ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เรื่องราวประเทศไทยที่ท่านรัก


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,391 ครั้ง
เรื่องราวประเทศไทยที่ท่านรัก

Advertisement

❝ เรื่องราวประเทศไทยที่ท่านรัก ❞

วันหนึ่ง  ได้เข้าไปในสมุดเยี่ยม  ที่มีในประวัติของครูอ้อย  พบข้อมูล เกี่ยวกับประเทศไทย  ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ ผู้อ่าน  ที่บอกกันประจำว่า.....รักประเทศของตน 

และเพื่อให้ได้รู้ว่า....รักนะ  รู้เรื่องสิ่งที่ตนรักบ้างหรือเปล่า

*****

ประเทศไทย หรือ ราชอาณาจักรไทย   เป็นรัฐที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

มีพรมแดนทางทิศตะวันออก.....ติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา
ทิศใต้ติดอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า
และทิศเหนือติดกับประเทศพม่าและประเทศลาว  โดยมีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง.....

ประเทศไทยมีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 49 ของโลก โดยมีเนื้อที่ 513,000 ตร.กม. และมีประชากรมากเป็นอันดับ 20 ของโลก โดยประมาณ 63 ล้านคน อันประกอบด้วยเชื้อสายไทยกว่า 80% ชาวจีน 10% ชาวมาเลย์อีก 3% นอกจากนั้นยังมีชาวเขาเผ่าต่างๆ  

มีภาษาราชการ คือ ภาษาไทย พลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท วัฒนธรรมหลักของไทยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดีย จีน และประเทศทางตะวันตก โดยไทย

มีวัฒนธรรมที่น่าประทับใจของแขกผู้มาเยือน เช่น การให้ความเคารพผู้สูงอายุ และที่สำคัญ คือ ความเป็นมิตรและการรับรองแขกผู้มาเยือน จนได้รับสมญานามว่าเป็น "สยามเมืองยิ้ม".....

ประเทศไทยปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีประมุขแห่งรัฐพระองค์ปัจจุบันคือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐที่นานที่สุด.....

ประเทศไทยนับได้ว่าเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจจากยุโรปเลย

ประวัติศาสตร์
ดูบทความหลักที่ ประวัติศาสตร์ไทย

ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ยาวนาน นับแต่การล่มสลายของราชอาณาจักรขอม-จักรวรรดินครวัต นครธม เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13[1] และมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรโบราณหลายแห่ง เช่น อาณาจักรทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้ เขมร ฯลฯ....

ประวัติศาสตร์ไทย เริ่มเป็นรูปเป็นร่างใน พ.ศ. 1781 ตรงกับสมัยอาณาจักรสุโขทัย และสมัยอาณาจักรล้านนาแห่งภาคเหนือ กระทั่งอาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจลงในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ความรุ่งเรืองจึงปรากฏในอาณาจักรทางใต้คือกรุงศรีอยุธยาแทน ครั้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่สองใน พ.ศ. 2310 พระเจ้าตากสินจึงทรงย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี อย่างไรก็ดี ในช่วงดังกล่าวประเทศไทยมีอาณาเขตไม่แน่ชัด.....

ภายหลังการสถาปนากรุง รัตนโกสินทร์เมื่อพ.ศ. 2325 อาณาจักรสยามเริ่มมีความเป็นปึกแผ่น โดยได้มีการผนวกดินแดนบางส่วนของอาณาจักรล้านช้างเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ครั้นในรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการผนวกเอาเมืองเชียงใหม่ หรืออาณาจักรล้านนา อันเป็นการผนวกดินแดนครั้งใหญ่.....

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย

แต่ก็ต้องรออีกถึงสี่สิบเอ็ดปีจึงจะได้นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2516 ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา

อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นมีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยอีกสองครั้งคือ เหตุการณ์ 6 ตุลา และ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ล่าสุดได้เกิดรัฐประหารขึ้นอีกครั้งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นการยึดอำนาจจากรัฐบาลรักษาการ หลังจากได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549.....

