ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ตำนานรักเจ้าชายก้อนดินกับเจ้าหญิงผ้าไหม......


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,154 ครั้ง
Advertisement

ตำนานรักเจ้าชายก้อนดินกับเจ้าหญิงผ้าไหม......

Advertisement

โดย เรณู

 

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ ดินแดนไกลโพ้น  มีเมืองหนึ่งนามว่าเมืองดอกบัว มีอายุราว 300ปี ตั้งอยู่ในภาคกลางประมาณเส้นรุ้งที่ 14 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศาตะวันออก อยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 2.30 เมตร มีเนื้อที่ประมาณ 1,525.856 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 953,660 ไร่ ห่างจากเมืองหลวงของประเทศไทย หรือกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ห่างจากกรุงเทพ ฯ เป็นระยะทางประมาณ 27.8 กิโลเมตร

          ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อพุทธศักราช 2202 มังนันทมิตรได้กวาดต้อนครอบครัวมอญ เมืองเมาะตะมะ อพยพหนีภัยจากศึกพม่า เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้       ครอบครัวมอญเหล่านั้น ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก จากนั้นมาชุมชนสามโคกได้พัฒนามากขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช       แห่งกรุงธนบุรี ชาวมอญได้อพยพหนีพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร อีกเป็นครั้งที่ 2 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรง พระกรุณา โปรดเกล้าฯ อนุญาตให้ ตั้งบ้านเรือนที่บ้านสามโคก และครั้งสุดท้ายในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีการอพยพชาวมอญครั้งใหญ่จากเมืองเมาะตะมะเข้าสู่ประเทศไทยเรียกว่า มอญใหญ่พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญบางส่วน     ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก อีกเช่นเดียวกัน  ฉะนั้น  จากชุมชนขนาดเล็ก      “บ้านสามโคกจึงกลายเป็น เมืองสามโคกในกาลต่อมา

 

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเอาพระทัยใส่ดูแล ทำนุบำรุงชาวมอญเมืองสามโคกมิได้ขาด ครั้งเมื่อเดือน 11     พุทธศักราช 2358 ได้เสด็จประพาสออกเยี่ยมพสกนิกรที่เมืองสามโคก และประทับที่พลับพลาริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งซ้ายเยื้องเมืองสามโคก ยังความปลาบปลื้มใจให้แก่ชาวมอญเป็นล้นพ้น จึงได้พากันหลั่งไหล นำดอกบัวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะอยู่เป็นเมืองนิจ ยังความ ซาบซึ้งในพระราชหฤทัยเป็นที่ยิ่ง จึงบันดาลพระราชหฤทัยให้พระราชทานนามเมืองสามโคกเสียใหม่ว่า เมืองประทุมธานีซึ่งวันนั้นตรงกับวันที่  23 สิงหาคม พุทธศักราช 2358   ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว  ชื่อเมืองประทุมธานี จึงได้กำเนิดนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

 

 

              ในปีพุทธศักราช 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้คำว่า จังหวัดแทน เมืองและให้เปลี่ยนการเขียนชื่อจังหวัดใหม่จาก ประทุมธานีเป็น ปทุมธานีต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยุบจังหวัดธัญบุรีมาขึ้นกับจังหวัดปทุมธานี เมื่อ พ.ศ.2475 จังหวัดปทุมธานีจึงได้แบ่งการปกครองเป็น 7 อำเภอ ดังที่เป็นเช่นปัจจุบันนี้

                 นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้พระราชทานนามเมืองประทุมธานีเป็นต้นมา จังหวัดปทุมธานีก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ เป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ มีศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์อื่นๆ เป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวปทุมธานีภาคภูมิเป็นอย่างยิ่ง และเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคตอันใกล้

               เมืองปทุมธานีหรือเมืองดอกบัวมีประชากรทั้งสิ้น 817,294 คน เป็นชาย 392,677  คน เป็นหญิง 424,617คน และมีพื้นที่ภายใต้การปกครองทั้งหมดจำนวน 7  อำเภอ คือ  เมืองปทุมธานี , คลองหลวง, ธัญบุรี ,หนองเสือ,ลาดหลุมแก้ว,ลำลูกกา และสามโคก  ซึ่งสามารถแบ่งเป็นทั้งหมด 60 ตำบล 529  หมู่บ้าน การปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาล 13 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 50 แห่ง 

