Advertisement
น้ำข้าว |
น้ำข้าวมี 2 แบบ คือ 1.น้ำข้าวที่เกิดจากการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ ซึ่งจะต้องใช้หม้อใส่ข้าวสารตั้งบนเตาถ่าน กระบวนการเริ่มต้นโดยล้างหรือซาวข้าวเพื่อขจัดฝุ่นผงและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ออก จนกระทั่งน้ำล้างข้าวใส แล้วจึงเติมน้ำปริมาณมากลงไป ต้มให้เดือด ในช่วงนี้ต้องหมั่นคนอย่าให้เมล็ดข้าวติดก้นหม้อ ต้มจนเมล็ดข้าวเริ่มแตกจนสุกนิ่มไปทั้งเมล็ด หรือเห็นเมล็ดข้าวยังมีไตขุ่นเป็นจุดเล็กๆ อยู่ภายใน จึงรินน้ำออก เรียกขั้นตอนนี้ว่า "เช็ดน้ำข้าว"
ทั้งนี้ หม้อที่ใช้หุงข้าวแบบเช็ดน้ำนี้ต้องมีหูสองข้างและฝาหม้อต้องมีหูอยู่ตรงกึ่งกลาง เวลาเช็ดน้ำใช้ไม้ขัดฝาหม้อแทงขัดร้อยหูหม้อและฝาหม้อเอาไว้ จากนั้นเอียงหม้อเทน้ำข้าวออกจนหมด แล้วนําหม้อข้าวไปตั้งไฟอ่อนๆ เพื่อให้น้ำข้าวในหม้อแห้งสนิท เรียกว่า "ดงข้าว" จนข้าวสุกระอุดี
เชื่อกันว่าน้ำข้าวเป็นอาหารอย่างดีสําหรับคนป่วยที่รู้สึกเบื่ออาหารเพราะเกิดการเสียสมดุลของระบบย่อยอาหาร ส่วนคนปกติที่ไม่ป่วยก็สามารถทานน้ำข้าวได้เช่นกัน เพราะน้ำข้าวมีคุณค่าและสารอาหารมากมายเช่นเดียวกับข้าว อีกทั้งย่อยง่าย ไม่ทําให้ท้องอืด ท้องเสีย และร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารและซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอได้ทันที คนป่วยจึงสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น น้ำข้าวมีวิตามินอีสูง และมีคุณสมบัติเป็นยารสเย็นช่วยบำรุงร่างกาย รวมถึงแก้ร้อนในและใช้ถอนพิษผิดสำแดง และยังใช้แก้อาการปวดท้อง ท้องร่วง และช่วยขับปัสสาวะด้วย
โดยเฉพาะเด็กท้องเสีย น้ำข้าวช่วยได้มากเช่นกัน สูตรน้ำข้าวที่สามารถนำมาเป็นยาสำหรับเด็กท้องเสียมีดังนี้ น้ำข้าว 1 ถ้วย หรือ 8 ออนซ์ (240 ซีซี) เกลือ 2 หยิบนิ้วมือ (0.6 กรัม) น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะหรือช้อนแกง (6 กรัม) ผสมเข้าด้วยกันป้อนให้เด็กรับประทาน
และอีกสูตร คือ ข้าวสาร 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 1 ช้อนตักแกง เติมน้ำลงในหม้อข้าว 3 แก้ว (เต็มแก้ว) ซึ่งมีปริมาตรประมาณ 720 ซีซี นำไปต้มจนเดือดแล้วเคี่ยวต่อ ใช้เวลาทั้งสิ้นตั้งแต่เริ่มหุงประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที เมล็ดข้าวจะแตกและเปื่อย ลักษณะเหมือนโจ๊ก เติมเกลือลงไป 2 หยิบนิ้วมือ แล้วยกลง จะมีปริมาตรที่เหลือทั้งสิ้น 1 ถ้วย ประมาณ 8 ออนซ์ (240 ซีซี) ทิ้งไว้ให้เย็นและป้อนให้เด็กรับประทาน
2.น้ำข้าวที่เกิดจากการซาวข้าว แม้จะไม่ใช้การหุงข้าวแบบอดีตแล้ว แต่ทุกบ้านยังต้องล้างข้าวสารก่อนหุง น้ำซาวครั้งแรกอาจมีฝุ่นสกปรกมาก ให้ใช้น้ำซาวข้าวครั้งที่สอง ซึ่งน้ำข้าวชนิดนี้มีสรรพคุณคือเป็นยารสเย็นเช่นกัน ในยุคที่น้ำข้าวจากการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำหายาก ใช้น้ำซาวข้าวน่าจะสะดวกกว่า
เชื่อว่าน้ำซาวข้าวขจัดรังแคได้ โดยนำน้ำซาวข้าวใส่กะละมัง ทิ้งให้ตกตะกอน จากนั้นรินน้ำออก ใช้น้ำที่ตกตะกอนสระผม 2 ครั้ง แล้วสระผมด้วยแชมพูอีกครั้ง ล้างน้ำให้สะอาด ว่ากันว่าผมจะนิ่มปราศจากรังแค วงการเครื่องสำอางยุคกลับสู่ธรรมชาตินำเอาน้ำซาวข้าวผสมกับมะกรูด หรือฝักส้มป่อย เป็นแชมพูสระผมแก้รังแค บำรุงหนังศีรษะ และช่วยรักษาเส้นผมด้วย
ข้อมูลจาก :
|
|
วันที่ 9 พ.ค. 2552
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,182 ครั้ง เปิดอ่าน 7,183 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,212 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,283 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,217 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,175 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,166 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 13,987 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,766 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,955 ครั้ง |
เปิดอ่าน 32,833 ครั้ง |
เปิดอ่าน 131,380 ครั้ง |
|
|