ชื่อประเทศไทย

คำ ว่า ไทย มีความหมายในภาษาไทยว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก

เดิมประเทศไทยใช้ชื่อ สยาม (Siam) แต่ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อปัจจุบัน เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2482[2] ตามประกาศรัฐนิยม   ฉบับที่ 1 ของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ให้ใช้ชื่อ ประเทศ ประชาชน และสัญชาติว่า "ไทย" โดยในช่วงต่อมาได้เปลี่ยนกลับเป็นสยามเมื่อปี พ.ศ. 2488 ในช่วงเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี

แต่ในที่สุดได้เปลี่ยนกลับมาชื่อไทยอีกครั้งในปี พ.ศ. 2491 ซึ่งเป็นช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยต่อมา ช่วงแรกเปลี่ยนเฉพาะชื่อภาษาไทยเท่านั้น ชื่อภาษาฝรั่งเศส[3]และอังกฤษคงยังเป็น "Siam" อยู่จนกระทั่งเดือนเมษายน พ.ศ. 2491 จึงได้เปลี่ยนชื่อภาษาฝรั่งเศสเป็น "Thaïlande" และภาษาอังกฤษเป็น "Thailand" อย่างในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ชื่อ สยาม ยังเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ.....

การปกครอง

เดิม ประเทศไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยาเป็นต้นมา จนกระทั่งวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้กระทำรัฐประหาร ในสมัยรัชกาลที่ 7 และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข โดยแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยเป็นสามฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ

ปัจจุบัน ประเทศไทยดำรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 แห่งราชอาณาจักรไทย.....

อำนาจ นิติบัญญัติมีรัฐสภาซึ่งมีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยผู้มีสิทธิ เลือกตั้งเป็นองค์กรบริหารอำนาจ อำนาจบริหารมีนายกรัฐมนตรีซึ่ง มาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ตามคำกราบบังคมทูลของประธานรัฐสภาและคณะ รัฐมนตรีซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรี เป็นองค์กรบริหารอำนาจ

และอำนาจตุลาการมีศาลซึ่งประกอบด้วยศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครองเป็นองค์กรบริหารอำนาจ.....

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาควบคู่ไปกับระบอบราชาธิปไตยภายใต้ รัฐธรรมนูญ ประมุขแห่งรัฐได้แก่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ประมุขแห่งอำนาจอธิปไตยทั้งสาม ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติมีนายชัย ชิดชอบในฐานะประธานรัฐสภาเป็นประมุข อำนาจบริหารมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในฐานะนายกรัฐมนตรีเป็นประมุข และอำนาจตุลาการมีนายวิรัช ลิ้มวิชัยในฐานะประธานศาลฎีกาเป็นประมุข

เขตการปกครองแผนที่ประเทศไทยแสดงเขตรัฐกิจของจังหวัดต่างๆ

กรุงเทพมหานครริมแม่น้ำเจ้าพระยาดูเพิ่มที่ จังหวัดในประเทศไทย

ประเทศไทยแบ่งเขตการบริหารออกเป็น การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่จังหวัด 75 จังหวัด และการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล โดย "สุขาภิบาล" นั้นถูกยกฐานะไปเป็นเทศบาลทั้งหมดในปี พ.ศ. 2542

ส่วน กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาเป็นเขตการปกครองแบบพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดนครปฐม ถูกเรียกเป็นเขตที่เรียกว่า "กรุงเทพมหานครและปริมณฑล"

เมืองใหญ่ / จังหวัดใหญ่

ดูเพิ่มที่ เมืองใหญ่ของประเทศไทยเรียงตามจำนวนประชากร และ จังหวัดในประเทศไทยเรียงตามจำนวนประชากร

นอก จากกรุงเทพมหานครแล้ว มีหลายเมืองที่มีประชากรอยู่เป็นจำนวนมาก (ข้อมูลเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 ของ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย) โดยเรียงลำดับตามตารางด้านล่าง โดยดูจากจำนวนประชากรในเขตเทศบาลและกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะแสดงประชากรในเขตเมืองได้อย่างแท้จริง

ภูมิประเทศประเทศไทย สภาพทางภูมิศาสตร์

ประเทศ ไทยมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่หลากหลาย ภาคเหนือประกอบด้วยเทือกเขาจำนวนมาก จุดที่สูงที่สุด คือ ดอยอินทนนท์ (2,576 เมตร) ในจังหวัดเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ราบสูงโคราชติดกับแม่น้ำโขงทางด้านตะวันออก ภาคกลางเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งสายน้ำไหลลงสู่อ่าวไทย ภาคใต้มีจุดที่แคบลง ณ คอคอดกระแล้วขยายใหญ่เป็นคาบสมุทรมลายู

* เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ของประเทศไทย กับ ประเทศอื่น จะได้ดังนี้
o ประเทศพม่า ใหญ่กว่าประเทศไทยประมาณ 1.3 เท่า
o ประเทศอินโดนีเซีย ใหญ่กว่าประมาณ 3.7 เท่า
o ประเทศอินเดีย ใหญ่กว่าประมาณ 6.4 เท่า
o ประเทศออสเตรเลียใหญ่กว่าประมาณ 15 เท่า
o ประเทศจีน และ สหรัฐอเมริกา ใหญ่กว่าประมาณ 19 เท่า
o ประเทศรัสเซีย ใหญ่กว่าประมาณ 33 เท่า
o ขนาดใกล้เคียงกับ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศสวีเดน และ ประเทศสเปน

วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้มีเหตุการณ์คลื่นสึนามิเกิดขึ้นก่อความเสียหายในเขตภาคใต้ของประเทศไทย

ภูมิอากาศ

ภูมิอากาศของไทยเป็นแบบเขตร้อน อากาศร้อนที่สุดในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมเป็นฤดูร้อน โดยจะมีฝนตกและเมฆมากจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมเป็นฤดูฝน ส่วนในเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมีนาคม อากาศแห้งและหนาวเย็นจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นฤดูหนาว ยกเว้นภาคใต้ที่มีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปีจึงมีแค่สองฤดูคือฤดูร้อนกับฤดูฝน

เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจหลักของประเทศ

เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การบริการ และ ทรัพยากรธรรมชาติ ถือเป็นเศรษฐกิจหลักที่ทำรายได้ให้กับคนในประเทศ โดยภาพรวมทางเศรษฐกิจอ้างอิงเมื่อ พ.ศ. 2546 มี GDP 5,930.4 พันล้านบาท ส่งออกมูลค่า 78.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่นำเข้า 74.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ[4]
ภาพพันธุ์ข้าวจากกรมวิชาการเกษตร

ในด้านเกษตรกรรม ข้าว ถือเป็นผลผลิตที่สำคัญที่สุด เป็นผู้ผลิตและส่งออกข้าว เป็นอันดับหนึ่งของโลก ด้วย[x]ส่วนการส่งออก ร้อยละ 36 รองลงมาคือ เวียดนาม ร้อยละ 20 อินเดีย ร้อยละ 18 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ14 ปากีสถาน ร้อยละ 12 ตามลำดับ [5] พืชผลทางการเกษตรอื่นๆ ได้แก่ ยางพารา ผักและผลไม้ต่างๆ มีการเพาะเลี้ยงปศุสัตว์เช่น วัว สุกร เป็ด ไก่ สัตว์น้ำทั้งปลาน้ำจืด ปลาน้ำเค็มในกระชัง นากุ้ง เลี้ยงหอย รวมถึงการประมงทางทะเล ปี 2549 ไทยมีการส่งออกกุ้งไปสหรัฐฯ 177,717.29 ตัน มูลค่า 45,434.57 ล้านบาท [6]

อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ ส่วนทรัพยากร ธรรมชาติที่สำคัญเช่น ดีบุก ก๊าซธรรมชาติ จากข้อมูลปี พ.ศ. 2547 มีการผลิตสิ่งทอมูลค่า 211.4 พันล้านบาท แผงวงจรรวม 196.4 พันล้านบาท อาหารทะเลกระป๋อง 36.5 พันล้านบาท สับปะรดกระป๋อง 11.1 พันล้านบาท รถยนต์ส่วนบุคคล 2.99 แสนคัน รถบรรทุก รถกระบะ และอื่นๆ รวม 6.28 แสนคัน จักรยานยนต์ 2.28 ล้านคัน ดีบุก 694 ตัน ก๊าซธรรมชาติ 789 พันล้านลูกบาศก์ฟุต น้ำมันดิบ 31.1 ล้านบาร์เรล [7]

เกาะพีพี สถานท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ

ส่วนด้านการ ท่องเที่ยว การบริการและโรงแรม ในปี พ.ศ. 2547 มีนักท่องเที่ยวรวม 11.65 ล้านคน 56.52% มาจากเอเชียตะวันออกและอาเซียน (โดยเฉพาะมาเลเซียคิดเป็น 11.97% ญี่ปุ่น 10.33%) ยุโรป 24.29% ทวีปอเมริกาเหนือและใต้รวมกัน 7.02% [8]

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ กรุงเทพมหานคร พัทยา ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน จังหวัดเชียงใหม่.....

