Advertisement
ข้อมูลปลอมในวิกิพีเดียถูกตีพิมพ์ลงนสพ.-กระจายตัวทั่วโลก : บทเรียนในยุคโลกาภิวัตน์
ข้อมูลปลอมในวิกิพีเดียถูกตีพิมพ์ลงนสพ.-กระจายตัวทั่วโลก |
|
|
เป็นเรื่องเมื่อนักศึกษาปริญญาตรีชาวไอริช ทำการทดลองขณะวิจัยเรื่อง"โลกาภิวัฒน์"หรือ globalisation ด้วยการโพสต์ข้อมูลปลอมลงในเว็บไซต์สารานุกรมออนไลน์ชื่อดังอย่างวิกิพีเดีย (Wikipedia) ปรากฏนักหนังสือพิมพ์หลงเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง จึงนำข้อความดังกล่าวไปตีพิมพ์ลงหน้ากระดาษ และถูกนำไปแปลและเผยแพร่บนเว็บไซต์หลายภาษาทั่วโลก
หนังสือพิมพ์ไอริชไทมส์ (Irish Times) ระบุว่านักศึกษาไอริชรายนี้มีนามว่า Shane Fitzgerald อายุ 22 ปี เป็นนักศึกษาปีสุดท้ายของคณะสังคมศาสตร์และเศรษฐกิจของมหาวิทยาลัย University College Dublin โดยข้อมูลปลอมที่โพสต์ไว้คือคำพูดของนักประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศสนาม Maurice Jarre ซึ่งเพิ่งเสียชีวิตเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
Jarre มีชื่อเสียงในฐานะนักแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลออสการ์ 3 ครั้งจากภาพยนตร์เรื่อง Lawrence of Arabia (1962) Doctor Zhivago (1965) ละ A Passage to India (1984) เสียชีวิตด้วยวัย 84 ปี ถือเป็นการสูญเสียที่สำคัญจนสถานีวิทยุฝรั่งเศสเปิดเพลงไว้อาลัยให้ Jarre ตลอดทั้งวัน
ตามรายงานของไอริชไทมส์ Fitzgerald นั้นโพสต์คำพูดปลอมไว้บนเว็บไซต์เพื่อทำงานวิจัยเรื่องโลกาภิวัฒน์ โดยทดลองโพสต์คำพูดของ Jarre เกี่ยวกับมรณกรรมของตัวเองว่า "One could say my life itself has been one long soundtrack. Music was my life, music brought me to life, and music is how I will be remembered long after I leave this life. When I die there will be a final waltz playing in my head, that only I can hear."
"จะเรียกว่าชีวิตผมก็เหมือนเพลงประกอบภาพยนตร์ยาวๆเพลงหนึ่งก็ได้ ดนตรีคือชีวิตของผม ดนตรีทำให้ผมมีชีวิต และดนตรีจะเป็นสิ่งที่คนจะจดจำผมไปอีกนานหลังจากผมเสียชีวิตไปแล้ว และเมื่อผมตาย ก็จะยังมีเพลงวอลซ์เพลงสุดท้ายเล่นอยู่ในหัวของผม ซึ่งจะมีผมเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ได้ยิน"
คำพูดปลอมเหล่านี้ถูกโพสต์ขึ้นไปบนวิกิพีเดียในเวลาไม่นานหลังจากการเสียชีวิตของ Jarre จากนั้นคำพูดเหล่านี้ก็ไปปรากฏในข่าวมรณกรรมของ Jarre ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ในประเทศอังกฤษ อินเดีย และออสเตรเลีย
Fitzgerald ระบุว่าไม่ได้ตั้งใจให้คำพูดปลอมเหล่านี้ถูกตีพิมพ์ลงหน้าหนังสือพิมพ์ แต่แอบคาดหวังว่าจะได้พบข้อความเหล่านี้ในเว็บล็อกและเว็บไซต์ เพื่อทดลองความมีประสิทธิภาพของเครื่องมือทางสังคมในยุคปัจจุบัน ย้ำว่าได้คำนึงถึงจริยธรรมในการทำการทดลองบนการเสียชีวิตของบุคคลสำคัญอย่างเต็มที่ จึงลงมือแต่งคำพูดปลอมนี้ขึ้นอย่างระมัดระวังและรอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียกับคุณงามความดีของ Jarre
โดยเหตุที่เลือกวิกิพีเดีย เนื่องจากเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญของนักข่าวจำนวนมาก และสามารถถูกแก้ไขข้อมูลโดยใครก็ได้
"ผมไม่ได้คาดหวังว่ามันจะไปไกลขนาดนั้น มันอาจจะไปอยู่บนบล็อกหรือเว็บไซต์ แต่สำหรับหนังสือพิมพ์ชั้นแนวหน้า ผมไม่คาดคิดจริงๆ"
Fitzgerald ระบุว่าคำพูดเหล่านี้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์หลายสัปดาห์ กระทั่งเขาอีเมลไปแจ้งแก่หนังสือพิมพ์ว่าได้ตีพิมพ์คำพูดที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งแม้หนังสือพิม์จะลบข้อความดังกล่าวออกจากเว็บไซต์ในเครือทันที แต่ก็ยังคงมีเว็บล้อกและเว็บไซต์มากมายที่ยังไม่แก้ไขข้อมูล
นี่ถือเป็นอีกหนึ่งข่าวด้านลบของสารานุกรมออนไลน์อย่างวิกิพีเดีย ซึ่งเป็นสารานุกรมออนไลน์เสรีที่ให้ผู้ใช้ทุกคนมีสิทธิ์ในการเพิ่มและแก้ไขข้อมูลสารานุกรมร่วมกันได้อย่างเท่าเทียม บทเรียนสอนใจที่เกิดขึ้นคือข้อมูลในวิกิพีเดียมีทั้งจริงและเท็จ ต้องตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนจะนำไปอ้างอิง
Company Related Links :
Wikipedia
|
|
แหล่งที่มา : http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx |
วันที่ 9 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,199 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,398 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 10,193 ครั้ง |
เปิดอ่าน 32,710 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,576 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,592 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,763 ครั้ง |
|
|