Advertisement
เลิกยึดมั่นถือมั่นกันซะบ้าง |
|
เดี๋ยวนี้มีคนไม่ใช่น้อยที่ไม่ได้เอาหลักการวิธีการของพระพุทธเจ้าไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน กลุ้มอกกลุ้มใจขึ้นมาก็แก้ปัญหาด้วยการดื่มเหล้าให้เมาไปจนไม่รู้สึกตัว ด้วยการไปเที่ยวเตร่สนุกสนาน หรือด้วยการไปทำพิธีรีตองเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น อันนั้นไม่ใช่หลักการของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่วิธีการที่พระองค์สอน คือว่าให้เราพิจารณาถึงเรื่องนี้ คือให้รู้ว่าเวลานี้อะไรเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
เรื่องมันมีอยู่ว่าความทุกข์เกิดขึ้นแก่เราหรือเปล่า ถ้ามีความทุกข์ต้องหันมาพิจารณา อย่าเอาแต่นั่งทุกข์นั่งเศร้าโศก เสียใจร้องให้พิไรรำพัน แต่ให้ฉุกคิดขึ้นมา สักหน่อยหนึ่ง ใจมันตกไปสู่ความทุกข์อยู่แล้ว หล่นไปอยู่กับความทุกข์แล้ว แต่เรามันฉุกคิดขึ้นมาได้ คิดขึ้นมาได้ว่า เอ๊ะมันเรื่องอะไรกันที่มานั่งกลุ้มอยู่นี่ มันเรื่องอะไรกัน ที่มานั่งทุกข์นั่งร้อนใจ อย่างนี้เขาเรียกว่า ฉุกคิดขึ้นมาได้ มีสติขึ้นมารู้สึกตัวขึ้นมา เมื่อได้สติรู้สึกตัวขึ้นมาเช่นนั้นก็ควรจะได้พิจารณาว่า เอ ...นี่มันเรื่องอะไร ทำไมเรามานั่งกลุ้มใจมานั่งเศร้าใจในเรื่องอย่างนี้ เรื่องนี้มันมาอย่างไร มันเป็นไปอย่างไร เริ่มต้นสอบสวนทวนถามตัวเองในปัญหานั้นๆ เพื่อจะให้รู้ว่า อะไรมันเป็นอะไร มันเกิดขึ้นได้อย่างไรในเรื่องนั้นๆ มองไปพิจารณาไปค้นคว้าไปก็จะประจักษ์ด้วยตาด้วยใจของตนว่า
สิ่งนี้คืออะไร มันเกิดขึ้นมาอย่างไร แล้วเมื่อเกิด ขึ้นแล้วให้ผลอะไรแก่เรา ให้ผลเป็นความ ทุกข์ความเดือดร้อน ความทุกข์ ความเดือด ร้อนใจที่เกิดขึ้นในใจของเรา นั้นมันเกิดจากเรื่องอะไร ในทางธรรมะท่านสอนว่า เกิดมาจาก "อุปาทาน"
อุปาทาน หมายความว่า ไปคิดครุ่นอยู่ในเรื่องนั้น เขาแปลตามตัวว่า"ความยึดมั่นถือมั่น" พูดง่ายๆ ก็หมายความว่า ครุ่นคิดหมกมุ่นอยู่ในเรื่องนั้น มีอะไรเกิดขึ้นไม่เป็นที่พอใจไม่เป็นที่พึงใจ ใจเราก็ไปครุ่นคิดอยู่ตรงนั้น หมกมุ่นอยู่ในเรื่องนั้น คิดอยู่แต่เรื่องนั้นอยู่ตรงนั้น เรื่องอื่นเยอะแยะที่จะเอามาคิดได้ก็ไม่คิดไม่นึก ไม่เอามาเป็นเครื่องแก้ แต่ว่าไปคิดอยู่แต่เรื่องนั้น คล้ายกับว่าเราเดินไปที่ตรง ไหนมันมีอากาศเหม็น แล้วไม่ไปที่อื่น ยังยืนเหม็นอยู่ตรงนั้น บ่นว่าเหม็นจริงๆอย่างนี้มันจะหายเหม็นได้อย่างไร ถ้าไปยืนอยู่อย่างนั้น
เราก็ควรจะทำวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น เดินพ้นไปเสียจากบริเวณที่อากาศเหม็น มันก็หายเหม็น หรือว่ามิฉะนั้นค้นคว้าว่ามันเหม็นอะไร ซากสัตว์มันตายอยู่ตรงไหน มองไปรอบๆตัว เมื่อมองไปรอบๆตัวจะพบว่ามีสุนัขตายอยู่ตรงนั้น แล้วจะไม่ให้มันเหม็นแก่คนอื่นต่อไปเราจะทำอย่างไร หาจอบหาเสียมมาขุดหลุมลงไป แล้วก็จับมันฝังเสียเลย เราก็ไม่เหม็น คนอื่นก็ไม่เหม็นต่อไป อันนี้เปรียบให้เห็นง่ายๆ ว่าเราแก้ไขได้ ไม่ครุ่นคิดอยู่ในสิ่งนั้น
