สะอึก…เป็นหนึ่งในสิ่งที่สร้างความรำคาญใจให้ใครหลาย คน หากสะอึกแค่เดี๋ยวเดียว อาจไม่เป็นปัญหากวนใจนัก แต่หากใครสะอึกติดต่อกันเป็นวัน หรือ หลายๆ วัน แม้หาสารพัดวิธีช่วยให้หายสะอึก ทั้งกลั้นหายใจ ดื่มน้ำ กลืนน้ำตาล ทำอย่างไรก็ไม่เป็นผล นั่นอาจไม่ใช่เรื่องธรรมดา เพราะอาการเช่นนี้อาจเป็นเพราะโรคได้!
นพ.นรินทร์ อจละนันท์ อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ช่วยไขข้อข้องใจให้หายสงสัยเกี่ยวกับการสะอึกว่า อาการสะอึกเกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อกะบังลมที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่างช่องปอดและช่องท้องที่เกิดขึ้นเอง ได้โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากมีสิ่งมากระตุ้นเส้น ประสาท 2 ตัว คือ Vagus nerve และ Phrenic nerve ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมระบบประสาทต่อกับระบบทางเดินอา หารส่วนต้น โดยเสียงสะอึกที่เกิดขึ้น มาจากการหายใจออกขณะที่กะบังลมเกิดการกระตุกทันทีทัน ใด ทำให้เกิดเสียงดังของการสะอึกขึ้น
สำหรับลักษณะอาการแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1.อาการสะอึกช่วงสั้นๆ อาจเพียง 2-3 นาที 2.การสะอึกหลายๆ วันติดกัน 3. สะอึกติดๆ กันหลายสัปดาห์ และ4.การสะอึกตลอดเวลา โดยที่การสะอึกกลุ่มแรกเป็นการสะอึกช่วงสั้นๆ ที่ไม่มีอันตรายใดๆ แต่การสะอึกติดต่อกันหลายๆ วัน เป็นอาการที่ไม่ธรรมดา เนื่องจากมีสาเหตุมาจากโรคอื่นๆ เช่น ความผิดปกติทางสมอง การเป็นอัมพาต การเป็นโรคทางเดินอาหาร การอักเสบในช่องท้องบริเวณกะบังลม โรคหลอดเลือดสมองตีบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ พิษสุราเรื้อรัง รวมถึงอาการทางภาวะจิตใจ และผลกระทบจากการใช้ยาบางชนิด
"ส่วนมากผู้ป่วยที่มาหาหมอด้วยการสะอึกเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน เนื่องมาจากมีอาการผิดปกติทางสอง หรือเป็นอัมพาต ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถให้ยาที่ช่วยบรรเทาอาการสะอึ กได้ แต่ก็อาจมีการสะอึกเกิดขึ้นมาอีก เพราะอาการสะอึกเป็นเพราะต่อเนื่องที่เกิดจากการเจ็บ ป่วย"นพ.นรินทร์อธิบาย
ส่วนวิธีการรักษาบรรเทาอาการสะอึกนั้น นพ.นรินทร์บอกว่า หากเป็นการสะอึกธรรมดาๆ สามารถใช้วิธีการกลั้นหายใจ การกลืนน้ำตาล กระตุ้นบริเวณหลังคอ แต่หากสะอึกติดต่อกันควรที่จะพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุขอ งอาการสะอึกว่าเกิดมาจากอาการของโรคใด โดยอาการสะอึกไม่ถือว่าเป็นโรคแต่เป็นผลมาจากการเป็น โรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร ดังนั้นหากสามารถทราบสาเหตุของโรคให้ยาตามอาการก็สาม ารถที่ช่วยให้อาการสะอึกดีขึ้น
10 เทคนิคหยุดสะอึก
1.กระตุ้นผิวด้านหลังของลำคอ แถวๆ บริเวณที่เปิดปิดหลอดลม โดยการดึงลิ้นแรงๆ
2.ใช้ด้ามช้อนเขี่ยที่ปิดเปิดหลอดลม
3.กลั้วน้ำในลำคอ
4.จิบน้ำเย็นจัด
5. กลืนน้ำตาลทราย 1-2 ช้อนโต๊ะ โดยไม่ต้องใช้น้ำ หรือ กลืนก้อนข้าว ก้อนขนมปัง ก้อนน้ำแข็งเล็กๆ
6.ดื่มน้ำจากขอบแก้วที่อยู่ด้านนอกหรือด้านไกลจากริม ฝีปาก
7.จิบน้ำส้มสายชูที่เปรี้ยวจัด หรือดมสารที่มีกลิ่นฉุน เช่น แอมโมเนีย
8.การฝังเข็ม
9. การสวดมนต์ทำสมาธิ
10. กลั้นหายใจเอาไว้โดยการนับ 1 – 10 แล้วหายใจออก จากนั้นดื่มน้ำตามทันที
ที่มา : ผู้จัดการ