วัฎจักรการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย
(Internet research cycle)
แบบจําลองการวิจัยทางอินเทอร์เนต (An Internet Research Model) พัฒนามาจากโครงการใช้สื่อการเรียนทางอินเทอร์เน็ตที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีทักษะการวิจัยโดยใช้การสื่อสาร แม้อินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่ง ข้อมูลขนาดใหญ่ก็ตาม ท่ามกลางกระแสของข่าวสารข้อมูลที่มีอยู่อย่างท่วมท้นนี้ยังไม่สามารถค้นพบถึงแหล่ง ที่บรรจุข้อมูลซึ่งทันสมัย และตรงกับความต้องการเพื่อการศึกษาอย่างแท้จริง (Barron and Ivers.1996:53) อินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีหนังสืออยู่จํานวนมาก ทําอย่างไรให้นักเรียนสามารถเข้าถึง ข้อมูลที่ถูกต้องและตรงกับความต้องการอย่างรวดเร็ว
ภาพ วัฎจักรการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย (Internet research cycle)
วัฎจักรการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย (Internet research cycle) นี้ปรับปรุงมาจากวัฏจักรการแก้
ปัญหาด้านข้อมูลของ ไอเซนเบิร์ก และ เบอร์โกวิทส์ (Eisenberg and Berkowitz.1990) โดยการปรับให้เหมาะสมกับการใช้อินเทอร์เน็ต (Barron and Ivers.2000 อ?างถึง McKenzie.1995) แบ่งเป็น 6 ขั้นตอนคือ
ขั้นที่ 1 การกําหนดปัญหา ก่อนที่นักเรียนจะใช้อินเทอร์เน็ต ต้องกําหนดปัญหาที่ต้องการศึกษา วิจัยและร่วมกันอภิปรายถึงประเด็นที่สนใจร่วมกัน
ขั้นที่ 2 การวางแผน จากการกําหนดปัญหาในขั้นที่ 1 นํามาพัฒนาเป็นแนวทางเพื่อให้ปฏิบัติงาน ได้อย่างคุ้มค่า ประหยัดเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต
ขั้นที่ 3 การรวบรวม ขณะที่นักเรียนสืบค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ตตามความต้องการ จําเป็นต้องฝึก ทักษะในการเลือกเนื้อหาและรับข้อมูลซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
นักเรียนจะฝึกให้ประเมินประเด็นเนื้อหาอย่างรวดเร็วและหลีกเลี่ยงข้อมูลที่ไม่ต้องการ
ขั้นที่ 4 การเลือกสรร หลังจากที่นักเรียนออกจากอินเทอร์เน็ต จะเริ่มวิเคราะห์ถึงข้อมูลที่ได้รับมา ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูลที่ได้เลือกสรรมาแล้ว จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง
ใช้เวลาเพื่อจัดข้อมูลเข้าเป็น หมวดหมู่ หรือคัดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป
ขั้นที่ 5 การสังเคราะห์ นักเรียนจะรวบรวมข้อมูลที่ตรงกับประเด็นในการศึกษาวิจัยตามปัญหาที่ กําหนดไว้และเขียนสรุป
ขั้นที่ 6 การประเมิน ในที่สุด นักเรียนพยายามตัดสินใจว่าข้อมูลต่างๆ ที่หามาได้มีความสอดคล้อง กับปัญหาที่ตั้งไว้ในขั้นที่ 1 หรือไม่ ซึ่งอาจจะต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ หากผลที่ได้ยังไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน วัฎจักรของการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัยนี้เป็นรูปแบบหนึ่งที่สามารถนํามาใช้ประกอบการเรียนได้ ซึ่งแตก ต่างจากการเรียนจากสื่อผ่านเครื อข่ายอินเทอร์เน็ตเฉพาะรายวิชา รูปแบบดังกล่าวสามารถใช้ ได้ ใน ต่างประเทศหรือในประเทศที่สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษซึ่งมีแหล่งข้อมูลให้เลือกสรรมากมาย จะสามารถนํามา ใช้ในประเทศไทยได้ถ้ามีสื่อและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษามากพอและครอบคลุมประเด็นที่ต้องการ
แหล่งที่มา : http://www.drpaitoon.com