Advertisement
เล่าเรื่อง "เหล้า" น้ำเมาเปลี่ยนนิสัย |
|
"สุรา" หรือที่เรียกกันติดปากว่า เหล้า นั้น เป็นสิ่งผูกพันกับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาเป็นเวลาช้านาน นอกจากข้าวแล้วสุราเป็นหนึ่งในอีกไม่กี่สิ่ง ซึ่งมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาคุ้นเคยเป็นอย่างดี โดยอาจย้อนหลังได้เป็นพัน ๆ ปี กล่าวได้ว่า การผลิตสุราเป็นวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้หลังจากมนุษย์รู้จักข้าวและการทำนาแล้ว ทั้งนี้ ก็เพราะสุราชนิดแรกที่มนุษย์ผลิตนั้นมาจากข้าว เท่าที่ปรากฏหลักฐาน มนุษย์รู้จักเอาข้าวมาหมักทำเบียร์เป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ 3,500-4,000 ปี ก่อนคริสต์กาล
จากการศึกษาเรื่องราวของสุรา พระไพศาล วิสาโล พบว่า ตั้งแต่อดีตมาจนต้นรัตนโกสินทร์นั้นคนไทยไม่ได้ดื่มสุรานัก โดยนักสังเกตการณ์สมัยพระนารายณ์ อาทิ ลาลูแบร์ แชรเวส และสังฆราชแห่งเบริธ กล่าวเหมือนกันว่า น้ำบริสุทธ์เป็นเครื่องดื่มทั่วไปของชาวสยาม เครื่องดื่มที่รองลงมา คือ น้ำชา ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องดื่มที่ควรค่าแก่การต้อนรับแขกผู้มาเยี่ยม ธรรมเนียมต้อนรับดังกล่าวยังตกทอดมาถึงรัชกาลที่ 4 และ 5 เป็นอย่างน้อย
การที่คนไทยไม่นิยมดื่มสุรากัน สาเหตุประการสำคัญ น่าจะมาจากอิทธิพลทางพุทธศาสนา เนื่องจากพุทธศาสนาถือว่าสุรานั้นเป็นโทษควรงดเว้น และในสมัยสุโขทัย พระเจ้าลิไท ได้กล่าวถึงผลร้ายของผู้บริโภคสุราโดยเฉพาะหลังความตายไว้ใน ไตรภูมิพระร่วง อีกทั้ง คำสอนที่อยู่ในวรรณกรรมท้องถิ่นมากมาย เช่น พระยาคำกอง (สอนไพร่) พญาปู่สอนหลาน การะเกด อันเป็นวรรณกรรมอีสาน และวรรณกรรมภาคใต้ ได้แก่ สุทธิกรรม ซึ่งความเชื่อดังกล่าวมีผลต่อค่านิยมหรือมาตรฐานเกี่ยวกับความดี โดยเฉพาะผู้ชายที่ดีนั้น คือคนที่ถือศีล 5 คติดังกล่าวฝังรากลึก ในสังคมไทยเป็นเวลาหลายศตวรรษ
ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ภายใต้กฎหมายตราสามดวง การบริโภคสุราในชนชั้นเจ้านายและขุนนางในอยุธยาเป็นของห้าม ผู้ที่ละเมิดถือว่า "ผู้นั้นทุรยศขบถต่อแผ่นดิน" โดย ตุรแปง ผู้เขียนบันทึกชาวฝรั่งเศส ตั้งข้อสังเกตว่า "เจ้าหน้าที่ในพระราชวังเป็นคนเคร่งครัดที่สุด ที่จะไม่ฝ่าฝืน ใครได้กลิ่นหายใจก็รู้ว่าเขาดื่มเหล้า และถ้ามีหลักฐานว่าเขาดื่มเหล้าก็จะถูกพระเจ้าแผ่นดินลงพระอาญาอย่างหนักและลดตำแหน่งเพราะเชื่อได้ว่าคนที่เมาย่อมปล่อยตัวประกอบอาชญากรรมได้ทุกอย่าง"
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ตราพระราชกำหนดใหม่ ให้ลงโทษคนที่ดื่มสุราโดยการถอดออกจากราชการให้เป็นไพร่และสักหน้าผาก จากข้อมูลดังกล่าวอธิบายได้ว่า การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น ไม่ใช่วัฒนธรรมของคนไทย อย่างที่ผู้ประกอบการทางธุรกิจแอลกอฮอล์ หรือที่ใครหลาย ๆ คนมักชอบกล่าวอ้างในปัจจุบัน
เชื่อกันว่า คนไทยเริ่มดื่มเหล้ากันมากขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีชาวจีนเป็นชาติแรกที่นำสุรากลั่น หรือที่เรียกว่า "เหล้าโรง" เข้ามายังประเทศไทย โดยโรงสุราจะตั้งอยู่ในชุมชนจีนและมีคนจีนผูกขาดทั้งการกลั่นและการขายเป็นส่วนใหญ่ จนทำให้สุรากลายเป็นสิ่งที่หาบริโภคได้ทั่วไปสำหรับคนไทย
