ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

โรค (ทาง) จิต ติดเทคโนโลยี


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,159 ครั้ง
Advertisement

โรค (ทาง) จิต ติดเทคโนโลยี

Advertisement

โรค (ทาง) จิต ติดเทคโนโลยี

ไม่นานมานี้ กรมสุขภาพจิตได้ออกแถลงการณ์การเตือนผู้ปกครอง เรื่องการติดโทรศัพท์ในเด็กวัยรุ่น เมื่อเด็กหญิงวัย 12 ขวบ ชาวสเปนต้องเข้ารับการรักษาโรคติดโทรศัพท์ ชนิดขาดไม่ได้ จนผู้ปกครองทนไม่ไหวต้องนำตัวเข้าพบจิตแพทย์

เคสการติดเครื่องไม้เครื่องมือไฮเทคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับเฉพาะโทรศัทพ์มือถือเพียงอย่างเดียว การติดเกม ติดอินเทอร์เน็ต ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาการติดเทคโนโลยีมากเกินไป นำมาซึ่งคำถามว่าทำไมเครื่องไม้เครื่องมือชิ้นเล็กๆ เหล่านี้ มีอะไรดีถึงขนาดดึงดูดความสนใจของคนเราให้เล่นอินเทอร์เน็ต ชนิดที่วันไหนไม่ได้เปิดจะรู้สึกแปลกๆ

หรืออาการเหล่านี้จะคล้ายตอนเด็กๆ เคยติดตุ๊กตาหมีเน่ากับหมอนข้างวง (น้ำลาย) ชนิดห่างกายเป็นต้องลงไปชักดิ้นชักงอ อาการติดสิ่งของเทคโนโลยีเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไรจิตแพทย์น่าจะเป็นผู้ให้คำตอบได้เป็นอย่างดี

** รู้จักรีวอรด์เซ็นเตอร์

รีวอร์ดเซ็นเตอร์ หรือแปลตรงตัวว่า ศูนย์รางวัล ไม่ได้ตั้งอยู่ที่ มาบุญครอง พารากอน เซ็นทรัลเชียงใหม่แอร์พอร์ต หรือจุดรับแลกของรางวัลตามศูนย์การค้า ทว่า รีวอร์ดเซ็นเตอร์ที่ว่าตั้งอยู่ในสมองคนเรา ซึ่งทำหน้าที่เป็นแรงขับเคลื่อนพื้นฐานของมนุษย์ เพื่อหลั่งสารสร้างความพึงพอใจของเราออกมา เป็นศูนย์กลางทำงานที่สำคัญมากในสมองตัวหนึ่ง ถึงขนาดเปลี่ยนพฤติกรรมของคนเราได้เลยทีเดียว

"พื้นฐานความต้องการของมนุษย์ก็คือ ความต้องการเพื่อการอยู่รอด โดยมีรีวอร์ดเซ็นเตอร์เป็นหัวใจสำคัญในการทำงานเพื่อหลั่งสารความสุขออกมา อย่างเช่นเราหิวข้าวก็ไปรับประทานอาหาร เราก็เกิดความพึงพอใจ เรามีเซ็กซ์เราก็พึงพอใจ ทีนี้เมื่อพัฒนาการดำรงชีวิตของมนุษย์พัฒนาขึ้นมาจนพร้อมทุกอย่าง เราก็ไปแสวงหาความพึงพอใจอย่างอื่นมาแทน เสาะหาอาหารอร่อยๆ หาเหล้า หาบุหรี่ สร้างความพึงพอใจรูปแบบใหม่เรื่อยๆ

สำหรับตัวเทคโนโลยีเองไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นเกมต่างๆ ผมมองว่ายังไม่น่ากลัวเท่ากับสารเสพติด เช่น เหล้า และบุหรี่ สารเหล่านี้มีฤทธิ์เข้าไปทำลายสมองโดยตรง และมันสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมพื้นฐานของมนุษย์ได้

มีการทดสอบในหนูทดลองถึงฤทธิ์ของสารเสพติด ด้วยการให้หนูเดินเข้าไปกดแป้น ทันทีที่กดแป้นตู้จะปล่อยสารเสพติดออกมาให้หนูรู้สึกมีความสุข คราวนี้มีตัวเลือกระหว่างอาหาร หนูตัวเมีย และแป้นปล่อยสารเสพติด คุณว่าหนูจะเลือกอะไร" รศ.นพ.เดชา ลลิตอนันต์พงศ์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายพร้อมปล่อยถามคำถามกลับมาให้เราลองคิดตรึตรองดูว่าถ้าเราเป็นหนูทดลอง เราจะเลือกอะไรระหว่างสารเสพติด อาหาร และหนูตัวเมีย?

