ผู้พัฒนาเครื่องพิมพ์ดีดรุ่นแรกจัดวางแป้นคีย์บอร์ดไว้ไม่ต่างไปจากคีย์เปียโน พิมพ์ดีดรุ่นแรกจะมีแป้นอยู่ราว 8 - 10 แถว ทั้งนี้เป็นเพราะตัวใหญ่จะต้องกดแป้น ต่างหาก (จนมีการประดิษฐ์แป้นยกแคร่ในภายหลัง)
การจัดแป้น มักจะเรียงลำดับตามตัวอักษร !
คริสโตเฟอร์ ลาแธม โชลส์ นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ผู้ผลิตพิมพ์ดีดออกจำหน่าย ในปี 1873 พบว่าการจัดเรียงแป้นตามลำดับตัวอักษร มักทำให้ก้านตัวพิมพ์ดีดติดซ้อนกัน เมื่อเครื่องพิมพ์ดีด อยู่ในมือนักพิมพ์ดีดฝีมือเยี่ยม เขานำความไปปรึกษาน้องชาย ครูสอนหนังสือ และได้หนทางแก้ไข คือ ตัวอักษรที่จะประสมเป็นคำที่ใช้บ่อย จะต้องแยกกันวางคนละฟาก ของแป้นคีย์บอร์ด
สองพี่น้องตระกูลโชลส์ วางแป้นคีย์บอร์ดแบบ QWERTY (ตัวอักษรแถวที่ 3 จากล่าง นับจากซ้ายไปขวา) วัตถุประสงค์มีเพียงอย่างเดียวคือ ป้องกันการขัดซ้อนของก้านพิมพ์ ในยุคที่โชลส์ผลิตพิมพ์ดีดออกวางจำหน่าย นักพิมพ์ดีดที่ถือว่าเร็วที่สุด ก็ยังใช้นิ้วจิ้มเพียงสองนิ้ว.... และในยุคนั้นไม่มีผู้ใดคิดว่า การพิมพ์ดีดสัมผัส จะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้
โชลส์รับฟังคำโต้แย้งของผู้บริโภค โชลส์ชูจุดขายว่า การจัดเรียงแป้นคีย์บอร์ด QWERTY เป็นการจัดเรียง ตามหลักวิทยาศาสตร์ กล่าวคือ จะมีการเคลื่อนที่ของปลายนิ้วในระยะทางที่สั้นที่สุด เวลาผ่านมานานปี มีการพิสูจน์โดยการจัดเรียงแป้นคีย์บอร์ด ให้ต่างไปจากแบบ QWERTY และมีการ พิสูจน์หักล้างได้ว่า คำกล่าวอ้างของโชลส์ ไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด แต่ถึงกระนั้นนักพิมพ์ดีดส่วนใหญ่ ก็ยังเชื่อคำโฆษณาของโชลส์อยู่อย่างฝังใจ
ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า เครื่องพิมพ์ดีดอิเล็กทรอนิกส์และเวิร์ดโพรเซสเซอร์ การจัดเรียงแป้นคีย์บอร์ด แบบ QWERTY ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปแล้ว นักประดิษฐ์เสนอ การจัดเรียงแป้นคีย์บอร์ดแบบอื่นๆ เช่น แป้นคีย์บอร์ดแบบวอร์แรก (จัดเรียงแป้นเหย้าด้วย A, O, E, U, I, D, H, T, N, และ S) ซึ่งได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้นทุกขณะ (การจัดเรียงแบบ QWERTY ในภาษาไทยเป็นแบบเกษมณี อีกแบบที่ให้เลือกคือ ปัตตะโชติ) แต่ถึงอย่างไร QWERTY ก็ใช้งาน มานานเกินศตวรรษแล้ว
นิสัยร้อยปี จะแก้ไขให้หายขาดด้วยตรรกะได้หรือ ?
|