การผลิตและจำหน่ายสุราเป็นไปอย่างเสรีไม่มีการเก็บอากรสุราจนกระทั่งสมัยพระเจ้าปราสาททอง ครั้นมาในสมัยพระนารายณ์มีการกำหนดพิกัดอากรสุรา ในสมัยอยุธยาเกิดปัญหาการเก็บอากรสุราโดยรัฐไม่ทั่วถึง รายได้เข้าท้องพระคลังมีไม่มากพอ จึงเกิดระบบเจ้าภาษีนายอากร เพื่อให้เอกชนประมูลสิทธิในการผูกขาดการเก็บภาษีอากรเป็นรายปีตามอัตราที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งออกตรวจและจับกุมชาวบ้านที่ต้มเหล้าเอง ซึ่งเชื่อว่าระบบดังกล่าวจะช่วยควบคุมการผลิตสุราไม่ให้มากเกินไปจนราคาถูกหาซื้อได้ง่าย ทำให้การต้มสุรา กลั่นซบเซาลง มาเริ่มอีกครั้งสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่มีการสร้างโรงกลั่นบางยี่ขัน
เมื่อครั้น รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย การบริโภคสุรามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะชาวจีนที่อพยพมาเมืองไทย เพื่อใช้แรงงานทางเศรษฐกิจ เช่น ปลูกพืชเศรษฐกิจ ต่อเรือ ทำเหมือง ตลอดจนสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ ทำให้เกิดการขยายตัวของการกลั่นสุรา จนกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้ง หาซื้อได้ง่าย วิธีการจำหน่าย ทำได้โดยใช้เรือไปตามคูคลอง ต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงบ้านกลุ่มคนจีนเหล่านี้ ซึ่งการแพร่หลายของวิธีการจำหน่ายนี้ ทำให้คนไทยในท้องถิ่นเข้าถึงและซื้อหาสุราได้ง่าย ไม่ต้องรอให้ข้าวเหลือเพื่อมาทำสุราแช่อีกต่อไป
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การบริโภคสุราโดยเฉพาะสุรา รัฐบาลเพิ่มขึ้นมาก กล่าวได้ว่า ไม่เคยมียุคใดที่คนไทยบริโภคสุรามากเท่ายุคนี้ สุรากลายเป็นสื่อกลางเข้าสังคม เป็นเครื่องแสดงสถานภาพทางสังคมและฐานะ ความเป็นผู้ใหญ่ รวมถึงความเท่าเทียมกันของหญิงกับชาย โดยมิได้จำกัดอยู่เฉพาะในพิธีกรรมหรือในช่วงเทศกาลและโอกาสพิเศษอีกต่อไป แต่สุราถูกนำมาใช้เป็นเครื่องดื่มในทุกโอกาส แม้แต่ในงานบุญซึ่งไม่เคยมีการดื่มสุรามาก่อนก็ตาม
สงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวถึงการบริโภคสุราของไทยว่า คนไทยหันมาบริโภคสุรากันอย่างจริง ๆ จัง ๆ หลังจากที่มีการค้าเสรี เกิดขึ้น สิ่งสำคัญที่เป็นปัจจัย คือ การโฆษณา ซึ่งที่เห็นชัดเจน คือ เบียร์ คนสมัยก่อนไม่กินเบียร์ แต่พอมีการโฆษณา รวมทั้ง ปัจจัยอื่นร่วมด้วย อย่างราคาที่ถูกลง ทำให้ภายในระยะเวลาประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา เบียร์มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นมาถึง 6 เท่า เปลี่ยนให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมที่ดื่มเหล้ามากจนติดอันดับโลก โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) เคยบันทึกไว้ว่า ประเทศไทยมีการบริโภคสุราติดเป็นอันดับ 5 ของโลกมาแล้ว
"แม้ว่าทุกคนจะรู้ว่าเหล้า เป็นที่มาของปัญหาต่าง ๆ ทั้งเรื่องของสุขภาพ ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ มากถึง 60 โรค และร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคเอดส์ในวัดพระบาทน้ำพุมีสาเหตุมาจากการดื่มสุราแล้วมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย รวมทั้งความรุนแรงในครอบครัว อาชญากรรม และอุบัติเหตุ แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง
