่งแปลว่า “วันเกิน” ขณะที่ฝรั่งใช้คำว่า “ลีป" (leap) ที่หมายถึงการกระโดดหรือข้าม (ซึ่งเรียกกันทั้ง ลีปเดย์-leap day ที่หมายถึงวันที่ 29 ก.พ. หรือ ลีปเยียร์-leap year ที่หมายถึงปีที่มีวันที่ 29 ก.พ.) และสัญญลักษณ์แห่งปีกระโดดที่พวกเขาใช้คือ "กบ"
       
       คราวนี้ถ้าทุกๆ 4 ปีมีวันเกินมา 1 วัน เมื่อถึง 400 ปีหรือครบ 100 รอบจะมีวันเกินไปอีก 3.104 วัน (เพราะ อีก 1 วันในทุกๆ 4 ปีเป็นเวลาโดยประมาณ) ดังนั้นในรอบทุกๆ 400 ปีจะต้องลดวันลงไป 3 วัน ก็เลยกำหนดให้ปีที่ครบร้อยแต่หาร 400 ไม่ลงตัว ไม่ต้องเพิ่มวันตามข้อยกเว้นที่กล่าวมา จึงจะเป็นการนับวันเวลาได้ใกล้เคียงกับวัฎจักรโลกและดวงอาทิตย์มากที่สุด
       
       อย่างไรก็ดี ด้วยหลักการนี้เมื่อครบรอบ 10,000 ปี วันในปฏิทินจะผิดจากความเป็นจริงไปอีก 3 วัน แต่อีกตั้งหมื่นปี...ปัญหานี้เลยค่อยคิด !!
       
       ** ข้อสังเกตที่น่าสนใจ **
       
       ปกติแล้ววันเริ่มปี หรือวันที่ 1 มกราคมของทุกปี จะตกในวันไล่ติดกันไปในสัปดาห์ แต่ละปี อย่าง 1 ม.ค.ปีที่แล้วตรงกับวันจันทร์ ส่วน 1 ม.ค.ปีนี้ตรงกับวันอังคาร ซึ่งวัฎจักรปกติแล้ว 1 ม.ค.2009 จะต้องตรงกับวันพุธ
       
       ทว่าวันที่ 1 ม.ค.ปีหน้ากลับตรงกับวันพฤหัสบดี เพราะวันที่ 29 ก.พ.ทำหน้าที่ขโมยซีนไปเสียแล้ว
       
       ดังนั้นการเริ่มต้นปีที่จะเรียงกันไปนั้น หากเป็นปีอธิกสุรทินมาคั่น วันเริ่มต้นของปีถัดไปก็จะเลื่อนไปอีก 1 วัน ตามตัวอย่าง
       
       1 มกราคม 2000 ตรงกับ วันเสาร์ (ปีอธิกสุรทิน)
       1 มกราคม 2001 ตรงกับ วันจันทร์
       1 มกราคม 2002 ตรงกับ วันอังคาร
       1 มกราคม 2003 ตรงกับ วันพุธ
       1 มกราคม 2004 ตรงกับ วันพฤหัสบดี (ปีอธิกสุรทิน)
       1 มกราคม 2005 ตรงกับ วันเสาร์
       1 มกราคม 2006 ตรงกับ วันอาทิตย์
       1 มกราคม 2007 ตรงกับ วันจันทร์
       
       เหล่านี้...คือกติกาและข้อสังเกตของการมีหรือไม่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ในแต่ละครั้ง ส่วนความเป็นมาของการเกิดวันที่ไม่เท่ากันในปฏิทินที่ใช้กันเป็นสากล และเกร็ดอื่นๆ เกี่ยวกับวันพิเศษนี้ สามารถติดตามได้จาก "ข่าวที่เกี่ยวข้อง" ด้านล่าง
       
       

       
       เฉลย : ถ้าอ่านคำอธิบายก็น่าจะรู้คำตอบ ^^
       (แต่เพื่อความมั่นใจ ดรากเมาส์ ปาดแถบแสงไปที่บรรทัดที่มองไม่เห็นด้านล่างกันเลย)
       
