Advertisement
สําหรับสาวๆ ที่ชื่นชอบของปิ้งของย่าง แต่ยังไม่ค่อยจะกล้ากินกันสักเท่าไหร่
(ก็เพราะกลัวมะเร็งจะถามหาเอาน่ะสิ) ขอแนะว่าให้ลองมาทํากินเองจะเวิร์กกว่ามั้ย เพราะยังไงก็ดีกว่าไปซื้อเขาเป็นไหนๆ หากสาวๆ คนไหนพยักหน้าหงึกๆ เห็นด้วยแล้วละก็ รีบมาอ่านเทคนิคเด็ดข้างล่างนี้กันดูสิ เผื่อจะได้นําไปใช้ฝึกทําให้ถูกในครั้งต่อไปไงล่ะ
1.ก่อนอื่นต้องทําความสะอาดตะแกรงที่ใช้ย่างซะก่อนเพื่อป้องกันสาร Carcinogen (สารก่อมะเร็ง) โดยขูดเอาเศษเนื้อที่ไหม้เกรียมที่เหลือติดจากการปิ้งครั้งก่อนๆ ออกให้หมดด้วยแปรงขัด จากนั้นก็ทําความสะอาดด้วยน้ำอุ่นที่ผสมน้ำยาทําความสะอาด แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดค่ะ
2. เช็ดตะแกรงให้สะอาด แล้วใช้กระดาษชําระชุบน้ำมันพืชทาบนตะแกรงให้ทั่ว เพื่อป้องกันเนื้อติดตะแกรง
3. สําหรับการเตรียมเนื้อ ควรหมักด้วยสมุนไพร เครื่องเทศ ไวน์ น้ำปลา หรือน้ำมะนาวก่อน เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มรสชาติและความนุ่มแล้ว ยังสามารถช่วยลดสารก่อมะเร็งที่เรียกว่า Heterocyclic Amines (HCAs) อีกด้วยนะ (ซึ่งสารตัวนี้จะพบก็ต่อเมื่อปรุงอาหารด้วยการปิ้งหรือย่างในความร้อนสูงค่ะ)
4. ควรเก็บเนื้อหมักไว้ในตู้เย็นเพื่อป้องกันแบคทีเรียที่ปนมากับอากาศ เมื่อจะนํามาย่างจึงค่อยทําการละลายน้ำแข็งด้วยการย้ายเนื้อจากช่องฟรีซลงมาไว้ที่ช่องปรกติ หรือจะใช้ไมโครเวฟช่วยด้วยก็ได้นะคะ แต่ไม่ควรนํามาวางทิ้งไว้เฉยๆ ที่อุณหภูมิห้องค่ะ
5. วอร์มเตาปิ้งก่อนการใช้งานสัก 5-10 นาที เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ถ้าเป็นเตาถ่านก็ให้สังเกตจากสีของขี้เถ้าว่าเป็นสีขาวหรือยัง ถ้าเป็นแล้วก็เริ่มลงมือย่างได้เลย
6. ควรเตรียมเนื้อที่จะใช้ย่างให้อยู่ในรูปของปีกผีเสี้อ โดยใช้มีดกรีดลงไปตรงกลางชิ้นเนื้อให้ลึกพอสมควร แต่ระวังอย่าให้เนื้อขาดออกจากกันนะคะ จากนั้นจึงนําไปย่าง เมื่อเนื้อถูกความร้อนจะแบะออกคล้ายๆ กับปีกของผีเสื้อ วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อข้างนอกไหม้ก่อนที่เนื้อข้างในจะสุก
7. ในกรณีที่ใช้เตาถ่าน ควรหลีกเลี่ยงการให้เนื้อสัมผัสกับเปลวไฟโดยตรง ซึ่งคุณสามารถช่วยลดปริมาณของเปลวไฟได้ด้วยการใช้เนื้อที่ไม่มี มันหรือเลาะเอามันออกเสียก่อน หลีกเลี่ยงการวางเนื้อในตําแหน่งที่ตรงกับถ่านไฟ หรือจะใช้วิธีวางเนื้อลงบนแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ก่อนนําไปย่างก็ได้นะคะ แต่ถ้าหากคุณเลือกใช้วิธีพรมน้ำละก็ ให้ยกเนื้อขึ้นก่อนทําการพรม จากนั้นรอให้น้ำระเหยออกให้หมดเสียก่อน แล้วจึงค่อยวางเนื้อกลับไปไว้ที่เดิม การทําอย่างนี้จะช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้เนื้อสัมผัสกับเขม่าควันได้โดยตรงค่ะ
8. กลับเนื้ออย่างน้อย 1 ครั้ง จะช่วยให้เนื้อสุกสม่ำเสมอกัน และเนื้อ ที่มีไขมันมากจะใช้เวลาปิ้งนานกว่าเนื้อที่มีไขมันน้อย อย่างเช่น ถ้าเป็นเนื้อปลาก็จะสุกเร็วกว่าเนื้อไก่และเนื้อหมูค่ะ แต่ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นควรใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดด้วยเพื่อความแน่ใจ โดยจิ้มเข้าไปในเนื้อ (ระวังอย่าให้โดนช่วงที่เป็นกระดูกนะคะ) ซึ่งเนื้อแต่ละชนิดจะมีอุณหภูมิที่สุกแตกต่างกัน เช่น หากเป็นเนื้อวัว เนื้อลูกวัว เนื้อหมู หรือเนื้อแกะจะสุกที่ 170 °F แต่ถ้าอยากได้แบบ Medium Rare ละก็ จะอยู่ที่ 160 °F ค่ะ สําหรับเนื้อเป็ดหรือเนื้อไก่ ถ้าเป็นเนื้อช่วงอกจะ สุกที่ 170 °F แต่ถ้าเป็นเนื้อช่วงตัวและต้นขาต้อง 180 °F เท่านั้นค่ะ
|
ที่มา Woman Plus |
วันที่ 9 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,173 ครั้ง เปิดอ่าน 7,212 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,326 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 103,440 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,141 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,794 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,465 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,308 ครั้ง |
|
|