ในเมื่อหลีกเลี่ยงเหล้ากับสังคมกับเทศกาลต่าง ๆ ไม่ได้ เมื่อถามถึงความพอดี จะไม่พูดในเชิงรณรงค์เพราะจะเป็นเหตุ เนื่องจากบริษัทสุราก็ใช้วิธีนี้ เช่น ดื่มอย่างรับผิดชอบ ดื่มอย่างมีสติ แต่จะพูดถึงคนที่ดื่มแล้วมีปัญหาน้อย คือ ดื่มต้องที่เป็นผู้ใหญ่แล้วยิ่งอายุเกิน 25 ปีขึ้นไปจะเป็นการดี และเลือกดื่มเฉพาะงานเป็นค่านิยม ที่ฝืน ที่เลี่ยงไม่ได้หรือไม่มีพลังพอที่จะปฏิเสธได้ เรียกว่าเป็นการดื่มโดยมีเหล้าเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของการสังสรรค์ของโต๊ะอาหาร ซึ่งบุคคลประเภทนี้จะไม่ทำให้การดื่มเหล้าเป็นปัญหา"
สำหรับผู้ที่ดื่มจนเกินพอดี ต้องสร้างความเข้าใจให้กับเขา สร้างค่านิยม ทัศนคติใหม่ให้เกิดขึ้น สิ่งแรกต้องเริ่มจากความรู้ คือ รู้ข้อมูลข่าวสาร รู้โทษภัย และพัฒนามาจน รู้สึก ซึ่งเป็นการตระหนักว่าเหล้ามีโทษมากกว่าคุณและทำให้มีโอกาสที่จะทำในสิ่งที่ผิดพลาด เสียอนาคต เสียชีวิตได้ เมื่อมีความรู้ลงลึกลงไปจะรู้ว่า เหล้าทำลายสติ เพราะเพียงแก้วเดียวก็มีโอกาสเสี่ยงแล้ว จากนั้นจะ รู้สำนึกที่จะเปลี่ยนแปลง ลดลง ซึ่งถ้าใครเลิกได้ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับตนเองเป็นอันดับแรก ทั้งต่อสุขภาพและสติปัญญา
"เมื่อเลี่ยงไม่ได้ก็ควรดื่มอยู่ที่บ้าน อย่าไปซื้อเพิ่มเองถ้าจะซื้อดื่มอีกให้คนที่ไม่ได้ดื่มเหล้าขับไปซื้อให้ และควรดื่มในที่ที่ควรจะดื่ม ไม่ควรออกจากที่เดิมเพื่อไปทำอย่างอื่นต่อ สนุกกันที่บ้านตรงนี้ปัญหาจะไม่เกิดขึ้น บางชุมชนแก้ปัญหาโดยเก็บกุญแจรถกลุ่มคนที่ดื่มเหล้าถ้าจะซื้ออีกให้คนที่ไม่ได้ดื่มไปซื้อให้ ก็จะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ลง"
สงกรานต์ ถือเป็นเทศกาลที่ดีงาม เป็นวันของครอบครัว ผู้สูงอายุ ถือเป็นวันดี ฉะนั้นไม่เข้ากับสิ่งที่เป็นอบายมุข อย่าง เหล้า มีข้อมูลเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วว่าสร้างปัญหามากมาย มานั่งนับคนตายกันปีละเฉลี่ย 500 คน คือ ตายทุก 20 นาที บาดเจ็บทุก 2 นาที มีคนบาดเจ็บประมาณ 5,000 คน ฉะนั้นถ้าเราสามารถป้องกันได้ ลดการดื่มลง หรือดื่มอย่างมีขอบเขตก็จะช่วยลดปัญหาได้ ทั้งยังทำให้วัฒนธรรมดี ๆ กลับคืนมา ถ้าคนมีสติอยู่ก็จะทำสิ่งดี ๆ ด้วยเช่นกัน
อย่าให้ "เหล้า" ทำให้เรื่อง "เล่า" ในชีวิตคุณต้อง สั้นลง!!
ข้อมูลจาก :
|
วันที่ 11 พ.ค. 2552
หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,187 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,299 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,271 ครั้ง เปิดอ่าน 7,196 ครั้ง เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,858 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,196 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,175 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,208 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,168 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,154 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 16,111 ครั้ง |
เปิดอ่าน 97,764 ครั้ง |
เปิดอ่าน 4,064 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,295 ครั้ง |
เปิดอ่าน 27,345 ครั้ง |
|
|