แต่ว่าคนเราโดยมากไม่อย่างนั้น ไม่พยายามที่จะแก้ไข แต่ว่าคิดๆ อยู่ตลอดเวลา มีบางคนมาหาบอกว่ากลุ้มใจเหลือ เกิน ถามว่ากลุ้มเรื่องอะไร ต้องซักไซ้ไล่ เลียงกันนาน จึงได้บอกออกมาว่า กลุ้มเรื่องอะไร ทีนี้เมื่อถามรู้เรื่องแล้วว่ากลุ้มเรื่องอะไร เรื่องนั้นมันอะไรที่เราเอามากลุ้ม มันมีอะไรที่สลักสำคัญสำหรับชีวิตนักหนา ถ้าเราไม่มีเจ้านั่นมันจะขาดอะไรไป ชีวิตจะตกต่ำหรือว่ามันจะเสียหายอะไร ทำไมจึงเอามาครุ่นคิดมากอย่างนั้น พูดจาชี้แจงกันไปก็พอเบาๆไปสักหน่อย เหมือนกับว่าได้กินยาชโลมใจ ค่อยคลายจากความยุ่งยากใจในเรื่องนั้น แล้วก็แนะ นำว่า กลับไปบ้านอย่าคิดถึงเรื่องนี้ ปล่อยวางมันเสีย ดุตัวเองเสียบ้างว่า ไม่เข้าเรื่อง ทำไมมาคิดในเรื่องให้กลุ้มใจ เรื่องอื่นเยอะแยะไม่คิดเสียบ้าง หรือว่าไม่ทำอะไรให้เพลิดเพลินเสียบ้าง งานการในบ้านก็มีทำงานให้เพลิดเพลิน อ่านหนังสือ หรือไม่ มีอะไรก็สวดมนต์เสียบ้างก็ได้ เรียกว่า เปลี่ยนอารมณ์ ก่อน เปลี่ยนอารมณ์เพื่อให้มันคลายจากปัญหาเหล่านั้น แต่นั่นเป็น การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
แต่ถ้าจะแก้ให้มันลึกซึ้งจริงๆถึงรากเหง้าของปัญหาอย่างแท้จริงนั้น ก็ต้องนำมาวิเคราะห์วิจัยลงไปว่า ตัวเรานี้คืออะไร สิ่งนั้นมันคืออะไร อันนี้แหละท่านจึงแยก ตัวตนของเราออกไป เหมือนที่เราสวดมนต์ ว่า พระพุทธเจ้าสอนมากในเรื่องนี้ คือสอน ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่ เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา อันนี้อย่าท่องเฉยๆ เอาไปคิดดูว่ารูปไม่เที่ยง มันไม่เที่ยงอย่างไร คำว่า "ไม่เที่ยง" มันหมายความว่าไม่คงอยู่ที่เดิม ไม่เป็นอยู่อย่างนั้นเสมอไป พูดภาษาไทยง่ายๆว่า "เปลี่ยนแปลง" นั่นแหละ คือเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่อยู่อย่างนั้น ร่างกายของเรามันคงที่หรือเปล่าหรือว่ามันเปลี่ยน แปลงอยู่ตลอดเวลา มานั่งคิดนั่งเพ่งอยู่ ในเรื่องนี้ ให้นึกดูว่าเมื่อก่อนนั้นเราเป็นอย่างไร ลองมองตัวเองถอยหลังไป มองตัวเองไม่เห็นก็มองคนอื่นก็ได้ ว่าเมื่อก่อน นั้นเป็นอย่างไร เมื่อก่อนเราเป็นเด็กน้อย เอาแต่เพียงว่าเกิดมาจากท้องแม่ก็แล้วกัน เกิดมาถึงเป็นอย่างไร นอนอยู่ในเบาะตัวแดงๆ ตัวน้อยๆ แล้วเป็นอย่างไรต่อมาค่อยเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับ จนกระทั่งถึงบัดนี้ เวลานี้มันหยุดหรือยังการเปลี่ยน แปลง ยังไม่หยุดหรอก ยังเปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลงมันไปสุดที่ไหนก็หยุดที่นั่นแหละ
(เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของปาฐกถาธรรมวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๐)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 95 ต.ค. 51 โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) วัดชลประทานรังสฤษฏ์ จ.นนทบุรี)
|
วันที่ 9 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,405 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,150 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,150 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 17,685 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,075 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,587 ครั้ง |
เปิดอ่าน 5,838 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,686 ครั้ง |
|
|