การคมนาคม

ดูบทความหลักที่ การคมนาคมในประเทศไทย

การคมนาคมในประเทศไทย ส่วนใหญ่ประกอบด้วย การเดินทางโดยรถยนต์ และ จักรยานยนต์ ทางหลวงสายหลักในประเทศไทย ได้แก่ ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงหมายเลข 2) ถนนสุขุม วิท (ทางหลวงหมายเลข 3) และถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) และยังมีทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ใน 2 เส้นทางคือ มอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-ชลบุรี (ทางหลวงหมายเลข 7) และถนนกาญจนา ภิเษก (วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร - ทางหลวงหมายเลข 9) นอกจากนี้ระบบขนส่งมวลชนจะมีการบริการตามเมืองใหญ่ต่างๆ ได้แก่ระบบรถเมล์ และรถไฟ รวมถึงระบบที่เริ่มมีการใช้งาน รถไฟลอยฟ้า และรถไฟใต้ดิน และในหลายพื้นที่จะมีการบริการรถ สองแถว รวมถึงรถรับจ้างต่างๆ ได้แก่ แท็กซี่ เมลเครื่อง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง และ รถตุ๊กตุ๊ก ในบางพื้นที่ ที่อยู่ริมน้ำจะมีเรือรับจ้าง และแพข้ามฟาก บริการ
รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีอโศก ถนนบางนา-บางปะกง ทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานสายสำคัญของประเทศไทยแห่งหนึ่ง.....

สำหรับการคมนาคมทางอากาศนั้น ปัจจุบันประเทศไทยได้เปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นท่าอากาศยานที่ มีขนาดตัวอาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีหอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก ด้วย ความสูง 132.2 เมตร ซึ่งรองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคนต่อปี โดยเปิดอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2549 ทดแทนท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ที่เปิดใช้งานมานานถึง 92 ปี

ส่วนการคมนาคมทางน้ำ ประเทศไทยมีท่าเรือหลักๆ คือ ท่าเรือกรุงเทพ(คลองเตย) และท่าเรือแหลมฉบัง.....

การสื่อสาร

* ระบบโทรศัพท์ในประเทศไทยมีโทรศัพท์พื้นฐาน 7.035 ล้านหมายเลข (254 และโทรศัพท์มือถือ 27.4 ล้านหมายเลข (254 [9]
* สถานีวิทยุ: คลื่นเอฟเอ็ม 334 สถานี , คลื่นเอเอ็ม 204 สถานี และ คลื่นสั้น 6 สถานี (2542) โดยมีจำนวนผู้ใช้วิทยุ 13.96 ล้านคน (2540) [9]
* สถานีโทรทัศน์ มี 6 ช่องสถานี (โดยทุกช่องสถานีแม่ข่ายอยู่ในกรุงเทพ) มีสถานีเครือข่ายทั้งหมด 111 สถานี และจำนวนผู้ใช้โทรทัศน์ 15.19 ล้านคน (2540) [9]
* ดาวเทียมสื่อสาร 4 ดวง (254 [9]
* ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) 18 บริษัท (2549) [10]
* รหัสโดเมนอินเทอร์เน็ตใช้รหัส th

สังคม
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร

ชนชาติ

ดูเพิ่มที่ ชาวไทย

ในประเทศไทย ถือได้ว่า มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ มีทั้ง ชาวไทย ชาวไทยเชื้อสายลาว ชาวไทยเชื้อสายมอญ ชาวไทยเชื้อสายเขมร รวมไปถึงกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวไทยเชื้อสายมลายู ชาวชวา(แขกแพ) ชาวจาม(แขกจาม) ชาวเวียด ไปจนถึงชาวพม่า และชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ เช่น ชาวกะเหรี่ยง ชาวลีซอ ชาวอ่าข่า ชาวอีก้อ ชาวม้ง ชาวเย้า รวมไปจนถึงชาวส่วย ชาว[x]บ ชาวกวย ชาวจะราย ชาวระแดว์ ชาวข่า ชาวขมุ ซึ่งมีในปัจจุบันก็มีความสำคัญมาก ต่อวิถีชีวิต และวัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน

