Advertisement
--- ความหมาย ---
เป็นวันที่กำหนดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จัดขึ้นในวันใดนั้นขึ้นโดยกรมพระราชพิธีพราหมณ์ในสำนักพระราชวัง โดยส่วนใหญ่จะประมาณต้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งถือว่าเป็นต้นฤดูของการทำนาและเพาะปลูกพืชพันธุ์ต่าง ๆ เป็นพระราชพิธีเก่าแก่มาแต่สมัย โบราณ เพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้กับเกษตรกรของชาติ พระมหากษัตริย์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพระราชพิธีนี้ขึ้น
--- ประวัติความเป็นมา ---
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี แต่จะมีแต่เพียงพิธีทางพราหมณ์เท่านั้น ใช้ชื่อว่า พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พิธีแรกนา ซี่งในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถนาเอง เป็นเพียง องค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น ต่อมา
จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการเปลี่ยนแปลงคือ พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จเป็นองค์ประธาน แต่จะ มอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำแทนพระองค์ ส่วนพระองค์นั้นจะทรงจำศีลเงียบ ๓ วัน และได้ถือปฏิบัติเรื่อยมา
ในครั้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการประกอบพิธีนี้ในสมัยรัชกาลที่ ๑ (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)ได้ทรงเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมบางอย่าง กล่าวคือ ผู้ทำการแรกนาเปลี่ยนเป็นเจ้าพระยาพหลเทพ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ให้ถือว่าผู้ใดเป็นผู้ที่ยืนชิงช้าให้ถือครองตำแหน่งพระยาแรกนาอีกอย่าง เมื่อถึงรัชกาลที่ ๔ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้มีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่างๆ ทุกพิธี ดังนั้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญจึงเป็น ๒ พระราชพิธี คือ พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีของสงฆ์ จะประกอบพระราชพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วน พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีของพราหมณ์ ในวันที่ ๒ จัดขึ้น ณ ลานพระราชพิธี ท้องสนามหลวง โดยพระมหากษัตริย์ จะเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธี โหรหลวงจะบูชาพระฤกษ์และลั่นฆ้องชัย ขบวนพระยาแรกนา ซึ่งประกอบด้วยพระยาแรกนา (ผู้ที่ทำหน้าที่นี้ คือ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) เทพีคู่หาบทอง คู่หาบเงิน รวม ๔ คน (ปัจจุบัน ผู้ที่ทำหน้าที่นี้ คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโทขื้นไป และเป็นสตรีโสดสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ราชบัณฑิตเชิญเต้าเทวบิฐบรรจุน้ำ พระพุทธมนต์ ๑ ท่าน พราหมณ์เป่าสังข์ ๒ ท่าน พราหมณ์เชิญพระโคอุศุภราช ๑ ท่าน พราหมณ์ถือกรรชิง (เครื่องสูงสำหรับกันแดด มีลักษณะฉัตร) หน้า ๒ ท่าน หลัง ๒ ท่าน และพระโค ๑ คู่ โดยก่อนเริ่มเคลื่อนขบวนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระยาแรกนาขวัญจุดธูปเทียน ถวายสักการะเทวรูปสำคัญแล้วจะได้ตั้งสัตยาอธิษฐาน หยิบผ้านุ่งแต่งกาย นุ่งผืนนั้นทับผ้านุ่งเดิมอีกชั้นหนึ่ง นุ่งอย่างบ่าวขุนเตรียมออกแรกนา ในการหยิบผ้านุ่ง ก็จะมีการทำนายผลตามที่พระยาแรกนาขวัญหยิบ คือ ถ้าหยิบได้ผ้า ๔ คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหายบ้างได้ผลไม่เต็มที่ ถ้าหยิบได้ผ้า ๕ คืบ พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์และผลาหาร(ลูกไม้) มังสาหาร(เนื้อสัตว์) จะอุดมสมบูรณ์ดี ถ้าหยิบได้ผ้า ๖ คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอนจะเสียหายไม่ได้ผลเต็มที่
หลังจากทำการเสี่ยงทายผ้านุ่งแล้ว ก็จะเริ่มเคลื่อนขบวนประกอบพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โดยพระยาแรกนาจับหางคันไถด้วยมือข้างหนี่ง ส่วนมืออีกข้างหนึ่งก็จะถือพระแสงปฏัก เดินไถดะ เป็นจำนวนทั้งหมด ๓ รอบ ในระหว่างนั้นราชบัณฑิตจะพรมน้ำพระพุทธมนต์ลงบนพื้นดิน ในรอบที่ ๔ พระยาแรกนาจะเริ่มหว่านเมล็ดข้าวจนครบ ๓ รอบ ต่อจากนั้นจะทำการไถกลบอีก ๓ รอบ รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน ๙ รอบ พนักงานปลดแอกออกจากพระโค พระยาแรกนา พร้อมเทพี กลับไปโรงพิธีพราหมณ์ หลังจากนั้นจะเป็นพิธีตั้งเลี้ยงพระโค โดยจะเสี่ยงทาย ของกิน ๗ สิ่ง อันได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ำ และหญ้า ถ้าโคกินสิ่งใด โหรหลวงก็จะทำนาย ตามที่พระโคกิน คือ
ถ้ากินข้าวหรือข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร (ข้าว) ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี
ถ้ากินถั่วหรือ งา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหาร(อาหารที่กินประจำ) จะอุดมสมบูรณ์ดี
ถ้ากินน้ำหรือ หญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
ถ้ากินเหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง
เมื่อโหรหลวงถวายคำพยากรณ์เสร็จแล้วก็จะแห่พระยาแรกนาขวัญเป็นกระบวนอิสริยยศออกจากโรงพิธีพราหมณ์ผ่านพลับพลาหน้าพระที่นั่ง พระยาแรกนาเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายบังคัลแล้วเข้าขบวนไปขึ้นรถยนต์หลวงกลับไปที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินกลับ หลังจากนั้นข้าวเปลือกที่ใช้ในพระราชพิธี ที่ได้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือส่วนหนึ่งบรรจุลงในพระเช้าทองและเงินของเทพี ส่วนที่ สองก็ให้แจกจ่ายกับเกษตรกรโดยทั่วไป (ข้าวเปลือกดังกล่าวนำมาจากแปลงนาภายในพระราชวังสวนจิตรลดา)
แหล่งที่มา www.beeskids.com
Advertisement
เปิดอ่าน 11,313 ครั้ง เปิดอ่าน 2,789 ครั้ง เปิดอ่าน 24,674 ครั้ง เปิดอ่าน 20,136 ครั้ง เปิดอ่าน 14,654 ครั้ง เปิดอ่าน 34,336 ครั้ง เปิดอ่าน 12,658 ครั้ง เปิดอ่าน 11,640 ครั้ง เปิดอ่าน 25,191 ครั้ง เปิดอ่าน 11,304 ครั้ง เปิดอ่าน 22,807 ครั้ง เปิดอ่าน 11,306 ครั้ง เปิดอ่าน 12,268 ครั้ง เปิดอ่าน 11,603 ครั้ง เปิดอ่าน 14,455 ครั้ง เปิดอ่าน 9,566 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 8,448 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,159 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 27,612 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,125 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,325 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,029 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,987 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 35,388 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,640 ครั้ง |
เปิดอ่าน 54,080 ครั้ง |
เปิดอ่าน 1,044 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,677 ครั้ง |
|
|