** ความพึงใจที่ไม่เพียงพอ

ย้อนกลับมาที่ปัญหาอาการติดเทคโนโลยีกันต่อ โดยเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องพูดถึงสิ่งที่เรียกว่าพฤติกรรมการเสพติด ซึ่งเกี่ยวข้องกับรีวอร์ดเซ็นเตอร์ ที่ นพ.เดชา อธิบายให้เราฟังเอาไว้คร่าวๆ

"คุณว่าแกะดำในหมู่แกะดำ มันจะรู้ตัวว่าแปลกจากตัวอื่นไหม" "แล้วคุณว่าการดื่มเหล้าซึ่งเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งหลังเลิกงานทุกเย็นเป็นเรื่องผิดปกติหรือเปล่า" คุณหมอเดชาถามอีก ถามเราด้วย 2 คำถาม นำมาซึ่งความสงสัยอีกแล้วว่า 2 คำถามนี้เกี่ยวข้องอย่างไรกับอาการติดเกม ติดอินเทอร์เน็ต ติดคุยโทรศัพท์ หรือติดเหล้า

"2 คำถามนี้ก็เหมือนกับเด็กเล่นเกมในหมู่เด็กติดเกมนั้นเป็นเรื่องปกติ เหมือนกับแกะดำในหมู่แกะดำ อีกาในฝูงอีกา เช่นกัน คนติดเหล้า บุหรี่ นั่งสูบ นั่งดื่มหลังเลิกงานก็เป็นเรื่องปกติของสังคมทั้งที่มันเป็นสารเสพติด แต่เป็นสารเสพติดที่ถูกกฎหมาย

ทั้ง 2 อย่างรีวอร์ดเซ็นเตอร์ ให้รางวัลความสุขเหมือนกัน ต่างกันตรงที่เกมไม่ได้ทำลายสมอง แต่สารเสพติดทำลายสมองโดยตรง และมีผลให้รีวอร์ดเซ็นเตอร์ เปลี่ยนพฤติกรรมให้ผิดไปจากความต้องการทางธรรมชาติ ดังนั้น คำตอบของหนูทดลอง คือเลือกที่จะกดแป้นเสพติด มากกว่าจะหันไปหาอาหาร และหนูตัวเมีย ซึ่งเป็นความต้องการอยู่รอดขั้นพื้นฐาน

เหมือนที่เราเคยได้ยินข่าวเด็กเล่นเกมจนไม่เป็นอันกินอันนอน เล่นกันจนตายคาเครื่อง ก็เพราะเกมมีสิ่งเร้าที่สร้างความพึ่งพอใจให้กับเด็กมากกว่าอาหาร และเมื่อเล่นไปเรื่อยๆ เด็กก็จะรู้สึกเบื่อไม่สนุก ไม่มีความสุข ก็ต้องเพิ่มปริมาณการเล่นเพื่อสร้างความพึงพอใจเท่าเดิม นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเด็กวัยรุ่นถึงต้องเล่นเกมเป็นเวลานานๆ หรือเพิ่มปริมาณการใช้งานให้มากขึ้นเพื่อให้รีวอร์ดเซ็นเตอร์สร้างความสุขให้เท่าเดิม" คุณหมอเดชา อธิบายสาเหตุการติดเทคโนโลยีรวมทั้งพฤติกรรมการติดชนิดอื่นๆ ให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น

** ตัวคัดกรองทางสังคม

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีพฤติกรรมการติดมากเกินไป รวมทั้งเราในฐานะคนรอบข้างจะช่วยคนที่มีอาการติดเหล่านี้ได้อย่างไร นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกกรมสุขภาพจิต อธิบายว่า อาการติดเหล่านี้เรายังไม่เรียกว่าเป็นโรคเป็นเพียงพฤติกรรมการติดอย่างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งแบ่งได้ 3 ระดับ อย่างแรกคือรับการติดที่ไม่เป็นการรบกวนคนอื่นหรือทำให้ตัวเองเดือดร้อน ระดับนี้ถือว่าเป็นระดับปกติที่สามารถแก้ไขได้ ระดับต่อมาคือระดับที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนอย่างติดการใช้โทรศัพท์ต้องโทร.หาคนโน้นทีคนนี้ที หรือใช้โทรศัพท์จนมีค่าใช้จ่ายเดือนเป็นหมื่นๆ โดยไม่จำเป็นทำให้พ่อแม่ต้องเดือดร้อน ตรงนี้ต้องมีการพูดคุยหาทางป้องกันแก้ไข และระดับสุดท้ายก็คือระดับการติดจนไม่เป็นอันกินอันนอน ร่างกายทรุดโทรมสุขภาพย่ำแย่เป็นการทำร้ายตัวเอง หากถึงขั้นนี้ควรได้รับการรักษาในที่สุด

ในขณะที่ นพ.เดชา บอกว่าอย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป กระบวนการทางสังคมจะเป็นตัวช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กๆ ที่มีปัญหาเหล่านี้ได้โดยอัตโนมัติ เช่น เด็กที่ติดเล่นอินเทอร์เน็ตจนผลการเรียนตกต่ำและซ้ำชั้น เขาจะเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองว่าต้องทำอย่างไรถึงจะได้สอบผ่านเหมือนไม่ซ้ำชั้นให้อายเพื่อนๆ อย่างไรก็ตาม ช่วงที่น่าเป็นห่วงที่สุดก็คือ ช่วงวัยรุ่น ช่วงวัยอยากรู้อยากลอง มีความคิดเป็นของตัวเองไม่ฟังเหตุผลใคร