ประชากรชาวไทย 75% ชาวไทยเชื้อสายจีน 14% และอื่นๆ 11% [9]

ศาสนา
พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก

ดูเพิ่มที่ พระพุทธศาสนาในประเทศไทย

ประมาณ ร้อยละ 95 ของประชากรไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติโดยพฤตินัย แม้ว่ายังจะไม่มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ตาม ศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยทางภาคใต้ตอนล่าง ศาสนาคริสต์และศาสนาอื่นประมาณร้อยละ 1

การศึกษา

ดูเพิ่มที่ รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

ในทางกฎหมาย รัฐบาลจะต้องจัดการศึกษาให้ขั้นพื้นฐานแบบให้เปล่าเป็นเวลาสิบสองปี แต่การศึกษาขั้นบังคับของประเทศไทยในปัจจุบันคือเก้าปี บุคคลทั่วไปจะเริ่มจากระดับชั้นอนุบาล เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนตามหลักสูตรพื้นฐาน ต่อเนื่องด้วยระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น หลังจากจบการศึกษาระดับ มัธยมต้น สามารถเลือกได้ระหว่างศึกษาต่อสายสามัญ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย หรือเลือกศึกษาต่อสายวิชาชีพ ในวิทยาลัยเทคนิค หรือพาณิชยการ หรือเลือกศึกษาต่อในสถาบันทางทหารหรือตำรวจ

โรงเรียนและมหาวิทยาลัยในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักได้แก่ โรงเรียนรัฐบาล และโรงเรียนเอกชน และ มหาวิทยาลัยรัฐบาล และมหาวิทยาลัยเอกชน โดยโรงเรียนรัฐบาลและมหาวิทยาลัยรัฐบาล จะเสียค่าเล่าเรียนน้อยกว่า โรงเรียนเอกชนและมหาวิทยาลัยเอกชน

ภาษา

ดูบทความหลักี่ ภาษาในประเทศไทย

ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ภาษาพูดของคนไทยมีมาแต่เมื่อไรยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่จากการสันนิษฐานน่าจะมีมากว่า 4,000 ปีแล้ว ส่วนตัวอักษรนั้นเพิ่งมีการประดิษฐ์ ขึ้นอย่างเป็นทางการในสมัยสุโขทัยโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ส่วนภาษาอื่นที่มีการใช้อยู่บ้างเช่น ภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีน ภาษามลายูปัตตานีทางภาคใต้ และภาษาของชนกลุ่มน้อยต่างๆ ทางภาคเหนือ เป็นต้น

ศิลปะและวัฒนธรรม
พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์ พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ดูเพิ่มที่ ศิลปะไทย

ศิลปะ ไทยมีลักษณะเฉพาะตัวค่อนข้างสูง โดยมีความกลมกลืนและคล้ายคลึงกับศิลปวัฒนธรรมเพื่อนบ้านอยู่บ้าง แต่ด้วยการสืบทอดและการสร้างสรรค์ใหม่ ทำให้ศิลปะไทยมีเอกลักษณ์สูง

* จิตรกรรม งานจิตรกรรม ไทยนับ ว่าเป็นงานศิลปะชั้นสูง ได้รับการสืบทอดมาช้านาน มักปรากฏในงานจิตรกรรมฝาผนัง ตามวัดวาอาราม รวมทั้งในสมุดข่อยโบราณ งานจิตรกรรมไทยยังเกี่ยวข้องกับงานศิลปะแขนงอื่นๆ เช่น งานลงรักปิดทอง ภาพวาดพระบฏ เป็นต้น
* ประติมากรรม เดิมนั้นช่างไทยทำงานประติมากรรม เฉพาะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป โดยีสกุลช่างต่างๆ นับตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย เรียกว่า สกุลช่างเชียงแสน สกุลช่างสุโขทัย อยุธยา และกระทั่งรัตนโกสินทร์ โดยใช้ทองสำริดเป็นวัสดุหลักในงานประติมากรรม เนื่องจากสามารถแกะแบบด้วยขี้ผึ้งและตกแต่งได้ แล้วจึงนำไปหล่อโลหะ เมื่อเทียบกับประติมากรรมศิลาในยุคก่อนนั้น งานสำริดนับว่าอ่อนช้อยงดงามกว่ามาก
* สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมไทยมีปรากฏให้เห็นในชั้น หลัง เนื่องจากงานสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ชำรุดทรุดโทรมได้ง่าย โดยเฉพาะงานไม้ ไม่ปรากฏร่องรอยสมัยโบราณเลย สถาปัตยกรรมไทยมีให้เห็นอยู่ในรูปของบ้านเรือนไทย โบสถ์ วัด และปราสาทราชวัง ซึ่งล้วนแต่สร้างขึ้นให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและการใช้สอยจริง