          เมืองธานีหรือเมืองดอกบัวนี้ปกครองแบบประชาธิปไตย ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกร         ทำเรือกสวนไร่นา และมีกลุ่มสามโคกที่ประกอบอาชีพเป็นชาว หัตกรรม หรือ ทำการปั้นโอ่งขายเป็นอาชีพหลัก และได้ทำการส่งโอ่งออกไปขายยังจังหวัดใกล้เคียง จนมีชื่อเสียงโด่งดังทางการปั้นโอ่ง

          เมืองลาดหลุมแก้วหรืออำเภอลาดหลุมแก้ว อยู่ในเขตการปกครองของเมืองดอกบัว  ได้ประกาศตั้งเป็นอำเภอเมื่อวันที่  28  มีนาคม 2459     มีเขตการปกครอง  ตำบล  คือ  ตำบลระแหง  ตำบลหน้าไม้  ตำบลลาดหลุมแก้ว  ตำบลคูขวาง  ตำบลคูบางหลวง  และตำบล คูตัน  ต่อมาเมื่อ พ..2479  ทางราชการได้โอนตำบลบ้านแหลม  อำเภอบางกระดี  จังหวัดปทุมธานี  (อำเภอเมืองปทุมธานีมาขึ้นกับอำเภอลาดหลุมแก้ว   อีก  ตำบล  ต่อมาเมื่อ

 พ..2488  ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อตำบลในท้องที่อำเภอลาดหลุมแก้ว  รวม  ตำบล  คือ  ตำบลบ้านแหลม  เป็นตำบลคลองพระอุดมและตำบลคูตันเป็นตำบลบ่อเงิน ปัจจุบันอำเภอลาดหลุมแก้ว  มีเขตการปกครอง  ตำบล  คือ  ตำบลระแหง  ตำบลหน้าไม้  ตำบลลาดหลุมแก้ว  ตำบลบ่อเงิน  ตำบลคูขวาง  ตำบลคูบางหลวง  และตำบลคลองพระอุดม  จังหวัดปทุมธานี  แต่เดิมมีการปกครอง  อำเภอ  คือ อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก แล อำเภอเชียงราก  ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอทั้งหมดตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้  ๆ  กัน แต่มีเขตท้องที่จากริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันตกยาวมาก ประชาชนที่อยู่ทางทิศตะวันตก ของแม่น้ำเจ้าพระยา จะไปติดต่อราชการที่อำเภอต้องเสียเวลามาก  กระทรวงมหาดไทยจึงได้แบ่งเขตท้องที่การปกครองทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมดขึ้นเป็นอำเภอ  โดยให้ย้ายอำเภอเชียงรากมาสร้างทางทุ่งตะวันตก ในเขตตำบลลาดหลุมแก้ว แต่ยังมิทันสร้างเสร็จ เพราะพิจารณาเห็นว่ามีเนื้อที่น้อยไปจึงสร้างที่ใหม่ในเขตตำบลระแหงในปัจจุบันนี้    นายอำเภอขณะนั้น (..2458)  คือ รองอำมาตย์โทขุนวิเศษภักดี ในระยะแรกให้เรียก       ชื่ออำเภอที่สร้างใหม่ไป    ชั่วคราวก่อนว่า  อำเภอระแหงต่อมาเมื่อได้รับ  พระบรมราชานุญาตแล้วจึงเรียกชื่อเป็นทางการต่อไป  ครั้นได้มีการประกาศกระทรวงมหาดไทย  ลงวันที่   28   มีนาคม   2459  เรื่องให้แบ่งเขตท้องที่จังหวัดปทุมธานี  ให้เรียกชื่ออำเภอ  ที่สร้างใหม่ว่า  "อำเภอลาดหลุมแก้ว" โดยที่ตั้งที่ว่าการอำเภอลาดหลุมแก้วตั้งอยู่ริมคลองระแหง หมู่ที่ 4 ตำบลระแหง ต่อมาปี  พ..2517  กรมทางหลวงได้ทำการก่อสร้างถนนสายปทุมธานี - บางเลน   ปรากฏว่าอาคารที่ว่าการอำเภอลาดหลุมแก้ว  ถูกแนวทางหลวงแผ่นดินสายปทุมธานี - บางเลน จึงได้ทำการรื้อถอนและไปสร้างใน ที่แห่งใหม่ ซึ่งมีผู้อุทิศให้แก่ทางราชการ  จำนวน  20  ไร่  ห่างจากที่ว่าการหลังเดิมไปทางทิศตะวันตก  1.7  กิโลเมตร  ตั้งอยู่ที่หมู่ที่  ตำบลระแหง   ต่อมาในปี   2537  ได้ดำเนินการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ โดยได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์  เมื่อวันศุกร์ที่   21  มกราคม   2537  โดยผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีในขณะนั้น  (ร้อยตรีศรีรัตน์  หริรักษ์) เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ การก่อสร้างได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเรียบร้อย เมื่อวันจันทร์ที่ 26 กันยายน  2537  เป็นต้นมา  จนกระทั่งได้ทำพิธีเปิดป้ายอาคารที่ว่าการอำเภอ  โดยอธิบดีกรมการปกครอง   (นายชูวงษ์  ฉายะบุตร)   เป็นประธาน   เมื่อวันพฤหัสบดีที่  22  มิถุนายน  2538

ตำบลคลองพระอุดมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอลาดหลุมแก้ว  เดิมเรียกว่า ตำบลบ้านแหลม มีคลองธรรมชาติไหลผ่าน  ชื่อคลองราชโด ในปี พ.. 24832485 กรมชลประทาน โดย คุณพระอุดมโยธาธิยุทธ อธิบดีกรมชลประทาน  ได้ทำการขุดลอกคลองราชโด  ประชาชน และทางราชการจึงได้พร้อมใจกันตั้งชื่อคลองและตำบลใหม่  ตามชื่อของท่านอธิบดีกรมชลประทานว่า  ตำบลคลองพระอุดม”   ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  ต่อมาในปี พ.. 2539 กระทรวงมหาดไทย  ได้มีประกาศจัดตั้งตำบลคลองพระอุดม  ให้เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตาม พ...  สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.. 2537       ตำบลคลองพระอุดมมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น  4,513 คน  แยกเป็นชาย  2,230 คน  หญิง 2,283 คน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร  ทำนา  ทำสวน  เลี้ยงสัตว์  และรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม จำนวนหมู่บ้านในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมู่บ้าน  มีจำนวน 7 หมู่  ได้แก่ หมู่ 1บ้านคลองพระอุดม,หมู่ 2 บ้านคลองพระอุดม ,หมู่ 3 บ้านคลองพระอุดม ,หมู่ 4 บ้านคลองพระอุดม ,หมู่ 5 บ้านคลองเจ้าเมือง ,หมู่ 6 บ้านคลองเจ้าเมือง  และ หมู่ 7บ้านคลองเจ้าเมือง

                ด้านการศึกษาตำบลคลองพระอุดม มีโรงเรียนประถม 3 แห่ง คือ โรงเรียนวัดทองสะอาด, โรงเรียนคลองพระอุดม และ โรงเรียนบ้านคลองเจ้าเมือง ส่วนโรงเรียนมัธยม มี 2 แห่งคือโรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา และ โรงเรียนบ้านคลองเจ้าเมือง   ซึ่งต่อมาโรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยาได้นำตำนานรักของเจ้าหญิงผ้าไหม และเจ้าชายก้อนดินมาจัดเป็นหลักสูตรท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัญธยมศึกษาปีที่ 2 ในกลุ่มวิชาสาระการงานและพื้นฐานอาชีพ ซึ่งเป็นวิชาเลือกให้นักเรียน หรือเยาวนรุ่นใหม่ ได้ศึกษาค้นค้าเป็นตำราเรียนสืบไป