       1. 2012, 2016, 2020, 2024, 2028
       2. ถ้าพจมานเกิดก่อน 28 ก.พ. หรือเกิดวันที่ 29 ก.พ.เลย ก็จะพบกับ 29 ก.พ.ครั้งแรกในปี 1988 นั้น แต่ถ้าพจมานเกิดหลังจากนั้นก็จะพบกับ 29 ก.พ.ครั้งแรกในปี 1992
       3. 1972, 1956, 1992, 1420, 1600
       4. วันพฤหัสบดี และ วันอังคาร
       5. 365 วันกับอีก 6 ชั่วโมงโดยประมาณ (หรือ 365.242199 วัน)


เลขคณิตคิดไม่ยาก : คุณรู้จัก "29 กุมภา" ดีแค่ไหนเลขคณิตคิดไม่ยาก:คุณรู้จัก29กุมภาดีแค่ไหน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

สมการและอสมการ

สมการและอสมการ


เปิดอ่าน 71,153 ครั้ง
การวัดความสูง

การวัดความสูง


เปิดอ่าน 34,043 ครั้ง
ฟังก์ชันของ exponential

ฟังก์ชันของ exponential


เปิดอ่าน 42,369 ครั้ง
ห.ร.ม. และ ค.ร.น.

ห.ร.ม. และ ค.ร.น.


เปิดอ่าน 44,839 ครั้ง
ที่มาของทฤษฏีพีทาโกรัส

ที่มาของทฤษฏีพีทาโกรัส


เปิดอ่าน 4,741 ครั้ง
ห.ร.ม. และ ค.ร.น.

ห.ร.ม. และ ค.ร.น.


เปิดอ่าน 80,582 ครั้ง
สรุปสูตรพาราโบลา

สรุปสูตรพาราโบลา


เปิดอ่าน 214,860 ครั้ง
การวัดมุมเป็นเรเดียน

การวัดมุมเป็นเรเดียน


เปิดอ่าน 43,319 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การนำรูปเรขาคณิตมาวางเรียงกันทำให้เกิดลวดลาย

การนำรูปเรขาคณิตมาวางเรียงกันทำให้เกิดลวดลาย

เปิดอ่าน 58,827 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สมการและอสมการ
สมการและอสมการ
เปิดอ่าน 71,153 ☕ คลิกอ่านเลย

โครงงานคณิตศาสตร์
โครงงานคณิตศาสตร์
เปิดอ่าน 131,813 ☕ คลิกอ่านเลย

ประวัติเครื่องหมายหาร  (÷)
ประวัติเครื่องหมายหาร (÷)
เปิดอ่าน 258,189 ☕ คลิกอ่านเลย

จำนวนตรรกยะ
จำนวนตรรกยะ
เปิดอ่าน 35,017 ☕ คลิกอ่านเลย

การกระทำระหว่างเซต (Operation Between Sets)
การกระทำระหว่างเซต (Operation Between Sets)
เปิดอ่าน 23,019 ☕ คลิกอ่านเลย

การแก้ระบบสมการ โดยใช้วิธีเมตริกผกผัน
การแก้ระบบสมการ โดยใช้วิธีเมตริกผกผัน
เปิดอ่าน 39,464 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

"วาสนา" ดีจากไหน ลองดูที่ "เส้นวาสนา" จากลายมือกัน
"วาสนา" ดีจากไหน ลองดูที่ "เส้นวาสนา" จากลายมือกัน
เปิดอ่าน 33,296 ครั้ง

ซุปเปอร์บอร์ดการศึกษา-ปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ความต่อเนื่องทางนโยบาย?
ซุปเปอร์บอร์ดการศึกษา-ปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ความต่อเนื่องทางนโยบาย?
เปิดอ่าน 10,273 ครั้ง

ที่มาของ "กรุงเทพมหานคร" และ "บางกอก"
ที่มาของ "กรุงเทพมหานคร" และ "บางกอก"
เปิดอ่าน 55,506 ครั้ง

การวัดมุมในระนาบดิ่ง
การวัดมุมในระนาบดิ่ง
เปิดอ่าน 18,033 ครั้ง

กรณีตัวอย่างการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ
กรณีตัวอย่างการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ
เปิดอ่าน 50,736 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