ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้คือ ธอร์นไดน์ ได้กล่าวว่าการเรียนรู้คือการที่ผู้เรียนสามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง และได้รับความพึงพอใจที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ในการทดลอง ธอร์นไดน์ได้สร้างกรงทดลองที่ทำด้วยไม้ ภายในกรงมีคานไม้ที่ยึดกับเชือก ซึ่งต่อไปยังประตู เพื่อให้เปิด - ปิดได้เมื่อเหยียบคาน นำแมวมาขังไว้ในกรง นอกกรงมีปลาวางให้แมวสังเกตเห็นได้ เมื่อแมวหิวมันจะพยายามหาทางออกมากินอาหาร โดยพฤติกรรมของมันจะมีลักษณะแบบลองผิดลองถูก ด้วยความบังเอิญไปเหยียบถูกคานทำให้ประตูเปิด แมวจึงออกมากกินอาหารได้ ในครั้งต่อมาเมื่อแมวหิน พฤติกรรมของมันจะไม่เป็นแบบครั้งแรกแต่จะใช้เวลาในการออกจากกรงได้เร็วขึ้นตามลำดับ แสดงว่า แมวเกิดการเรียนรู้แบบสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง
1. กฎการเรียนรู้
ธอร์นไดน์ได้ตั้งกฎการเรียนรู้ที่สำคัญไว้ ดังนี้
(1) กฎแห่งผล กฎนี้ให้ความสำคัญกับผลที่ได้หลังจากการตอบสนองแล้ว ถ้าผลที่ได้เป็นที่น่าพึงพอใจ บุคคลนั้นมีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมมากยิ่งขึ้นตรงกันข้าม ถ้าผลที่ได้จากการตอบสนองไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ บุคคลนั้นมีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมนั้นลดลง
(2) กฎแห่งการฝึก กฎนี้ให้ความสำคัญกับการฝึก โดยการเน้นว่าสิ่งใดก็ตามที่คนเราฝึกบ่อย ๆ เราจะทำสิ่งนั้นได้ดี ตรงกันข้ามสิ่งใดก็ตามที่เรากระทำโดยขาดการฝึก เราย่อมทำไม่ได้ดีเหมือนเดิม นักจิตวิทยาได้แบ่งลักษณะการฝึกออกเป็น 2 ประเภท คือ การฝึกติดต่อกัน และการฝึกแบบให้พักเป็นระยะ ผลการศึกษาทดลองในเรื่องลักษณะการฝึกแสดงออกตามกราฟ
(3) กฎแห่งความพร้อม กฎแห่งความพร้อมนี้มีสาระสำคัญดังนี้ " เมื่อบุคคลพร้อมที่จะกระทำแล้วได้ทำ เขาย่อมเกิดความพอใจ" "เมื่อบุคคลพร้อมจะกระทำแล้วไม่ได้ทำ เขาย่อมเกิดความไม่พอใจ" และ "เมื่อบุคคลไม่พร้อมที่จะกระทำ แต่ต้องกระทำ เขาย่อมเกิดความไม่พอใจ" จากหลักการดังกล่าวจะเน้นเรื่องความพร้อม ทั้งทางกายและทางจิตใจด้วย
การนำแนวความคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมมาใช้กับการศึกษา สามารถกระทำได้ ดังนี้�
|
ความเชื่อพื้นฐาน
|
ตัวอย่าง
|
การนำมาใช้กับการศึกษา
|
ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
|
สบโชคไม่ตั้งใจเรียนเพราะบรรยา
กาศไม่น่าสนใจ
|
พัฒนาสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนเพื่อ
ส่งเสริมพฤติกรรมการสนใจเรียน
|
เน้นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ (สิ่งเร้าและการตอบสนอง
|
สมหวังแสดงพฤติกรรมบางอย่าง
เช่น คุย ทำงานอื่น แหย่เพื่อน
การตอบสนองของครูและเพื่อน
ในชั้นจะเป็นสิ่งเร้าต่อพฤติกรรม
ของสมหวัง
|
คิดถึงสิ่งเร้าต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นตัว
ก่อให้เกิดการตอบสนองที่เหมาะ
สมของผู้เรียน
|
การเรียนรู้คือการเปลี่ยน
แปลงพฤติกรรม
|
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของ
สมนึกเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ
|
อย่าเข้าใจว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นจน
กว่าจะเห็นพฤติกรรมของผู้เรียน
เปลี่ยนไป
|
ความต่อเนื่องของเหตุการณ์
|
ชัยแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
เพื่อต้องการได้รับความสนใจ
|
ถ้าต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ต้องจัดเหตุการณ์เพื่อส่งเสริมหรือ
ขัดขวางทันทีทันใด
|
หลักการเรียนรู้ที่เหมือนกัน
สามารถนำไปใช้ร่วมกันได้
|
สมหวังแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะ
สมเพื่อเรียกร้องความสนใจเปรียบ
ได้กับการที่หนูกดปุ่มเพื่อได้
รับอาหาร
|
นำหลักการทดลองที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งศึกษาทดลองกับสัตว์ประเภทต่าง ๆ มาใช้กับสภาพการเรียนในชั้นเรียน
|
|
|
>> http://www.chontech.ac.th/~abhichat/Edu_Theory/Edu_thorndike.htm