หนุ่มก้อนดิน เป็นชาวสามโคกโดยกำเนิดซึ่งมีวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมที่กลุ่มชนอยู่ร่วมกันฉันเครือญาติ ทำมาหากินพออยู่พอกิน ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ พึ่งพาดินฟ้าอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ วิถีวัฒนธรรมเครือญาติ ชุมชนชาวบ้าน   ภูมิปัญญาท้องถิ่น   ผู้คนยังมีศีลธรรม น้ำใจยังพอมีไม่ร้อนแล้งแห้งเหือด   เราเรียนรู้พัฒนาชีวิตร่วมกับกัลยาณมิตรทุกคน

 ส่วนสาวผ้าไหมเป็นชาวลาดหลุมแก้ว ที่ตำบลคลองพระอุดม มีวิถีชีวิตท่ามกลางความเจริญรุ่งเรืองของสังคมเมือง มีโรงงานอุตสาหกรรมมากมาย เปรียบคล้ายทะเลกลางพายุที่บ้าคลั่ง ก้าวร้าว รุนแรง ซัดกระหน่ำด้วยคลื่นกิเลส โลภ โกรธ และหลงผิด ถูกซ้ำเติมครอบงำจากวัตถุ อำนาจ เงินตรา ผู้คนแข่งขันแก่งแย่งชิงดี คนรวยข่มแหงคนจน

                จนมาวันหนึ่งมีกามเทพได้แผลงศรให้ทั้งสองคนได้มาพบรักกัน คือ ชายชาวคลองพระอุดม นามว่านายนิคม บางจริง ซึ่งขณะนั้นได้ลาออกจากการเป็นพนักงานในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งแล้วเดินทางกลับมาอยู่บ้าน ขณะที่อยู่บ้านนั้น ก็ได้คิดหาลู่ทางทำมาหากินโดยการนำผลิตภัณฑ์พื้นบ้านมาทำเป็นตัวสินค้าเพื่อออกจำหน่าย โดยเริ่มจากการทำดอกไม้จันท์ ขายตามงานศพต่าง ๆ แต่เนื่องจากดอกไม้จันท์มีข้อจำกัดทางด้านการขาย เพราะดอกไม้จันท์มีคู่แข่งทางธุรกิจมาก มีการแข่งขันสูง  ประกอบกับงานศพไม่ได้มี    ทุกวัน จึงทำให้รายได้ในแต่ละเดือนค่อนข้างน้อย สู้กับรายจ่ายไม่ไหว จึงตัดสินใจหาสินค้าตัวใหม่มาแทนดอกไม้จันท์  และเกิดความคิดว่าน่าจะหาสินค้าอะไรที่มีอยู่แล้วในเมืองดอกบัวมาตกแต่ง ใหม่เพื่อให้เกิดเป็นมูลค่าเพิ่มกับตัวสินค้านั้น จนสุดท้ายได้เกิดแนวความคิดที่จะนำโอ่งจากกลุ่มสามโคก(นายก้อนดิน) มาประดับตกแต่งให้เกิดความสวยงาม เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า โดยเริ่มจากการตกแต่งด้วยผ้าฝ้าย(สาวผ้าฝ้าย) แต่มีข้อกำกัดเนื่องจากผ้าฝ้ายมีซีดง่าย สีสันไม่สดใส ทำให้ไม่เป็นที่สะดุดตาของผู้พบเห็น จึงได้มีการคิดพัฒนามาใช้เป็นผ้าไหม (สาวผ้าไหม) และมีการตกแต่งด้วยดิ้นเงิน และดิ้นทอง หลากหลายลวดลาย ให้ลูกค้าได้เลือกตามความพอใจและจะเห็นได้ว่าความรักของสาวผ้าไหมและนายก้อนดินได้ทำให้ชีวิตที่ยุ่งเหยิงของคนเมืองสามารถผสมผสานกับชีวิตของสังคมชนบทที่มีวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายได้อย่างลงตัว   และนี่เองที่ทำให้ตำนานรักของสาวผ้าไหม กับนายก้อนดินได้เป็นที่กล่าวขานและตัวผู้จัดทำขอยกย่องเป็นเจ้าหญิงผ้าไหม กับ เจ้าชายก้อนดินของคนรุ่นลูกหลานด้วยความภาคภูมิใจสืบต่อไป
 
