Advertisement
นักวิจัยพบกินอาหารอุดมไขมัน เปลี่ยนความจำสั้นเป็นจำติดใจ |
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ |
6 พฤษภาคม 2552 18:12 น. |
|
|
|
อาหารไขมันสูงมีส่วนช่วยเปลี่ยนความทรงจำระยะสั้นที่เพิ่งเกิดขึ้นให้ฝังลึกในสมอง |
|
|
เอเจนซีส์ – การกินอาหารอุดมด้วยไขมันช่วยสร้างความทรงจำระยะยาว ดังนั้น การหลับฝันถึงของหวานแสนโอชะจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด ผู้เชี่ยวชาญยังหวังว่าการค้นพบนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการค้นหาวิธีบำบัดผู้ป่วยอัลไซเมอร์
กลไกของปรากฏการณ์นี้คือการที่กรดโอเลอิกถูกแปลงเป็นสารโออีเอในลำไส้ ซึ่งกระตุ้นกระบวนการเปลี่ยนความจำระยะสั้นที่เพิ่งเกิดขึ้นให้เป็นความจำระยะยาว ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่คนเราจะจำได้มากขึ้นเมื่อกินอาหารอุดมไขมันที่เอร็ดอร่อย เช่น ไอศกรีม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเทคนิคการอยู่รอดของบรรพบุรุษยุคโบราณ
ดร.แดเนียล ไพโอเมลลี นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่าการจำตำแหน่งแห่งที่ที่พบและรสชาติของอาหารจำพวกไขมันได้ อาจเป็นกลไกการอยู่รอดของบรรพบุรุษของมนุษย์ และมีเหตุผลสมควรที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีความสามารถนี้ อย่างไรก็ดี ในโลกยุคปัจจุบัน อาหารที่ให้แคลอรี่สูงอาจนำไปสู่โรคอ้วน
รีเบ็กกา วูด ประธานบริหารมูลนิธิเพื่อการวิจัยโรคอัลไซเมอร์ในอังกฤษ ขานรับว่างานวิจัยนี้ช่วยให้มีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับผลของโภชนาการที่มีต่อกิจกรรมในสมอง และอาจปูทางสู่วิธีการใหม่ในการบำบัดโรคอัลไซเมอร์
กระนั้น วูดเสริมว่า แม้งานวิจัยนี้บ่งชี้ว่าอาหารประเภทไขมันช่วยสร้างความจำระยะยาว แต่โภชนาการที่สมดุลยังคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อลดโอกาสในการเป็นโรคสมองเสื่อม
ผลวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารโปรซีดดิงส์ ออฟ เดอะ เนชันแนล อะคาเดมี ออฟ ไซนส์ ระบุว่าความจำระยะสั้นจะถูกกระตุ้นให้กลายเป็นความจำระยะยาวจากสารเคมีที่ได้รับจากกรดโอเลอิกในอาหารไขมันและเกิดขึ้นในลำไส้เล็ก ที่เรียกว่า Oleoylethanolamide (โอเออี)
สารดังกล่าวจะส่งสัญญาณไปบอกสมองว่าอิ่มแล้ว ดังนั้น โออีเอในปริมาณมากจึงช่วยลดความอยากอาหาร ช่วยในการลดน้ำหนักและคลอเรสเตอรอล รวมถึงไขมันอันตรายไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
ดังนั้น การกินอาหารอุดมด้วยไขมันที่เอร็ดอร่อยจึงฝังอยู่ในความจำ ทำให้มนุษย์ยุคโบราณจำได้ว่าเคยกินอาหารแบบนี้ที่ไหนและเมื่อใด และเมื่ออาหารประเภทนี้ขาดแคลน ความจำนี้จะช่วยผลักดันมนุษย์ยุคแรกให้ออกค้นหาเพื่อขยายโอกาสในการอยู่รอด
การค้นพบนี้มาจากการศึกษาโดยจัดให้หนูกินโออีเอ และพบว่าหนูทดลองมีความจำดีขึ้นในการทดสอบสองส่วนๆ แรกเกี่ยวกับการวิ่งในเขาวงกต และส่วนที่สองคือการหลีกเลี่ยงประสบการณ์ไม่พึงใจ
ปัจจุบัน มีการใช้ยาที่เลียนแบบผลลัพธ์จากโออีเอเพื่อศึกษาความสามารถในการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดในผู้ป่วย ซึ่งดร.ไพโอเมลลีเชื่อว่า สารชนิดเดียวกันนี้อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีปัญหาความจำ
|
|
วันที่ 11 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,169 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 18,083 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,880 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,398 ครั้ง |
เปิดอ่าน 26,347 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,326 ครั้ง |
|
|