ตรงจุดนี้พ่อแม่ต้องประคับประคองไปจนลูกเรียนจบมหาวิทยาลัย อยู่ในสังคมคนทำงาน มีเรื่องความรับผิดชอบเข้ามาเป็นตัวกำหนดควบคุมพฤติกรรมของเขาอีกทีหนึ่ง โดยทั่วไปจาก 100 เปอร์เซ็นต์ ของคนที่มีพฤติกรรมการติดเกม ติดคอมพิวเตอร์ 50 เปอร์เซ็นต์ จะหายเองโดยอัตโนมัติ โดยเส้นแบ่งทางสังคมระหว่างสังคมวัยเรียนกับวัยทำงาน สังคมคนทำงานเขาไม่ได้มานั่งเล่นอินเทอร์เน็ต เล่นเกมคอมพิวเตอร์กันเป็นกิจวัตร

หากคุณยังเล่นอยู่คุณก็จะดูแปลกแตกต่างไปจากคนอื่นก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคม ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งพฤติกรรมการติดจะค่อยๆ หายไปเอง จนถึงวัยที่เริ่มมีความรับผิดชอบมากขึ้น สำหรับสังคมไทยแล้วน่าจะอยู่ที่ประมาณ 25 ปี ในขณะที่ต่างประเทศจะอยู่ที่ประมาณ 19-21 ปี เพราะสังคมไทยจะเลี้ยงดูแบบฟูมฟัก

ดังนั้น เรามักจะไม่พบคนที่มีพฤติกรรมการติดเกม ติดอินเทอร์เน็ต หรือติดโทรศัพท์มือถือในกลุ่มคนวัยทำงาน เพราะเมื่อเขาติดเล่น งานการก็ต้องเสียไปเขาก็ต้องกลับมาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ตรงนี้คือความรับผิดชอบที่มีในคนแต่ละวัย

เมื่อได้ยินอย่างนี้แล้วเราก็สบายใจได้ครับว่า อาการติดเทคโนโลยีนั้นไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วงมากนัก อย่างน้อยๆ ก็ยังไม่ร้ายแรงเท่ากับเด็กติดยาเสพติด ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายสมองและเลิกได้ยาก ซึ่งเห็นทีจะจริงอย่างที่เด็กๆ ชอบบอกว่า ติดเกมดีกว่าติดยา แต่คิดว่าติดเล่นกีฬาน่าจะดีที่สุดครับ









ที่มา http://www.posttoday.com/

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 1756 วันที่ 11 พ.ค. 2552

หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6


โรค (ทาง) จิต ติดเทคโนโลยี โรค(ทาง)จิตติดเทคโนโลยี

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เพลงเพื่อนพึ่งพายามยาก

เพลงเพื่อนพึ่งพายามยาก


เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง
ผักติ้ว..ต้านมะเร็งตับ !!

ผักติ้ว..ต้านมะเร็งตับ !!


เปิดอ่าน 7,174 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ขลุ่ยที่ดี

ขลุ่ยที่ดี

เปิดอ่าน 7,203 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เหมือนๆ...
เหมือนๆ...
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย

สาธุ..สั้น ๆ แต่ได้บุญ
สาธุ..สั้น ๆ แต่ได้บุญ
เปิดอ่าน 7,170 ☕ คลิกอ่านเลย

นวดศีรษะเพื่อผมสวย
นวดศีรษะเพื่อผมสวย
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย

รูดซิป......เลือดซิบ......ประวัติซิป
รูดซิป......เลือดซิบ......ประวัติซิป
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย

เสน่หา อาฆาต แม่ผัว ลูกสะใภ้ กับยาพิษ...
เสน่หา อาฆาต แม่ผัว ลูกสะใภ้ กับยาพิษ...
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย

 คืนหนึ่ง
คืนหนึ่ง
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

การปลูกและการดูแลรักษามะเขือเปราะ
การปลูกและการดูแลรักษามะเขือเปราะ
เปิดอ่าน 9,240 ครั้ง

10 ขั้นตอน...ก่อนซื้อ Notebook มือสอง
10 ขั้นตอน...ก่อนซื้อ Notebook มือสอง
เปิดอ่าน 10,778 ครั้ง

การถ่ายโอนสถานศึกษาและเปลี่ยนสถานะครู เป็นพนักงานของรัฐ : ปัญหาที่เกาไม่ถูกที่คัน
การถ่ายโอนสถานศึกษาและเปลี่ยนสถานะครู เป็นพนักงานของรัฐ : ปัญหาที่เกาไม่ถูกที่คัน
เปิดอ่าน 32,229 ครั้ง

1 กันยายน วันรำลึกถึง สืบ นาคะเสถียร
1 กันยายน วันรำลึกถึง สืบ นาคะเสถียร
เปิดอ่าน 16,284 ครั้ง

ดาวน์โหลด แนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมือง
ดาวน์โหลด แนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมือง
เปิดอ่าน 56,641 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