Advertisement
|
ผมมีโอกาสได้ชมเทปรายการทีวี ชื่อไอทีสแน็กย้อนหลัง เล่าถึงโรคล่ามาแรงยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไม่หยุดยั้ง ได้ความว่า โรคร้ายสำหรับคนไอทียามนี้มาเยือนคุณถึงโต๊ะทำงาน ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือองค์กรใดก็ตาม คุณอาจเป็นโรคติดประเภทนี้อย่างไม่รู้ชะตา เพราะทุกวันนี้เราพึ่งพาเทคโนโลยีจำนวนมาก ลองนับนิ้วเล่นๆ สิครับว่าแต่ละวันเราใช้เวลากับคอมพ์กี่ชั่วโมง บางทีรู้สึกเหนื่อย เมื่อยล้า ปวดข้อ ฯลฯ ไม่รู้สาเหตุ
โรคร้ายอันดับแรกที่อยากเล่าสู่กันฟัง คือ ความเครียดจากเทคโนโลยี (Techno Stress) เชื่อว่ามีหลายล้านคนในโลกกำลังเผชิญกับมัน และส่วนใหญ่คงไม่รู้ตัว สังเกตง่ายครับ โรคนี้ทำให้คุณขี้โมโห โกรธง่าย มองคนในแง่ลบ รู้สึกว่าชีวิตเหนื่อยล้า มักจะเกิดกับคนที่ต้องทำงานกับคอมพ์ตลอดเวลา พฤติกรรมที่เห็นได้ชัดคือ ยามที่คุณพูดคุยกับใคร มักต้องการการตอบสนองกลับที่รวดเร็วทันใจ ถามปุ๊บอยากให้เขาตอบปั๊บ เหมือนกดรีโมตสั่งได้ อยากให้รอบข้างเร็วเหมือนเทคโนโลยี
ปัญหาความเครียดจากเทคโนโลยี ที่ว่าจะสัมพันธ์กับการเปลี่ยนงานในวงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ มีหลายคนเกษียณตัวเองก่อนวัยสมควร หรือมีเปลี่ยนงานบ่อย และมีส่วนทำให้คนที่เป็นโรคนี้หันไปพึ่งพาเหล้า และบุหรี่มากขึ้น นั่นหมายความว่า อาจจะทำให้คุณติ๊ด...ติด อย่างอื่นเพิ่มมาอีก
ความเครียดเกิดจากหลายสาเหตุ เวลา...คือสาเหตุหลัก จากงานวิจัยเมื่อต้นปี 2549 ของ กลอเรีย มาร์ก และวิคเตอร์ กอนซาเลซ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียบอกว่า โดยทั่วไปคนในออฟฟิศมีเวลาจัดการงานส่วนตัวแต่ละคนแค่ 11 นาที ก่อนจะถูกรบกวนโดยสภาวะแวดล้อมรอบข้าง อย่างมีเพื่อนมาติดต่องาน โทรศัพท์เข้า ฯลฯ และตลอดทั้งวันคุณจะสูญเสียเวลาเฉลี่ยกว่า 2 ชั่วโมง โดยไม่ได้ทำงาน นั่นทำให้หลายคนมีงานค้างเยอะขึ้นอีก และยิ่งหันไปพึ่งพาเทคโนโลยี ต้นเหตุความเครียดมากขึ้นอีก โหย...ฟังดูแย่ครับ
ถ้าใครสงสัยตัวเองว่าเป็นหรือเปล่า ดร.มิเชล เอ็ม. เวล ให้แนวทางสังเกต เช็กตัวเองดังนี้
1.ตัวคุณนอนหลับพักผ่อนน้อยกว่าปกติ ยอมนอนดึกหรือว่าตื่นเช้าเพื่อมานั่งขลุกหน้าคอมพิวเตอร์
2.ชอบอยู่บ้านเล่นคอมพ์มากกว่าออกไปข้างนอก หรือเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคอมพ์ และเน็ตมากในแต่ละเดือน
3.คุยกับเพื่อนออนไลน์ได้เป็นวันๆ แม้จะไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อนก็ตาม หรือพยายามหลบหลีกซ่อนเร้นไม่ให้ใครเห็นหน้าจอคอมพิวเตอร์ยามใช้งาน
4.คนที่รับอีเมลมากมายในแต่ละวัน บางคนไปเที่ยวพักผ่อน ต้องพกโน้ตบุ๊ก หรือเทคโนโลยีเยอะไปด้วย อยากจะเช็กอีเมลตลอดเวลา
ถ้าคุณเป็นอย่าง 4 ข้อที่ว่า โอ้ย...โดนตั้งแต่โรคแรกเลย คงต้องห่างๆ จากกิจกรรมหน้าคอมพ์บ้างแล้วครับ
โรคต่อมา โรคติดทำหลายสิ่งพร้อมกัน (Multitasking Madness) เช่น มือหนึ่งคุยโทรศัพท์ อีกมือคลิกเมาส์ หูอีกข้างฟังไอพอด โว้ว...ใช่คุณหรือเปล่า เพราะกำลังเกิดขึ้นกับคนไอทียุคนี้
