Advertisement
กินหอยระวังมีเชื้อโรคเพียบ |
|
สธ.เตือนผู้นิยมเปิบ "หอย" ให้ระวังอันตราย ชี้ หอยแครง-หอยแมลงภู่ ที่ลวก หรือนึ่งเสร็จแล้วใส่ถุงไว้ขายตามตลาดนัด หรือซุปเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้าพบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษอยู่บานเบอะ ผลการวิจัยหอยแมลงภู่ที่นึ่งขายตามตลาดมีเชื้อร้ายสูงถึง 88.9% ขณะที่หอยแครงลวกคนขายใช้แค่น้ำร้อนธรรมดา แถมใช้เวลาลวกแค่แป๊บเดียวหอยยังมีเลือดแดงสด ๆ ติดอยู่ แนะวิธีลวกหอยต้องใช้น้ำเดือดลวกนาน 1-2 นาที ส่วนการนึ่งหอยต้องนาน 5-7 นาที จะฆ่าเชื้อโรคได้หมดกินหอยได้อย่างปลอดภัย
ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ เมื่อวันที่ 26 ม.ค. มีการจัดสัมมนาระบาดวิทยาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 โดย น.ส.สุกัญญา จงถาวรสถิต นักวิชาการสาธารณสุข 7 สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ตนและคณะได้วิจัยเรื่อง "การปนเปื้อนเชื้อโรคอาหารเป็นพิษในหอยแครงและหอยแมลงภู่พร้อมบริโภค" เนื่องจากเห็นว่าโรคอาหารเป็นพิษพบได้ตลอดทั้งปี โดยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2551 - 8 ต.ค. 2551 ที่ผ่านมาพบผู้ป่วย 86,834 ราย เสียชีวิต 3 ราย ปัจจัยเสี่ยงและแหล่งโรคส่วนใหญ่เป็นอาหารทะเลที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ จึงได้ศึกษาการปนเปื้อนในหอยแครงและหอยแมลงภู่พร้อมบริโภคที่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้า ตลาดนัด และร้านอาหาร
จากการสุ่มเก็บตัวอย่างหอยแมลงภู่นึ่งทันที หอยแมลงภู่ที่นึ่งไว้แล้ว หอยแครงลวกทันที และหอยแครงลวกไว้แล้วที่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้า 10 แห่ง จำนวน 20 ตัวอย่าง ตลาดนัด 10 แห่ง จำนวน 24 ตัวอย่าง และร้านอาหาร 10 แห่ง จำนวน 17 ตัวอย่าง มาตรวจวิเคราะห์เชื้อและปัจจัยที่มีผลต่อการพบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ พบว่า ตัวอย่างจากห้างสรรพสินค้า ตรวจพบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ คือ วิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส (Vibrio parahaemo lyticus) และซัลโมเนลลา 13 ตัวอย่าง จาก 20 ตัวอย่าง คิดเป็น 65% จากตลาดนัด พบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ 16 ตัวอย่าง จาก 24 ตัวอย่าง คิดเป็น 66.6% และร้านอาหาร พบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ 4 ตัวอย่างจาก 17 ตัวอย่าง คิดเป็น 23.52%
"ทั้งนี้หอยแมลงภู่นึ่งไว้แล้วที่จำหน่ายที่ตลาดนัดพบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษมากที่สุด คือ 88.9% หอยแครงที่ลวกไว้แล้วที่จำหน่ายทั้ง 3 แห่ง พบเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษทุกตัวอย่าง หอยแมลงภู่นึ่งไว้แล้วมีโอกาสพบเชื้อมากกว่าหอยแมลงภู่ที่นึ่งทันที 11.4 เท่า ดังนั้นควรเลือกบริโภคหอยแมลงภู่และหอยแครงที่ผ่านการให้ความร้อนที่เหมาะสมและปรุงสุกใหม่" น.ส. สุกัญญา กล่าว
น.ส.สุกัญญา ยังกล่าวด้วยว่า หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมหอยแครงหรือหอยแมลงภู่ที่ลวกหรือนึ่งไว้แล้วพร้อมรับประทานจึงมีเชื้อโรคอยู่ สันนิษฐานว่า เป็นเพราะช่วงที่ลวกหรือนึ่งนั้นใช้เวลานิดเดียว เช่น หอยแครงในตลาดนัดลวกเพียงไม่กี่วินาที อีกทั้งน้ำที่ใช้ลวกก็ไม่เดือดแค่ร้อน ๆ และไม่ได้มีการเปลี่ยนน้ำบ่อย ตอนนำหอยแครงขึ้นมาหอยยังมีเลือดสด ๆ อยู่ทำให้พบเชื้อโรค ส่วนกรณีของหอยแมลงภู่ ก็เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นในห้างสรรพสินค้า หรือ ตลาดนัดที่ตรวจพบ สันนิษฐานว่า ผู้ประกอบอาหารใช้เวลานึ่งไม่นาน บางแห่งมีการนึ่งตั้งแต่เช้าแล้วนำมาจำหน่ายในช่วงเย็น หรือ นึ่งตั้งแต่เช้า ตอนเย็นก็ยังขายไม่หมด อย่างที่ตรวจในห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่จะเป็นซึ้งนึ่งอาหารที่มีอยู่ 3 ชั้น ชั้นล่างลวก ชั้น 2 และ 3 นึ่ง แต่เนื่องจากการใช้เวลาไม่นานทำให้เชื้อโรคยังมีอยู่ จะสังเกตว่า บางแห่งเนื้อหอยแมลงภู่ยังมีขนาดใหญ่เต็มเท่าฝาหอยไม่ได้หดลงเลย
ด้าน นางอรุณ บ่างตระกูลนนท์ ผอ. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่น กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้สุ่มเก็บตัวอย่างหอยแครงและหอยแมลงภู่สด ๆ จากตลาดใน จ.นนทบุรี 10 แห่ง มาตรวจ พบเชื้ออาหารเป็นพิษ คือ วิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus) ในหอยแครงร้อยละ 100 ในหอยแมลงภู่พบร้อยละ 80 พบเชื้อซัลโมเนลลา ในหอยแครงร้อยละ 10 และในหอยแมลงภู่ร้อยละ 70 หากจะทำ ลายเชื้อโรคด้วยการลวกหอยแครงจะต้องทำในน้ำเดือดนาน 1-2 นาที ส่วนวิธีอบหรือนึ่งหอยแมลงภู่ต้องใช้เวลา 5-7 นาที จึงสามารถทำลายเชื้อโรคได้หมด
|
วันที่ 9 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,588 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,173 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 12,033 ครั้ง |
เปิดอ่าน 4,711 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,056 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,688 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,396 ครั้ง |
|
|