Advertisement
ผ่าตัดเปลี่ยนใบหน้า เรื่องแปลกที่กำลังจะกลายเป็นสิ่งปกติ |
|
"การผ่าตัดเปลี่ยนใบหน้า" พบกันบ่อยในฉากของนวนิยายหรือภาพ ยนตร์แนวไซ-ไฟ ส่วนในชีวิตจริงแล้วนับเป็นเรื่องที่ใหม่มาก แต่การผ่าตัดดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเกิดบ่อยครั้งขึ้น จนวันหนึ่งข้างหน้าจะเป็นการผ่าตัดที่ทำเป็นปกติโดยทั่วไป เหมือนการผ่าตัดตับ ผ่าตัดไต เมื่อแพทย์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดให้กับผู้ป่วย 3 คน คือ ชาวฝรั่งเศส ชาวจีน และชาวฝรั่งเศส-แคริบเบียน
คงจำข่าวดังไปทั่วโลกประมาณ 3 ปีที่แล้วกันได้ โดยคณะแพทย์ชาวฝรั่งเศสผ่าตัดเปลี่ยนใบหน้าให้กับ นางอิซาเบล ดีนัวเร่ ที่ถูกสุนัขกัดจนใบหน้าพิการเสียโฉม แพทย์เปลี่ยนใบหน้าให้ใหม่ด้วยการใช้อวัยวะ "ไฮบริด" นั่นคือ นำอวัยวะของเธอเองและผู้บริจาคมาใช้
ในส่วนอวัยวะของผู้บริจาคนั้น แพทย์นำเนื้อเยื่อผิวหนัง กล้ามเนื้อ หลอดเลือด และเส้นประสาท มาติดไว้ที่ใบหน้าช่วงล่างของดีนัวเร่ ซึ่งปีที่แล้วแพทย์รายงานความคืบหน้าว่า ใบหน้าของเธอค่อยๆ ดีขึ้นอย่างช้าๆ แม้มีอาการร่างกายไม่ยอมรับอวัยวะแปลกปลอม 2 ครั้ง
ก่อนผ่าตัดแพทย์กังวลว่าการนำใบหน้าของผู้บริจาคที่เสียชีวิตไปแล้วอาจทำให้ดี นัวเร่รู้สึก "จิตหลอน" แต่หญิงฝรั่งเศสผู้นี้ยืนยันว่าต้องการเข้ารับการผ่าตัด เมื่อเร็วๆ นี้เธอให้สัมภาษณ์ถึงการผ่าตัดเปลี่ยนชีวิตว่า "ฉันรู้สึกเหมือนกับได้ใบหน้ากลับคืนมาอีกครั้ง"
ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนใบหน้ารายที่ 2 ของโลก เป็นชายวัย 30 ปี ชาวเมืองซีอาน ประเทศจีน ที่ถูกหมีกัดใบหน้าด้านล่างจนเหวอะไปหมด ศัลยแพทย์ของซีอานนำแก้ม จมูก ปากของผู้บริจาคมาผ่าตัดให้กับชายเคราะห์ร้าย อีกไม่กี่เดือนต่อมาเขาสามารถรับประทานอาหารและพูดได้ตามปกติ จนสามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน
ส่วนรายที่ 3 เป็นชายชาวฝรั่งเศส-แคริบเบียน อายุ 29 ปี ที่แพทย์เพิ่งผ่าตัดให้เมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากมีเนื้องอกขนาดใหญ่บนใบหน้ามาเป็นเวลากว่า 10 ปี โดยนายแพทย์โลรองต์ ลองเตียรี่ และคณะจากโรงพยาบาลอองรี มอง ดอร์-อัลแบร์ต เชนเนเวีย ผ่าตัดให้
ผลของการผ่าตัดปรากฏว่าผู้ป่วยโรคเนื้องอกสามารถกะพริบตาได้ แสดงว่าเส้นประสาทมีการเชื่อมต่อ ซึ่งก่อนการผ่าตัดแพทย์กังวลว่าเส้นประสาทอาจไม่ทำงานได้เหมือนเดิม
แม้ผู้เข้ารับการผ่าตัดทั้งหมดต้องรับประทานยาป้องกันไม่ให้ร่างกายต้านอวัยวะใหม่ไปตลอดชีวิต วันละ 3 เม็ด แต่ก็นับได้ว่าปริมาณของยาที่ได้รับน้อยกว่ายาที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานรับประทาน และแม้แพทย์จะห่วงว่าการรับประทานยานี้ไปนานๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็ง แต่ข้อดีที่เห็นได้อย่างแจ่มชัดคือ ผู้ป่วยมีสุขภาพจิตดีขึ้น กล้าเข้าไปในสังคมเหมือนเดิม
อย่างไรก็ตาม มีแพทย์บางส่วนไม่เห็นด้วยกับการผ่าตัดเปลี่ยนใบหน้า เพราะเห็นว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ยั่งยืน
นายแพทย์แพทริก วอร์นเค ศัลยแพทย์จากมหาวิทยาลัยคีล ประเทศเยอรมนี กล่าวว่า "ผมไม่เห็นว่าการรับประทานยาต้านไม่ให้ร่างกายปฏิเสธอวัยวะใหม่จะเป็นทางออกที่ดี แต่ผมคิดว่า วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ไขใบหน้าที่เสียโฉม คือสร้างอวัยวะของผู้ป่วยจากสเต็มเซลล์ของตนเอง"
นายแพทย์วอร์นเคยังมีมุมมองว่า "ปัญหาหนักหน่วงที่สุดของการผ่าตัดเปลี่ยนใบหน้าไม่ใช่ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ แต่เป็นด้านสังคม เช่น เมื่อเริ่มการผ่าตัดเปลี่ยนไตผู้บริจาคไม่แน่ใจว่าจะบริจาคดีหรือไม่ เพราะมีประเด็นด้านศาสนา สังคม วัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง การผ่าตัดเปลี่ยนใบหน้าก็เช่นกัน แพทย์พร้อมที่จะผ่าตัดให้ แต่หาผู้บริจาคได้ยากเหลือเกิน ทุกๆ คนต่างยอมรับว่าถ้าตนเองเสียโฉมก็อยากเข้ารับการผ่าตัด แต่พอถึงคำถามที่ว่าใครอยากบริจาคใบหน้าบ้างกลับไม่มีใครกล้า"
|
วันที่ 11 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,391 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,133 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 16,088 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,574 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,941 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,323 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,222 ครั้ง |
|
|