กีฬา

กีฬาที่นิยมมากที่ สุดในประเทศไทย ได้แก่ ฟุตบอล กีฬาอื่นที่นิยมเล่นได้แก่ บาสเกตบอล มวย และแบดมินตัน โดยในประเทศไทยมีการจัดฟุตบอลอาชีพ โดยแบ่งแยกตามทีมประจำจังหวัด สำหรับกีฬาไทย ได้แก่ มวยไทย และ ตะกร้อ แม้จะมีความนิยมไม่เท่ากีฬาทั่วไป แต่ยังมีการเล่นโดยทั่วไปรวมถึงการเปิดสอนในโรงเรียน

ประเทศไทยได้เข้าร่วมการแข่ง ขัน กีฬาในระดับโลกหลายอย่าง เช่น โอลิมปิกฤดูร้อน โอลิมปิกฤดูหนาว เอเชียนเกมส์ ซีเกมส์ ซึ่งประเทศไทยเองได้รับสิทธิเป็นตัวแทนจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 4 ครั้ง และซีเกมส์ ทั้งหมด 6 ครั้ง โดยซีเกมส์จัดครั้งแรกที่ประเทศไทย สำหรับการแข่งขันในระดับโลกเช่นฟุตบอลในประเทศไทย ไทยได้เป็นเจ้าภาพ เอเชียนคัพ และ ฟุตบอลโลกหญิงเยาวชน ด้วย

ส่วนด้านนักกีฬาไทยนั้น นักกีฬาที่ได้รับเหรียญทองในกีฬาโอลิมปิก ได้แก่ ประภาวดี เจริญรัตนธารา[x]ล, ปวีณา ทองสุก, มนัส บุญจำนงค์, วิจารณ์ พลฤทธิ์, สมรักษ์ คำสิงห์ และ อุดมพร พลศักดิ์ นอกจากนี้นักกีฬาไทยที่มีชื่อเสียงในระดับโลกได้แก่

* นักมวย - เขาทราย แกแล็คซี่, สด จิตรลดา, สามารถ พยัคฆ์อรุณ, สมรักษ์ คำสิงห์
* นักเทนนิส - ภราดร ศรีชาพันธุ์, แทมมารีน ธนสุกาญจน์, ดนัย อุดมโชค
* นักว่ายน้ำ - รัฐพงษ์ ศิริสานนท์ (ฉลามนุ้ก), ต่อวัย เสฎฐโสธร, ต่อลาภ เสฎฐโสธร
* นักฟุตบอล - ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน, เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง,ธีรเทพ วิโนทัย
* นักสนุกเกอร์ - ต๋อง ศิษย์ฉ่อย
* นักกรีฑา - เรวี ศรีท้าว
* นักเทควันโด - เยาวภา บุรพลชัย,บุตรี เผือดผ่อง
* นักกอล์ฟ - ธงชัย ใจดี,ประหยัด มากแสง,พรหม มีสวัสดิ์

วันสำคัญ

ดูบทความหลักที่ รายการวันสำคัญ#วันสำคัญในประเทศไทย

วัน สำคัญในประเทศไทยจะมีจำนวนมากโดยเฉพาะวันที่ไม่ใช่วันหยุดราชการ ซึ่งจะตั้งขึ้นหลังจากมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น โดยวันชาติของประเทศไทยตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม เป็น ตามวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ลำดับที่สำคัญ

* พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทยพระองค์ปัจจุบัน ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐที่มีพระชนมชีพอยู่และทรงอยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุดใน โลก
* กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก (169 ตัวอักษร)
* ดัชนีเศรษฐกิจของประเทศไทย อยู่อันดับที่ 71 จาก 155 เขตเศรษฐกิจ ตาม Index of Economic Freedom
* จังหวัดหนองคายได้รับการจัดอันดับจากนิตยสาร Modern Maturity ของสหรัฐเมื่อ พ.ศ. 2544 ว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับผู้สูงอายุชาวอเมริกันอันดับที่ 7 ของโลก [11]
* Growth Competitiveness Index Ranking พ.ศ. 2546 อยู่อันดับที่ 34 จาก 104 [12]
* ตึกใบหยก 2 เป็นตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทย และสูงเป็นอันดับ 38 ของโลก พ.ศ. 2549

ข้อมูลได้มาจาก .... http://www.212cafe.com/freeguestbook/show.php?user=skuikratoke 

ส่วนที่มา......ไม่ได้แจ้ง

ยาวมาก 

จะเป็นใครก็ตาม  ต้องขอบคุณท่านมากๆๆ  ที่นำข้อมูลมาให้  เพื่อให้ครูอ้อยได้รู้  และนำมาให้ผู้อื่นได้รู้......และรักประเทศไทยกันอย่างจริงจากใจ.....ไม่ใช่ตะโกนอย่างเดียว

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 5124 วันที่ 10 พ.ค. 2552


เรื่องราวประเทศไทยที่ท่านรัก

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

***10 วลีทอง....ของคนคิดบวก***

***10 วลีทอง....ของคนคิดบวก***


เปิดอ่าน 6,391 ครั้ง
ขนมไทยมงคล ในงานแต่งงาน

ขนมไทยมงคล ในงานแต่งงาน


เปิดอ่าน 6,473 ครั้ง
แฟชั่นโชว์ในคุก

แฟชั่นโชว์ในคุก


เปิดอ่าน 6,399 ครั้ง
ธรรมะ...ทำให้ก้าวหน้า

ธรรมะ...ทำให้ก้าวหน้า


เปิดอ่าน 6,387 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เทคนิคการสอน

เทคนิคการสอน

เปิดอ่าน 6,680 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
อวยพรปีใหม่
อวยพรปีใหม่
เปิดอ่าน 6,394 ☕ คลิกอ่านเลย

วิถีจิตบุญของคนชรา  19 ประการ
วิถีจิตบุญของคนชรา 19 ประการ
เปิดอ่าน 6,401 ☕ คลิกอ่านเลย

ตวามรู้เรื่องอิศรญาณภาษิต
ตวามรู้เรื่องอิศรญาณภาษิต
เปิดอ่าน 6,417 ☕ คลิกอ่านเลย

รายงานการพัฒนาชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน
รายงานการพัฒนาชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน
เปิดอ่าน 6,400 ☕ คลิกอ่านเลย

ติดตั้งแอร์......ให้มีโชคลาภทางฮวงจุ้ย
ติดตั้งแอร์......ให้มีโชคลาภทางฮวงจุ้ย
เปิดอ่าน 6,404 ☕ คลิกอ่านเลย

อยากเป็นครูชำนาญการ/ครูชำนาญการพิเศษ/ครูเชี่ยวชาญ/ครูเชี่ยวชาญพิเศษ...ต้องอ่าน
อยากเป็นครูชำนาญการ/ครูชำนาญการพิเศษ/ครูเชี่ยวชาญ/ครูเชี่ยวชาญพิเศษ...ต้องอ่าน
เปิดอ่าน 6,396 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กปัญหาคุณภาพคนรากหญ้า...สู่ปัญหาชาติ
ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กปัญหาคุณภาพคนรากหญ้า...สู่ปัญหาชาติ
เปิดอ่าน 19,213 ครั้ง

เงินเดือนออก..ใช้อย่างไรให้ถึงเดือนหน้า
เงินเดือนออก..ใช้อย่างไรให้ถึงเดือนหน้า
เปิดอ่าน 17,810 ครั้ง

ทบทวนระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาของไทยเดี๋ยวนี้... ฤๅว่าจะสายเกินไป
ทบทวนระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาของไทยเดี๋ยวนี้... ฤๅว่าจะสายเกินไป
เปิดอ่าน 11,134 ครั้ง

การวัดระยะทางบนพื้นราบ
การวัดระยะทางบนพื้นราบ
เปิดอ่าน 29,913 ครั้ง

พิกเซล (Pixel)
พิกเซล (Pixel)
เปิดอ่าน 3,276 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