จากการวิจัยของกลุ่มฟอร์จูนวันเธาซัน (Fortune 1000) พนักงานในองค์กรต่างๆ ระดับโลก เฉลี่ยแล้วได้รับอีเมลวันละ 178 ฉบับ คิดดูสิครับ...เขาจะเหลือเวลาไปจัดการงานในแต่ละวันสักกี่มากน้อย ยิ่งกว่านั้น หลายคนไม่ได้ทำงานแค่ 8 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็นครับ หอบงานใส่ทัมป์ไดรฟ์ หรือโน้ตบุ๊กกลับไปบ้าน เอาเวลาครอบครัวมาจัดการงานออฟฟิศอีกต่างหาก แถมการจัดการงานในเวลาจำกัด ทำให้หลายคนทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน เลยเป็น มัลติทาสกิง แมดเนส (Multi-Tasking Madness) ไงครับท่าน
งานวิจัยของศาสตราจารย์ เดวิด เมเยอร์ จาก มหาวิทยาลัยมิชิแกน ทดลองให้นักศึกษาจำนวนหนึ่งหาคำตอบจากสูตรคณิตศาสตร์โดยมีการสับเปลี่ยนปัญหาแบบกะทันหัน เช่น จากการคูณเป็นหารทันที ผลปรากฏว่านักศึกษาใช้เวลานานกว่าปกติกว่าจะหาคำตอบได้ นั่นพิสูจน์ว่ามนุษย์เรามีข้อจำกัดในการทำหลายๆ อย่างพร้อมกัน เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในงานต่อหนึ่งอย่างลดลง แม้จะสามารถฝึกและทำให้เกิดประโยชน์ได้ก็จริง แต่ก็มีข้อจำกัด เมื่อถึงขีดสุดระดับหนึ่ง ฉะนั้นลดการทำอะไรพร้อมกันยามใช้เทคโนโลยีเถิดครับ
โรคสุดท้ายของพวกติด...เทคโนโลยี คือ คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต แอดดิกชัน (Computer And Internet Addiction)
เกม ห้องแชต เว็บบอร์ด และอีเมล ทำให้เราใกล้ชิดโลกไซเบอร์อยู่ตลอดเวลา ขณะเดียวกันก็ห่างเหินจากสังคมปกติ และยากจะปรับตัวเข้ากับคนอื่น บ่อยครั้งที่มีความคิดที่จะพึ่งพาเทคโนโลยีตลอดเวลา และรู้สึกอึดอัดใจถ้าจะต้องหยุดใช้งาน นั่นเป็นข้อสรุปของงานวิจัยสากลในช่วง 10 ปีมานี้ และนักวิจัย เรียกคนกลุ่มที่ติดคอมพ์และเน็ตนี้ว่า เทคโนซิส
เมื่อ 2 ปีก่อน กองทัพทหารฟินแลนด์ต้องยอมให้เลื่อนการรับบรรดาหนุ่มๆ ที่จะเข้ารับราชการทหารออกไปถึง 3 ปี เพื่อรักษาโรคติดเกมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตให้หายเสียก่อน ขณะที่รัฐบาลจีนเปิดคลินิกรักษาโรคติดเกมออนไลน์และแชตรูม ในปักกิ่ง เพราะเด็กวัยรุ่น และหนุ่มสาว มากมายคลั่งเทคโนโลยี
อาการและพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้คือ รู้สึกเครียด กังวลเมื่อไม่ได้เช็กอีเมล รู้สึกหงุดหงิดร้อนใจเวลาหาตู้เอทีเอ็มเพื่อกดเงินไม่เจอ ทั้งๆ ที่อาจจะมีเคาน์เตอร์ในธนาคารให้บริการก็ตาม หรือรู้สึกลำบากเมื่อต้องเขียนหนังสือด้วยมือ และเหนื่อยเมื่อต้องหาข้อมูลการทำรายงาน ทั้งยังรู้สึกว่าตัวเองด้อยเทคโนโลยีกว่าเพื่อน หรือพึ่งพาเทคโนโลยีตลอด และไม่สามารถควบคุมเวลาการใช้งานคอมพ์ได้ มีกิจกรรมร่วมกับคนอื่นน้อยลง ไม่สนใจเพื่อน ครอบครัว กระทั่งละทิ้งการงาน และเรื่องส่วนตัว เพื่อเล่นเน็ต
ว้าว...ไม่ใช่เรื่องเล็กแล้วสิครับ
ที่มา http://www.posttoday.com
|
วันที่ 11 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,220 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง เปิดอ่าน 7,197 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 16,088 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,819 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,521 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,696 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,550 ครั้ง |
|
|