 
     

นายก้อนดิน กลาย

 

มาเป็นเจ้าชายก้อนดิน

 

 

สาวผ้าไหม

กลายมาเป็นเจ้าหญิงผ้าไหม& เข้าชายก้อนดิน

 

และเหนือสิ่งอื่นใดที่ทำให้นายก้อนดินและสาวผ้าไหมได้กลายเป็นเจ้าชายก้อนดินและเจ้าหญิงผ้าไหมได้ครองกันกันเป็นชั่วนิรันดร คือ

                   
         
ดินเผา   ผ้าไหม   ลวด   กาวลาเท็กซ์   อุปกรณ์ตัดเย็บ  
 
 

สาวผ้าไหมแบบวิถีไทย

 

เจ้าหญิงผ้าไหม&เจ้าชายก้อนดินแบบวิถีไทย

 
 

เรื่องก็จบลงอย่าง Happy        Ending

 

ขอบคุณที่มา  human.vru.ac.th

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 1712 วันที่ 11 พ.ค. 2552

🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇

https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6


ตำนานรักเจ้าชายก้อนดินกับเจ้าหญิงผ้าไหม......

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

..เวรกรรมไม่มีอายุความ...

..เวรกรรมไม่มีอายุความ...


เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง
สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรเพื่อสุขภาพ


เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง
DO YOU  lOVE SOMEONE THISMUCH?

DO YOU lOVE SOMEONE THISMUCH?


เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง
การอ่าน

การอ่าน


เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง
The way to help the students to be able to speak English better. ( 1 )

The way to help the students to be able to speak English better. ( 1 )


เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง
ปีใหม่กับนิทาน

ปีใหม่กับนิทาน


เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ข้อคิดดีๆ

ข้อคิดดีๆ

เปิดอ่าน 7,170 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
  รมว. ศธ.  จุรินทร์ สั่ง สกศ. ทำต้นแบบเยาวชนคนดี
รมว. ศธ. จุรินทร์ สั่ง สกศ. ทำต้นแบบเยาวชนคนดี
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย

รีดผ้าประหยัดไฟ ...ใช่เลย!!
รีดผ้าประหยัดไฟ ...ใช่เลย!!
เปิดอ่าน 7,190 ☕ คลิกอ่านเลย

ทฤษฎีลิง 3 ตัว .........ของขงจื้อ
ทฤษฎีลิง 3 ตัว .........ของขงจื้อ
เปิดอ่าน 7,800 ☕ คลิกอ่านเลย

เรื่อง  นมหนึ่งแก้ว  (A  GLASS   OF  MILK)
เรื่อง นมหนึ่งแก้ว (A GLASS OF MILK)
เปิดอ่าน 7,192 ☕ คลิกอ่านเลย

ooh+ความทรงจำสีจาง
ooh+ความทรงจำสีจาง
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำอย่างไรให้ใครๆ ชอบ
ทำอย่างไรให้ใครๆ ชอบ
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เติมความหวานด้วยของขวัญวันวาเลนไทน์ ส่งรักแทนใจให้คนพิเศษ
เติมความหวานด้วยของขวัญวันวาเลนไทน์ ส่งรักแทนใจให้คนพิเศษ
เปิดอ่าน 2,158 ครั้ง

คุณค่าทางโภชนาการของ "ปลาดุกนา"
คุณค่าทางโภชนาการของ "ปลาดุกนา"
เปิดอ่าน 46,086 ครั้ง

ทางออกของวิกฤตการศึกษาไทยภายใต้การใช้อำนาจตาม ม.44 ของ คสช.
ทางออกของวิกฤตการศึกษาไทยภายใต้การใช้อำนาจตาม ม.44 ของ คสช.
เปิดอ่าน 15,824 ครั้ง

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ พระราชพิธีพระศพ
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ พระราชพิธีพระศพ
เปิดอ่าน 20,296 ครั้ง

เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
เปิดอ่าน 17,151 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