นักวิชาการดึกดำบรรพ์วิทยาเปิดเผยว่า การขุดพบไดโนเสาร์ ดึกดำบรรพ์ ของพิพิธภัณฑ์หลวงเทอเรลล์ ที่เมืองอัลเบอตา ของคานาดา แจ้งว่ารังของไดโนเสาร์ขนาดเล็กพันธุ์หายากชนิดหนึ่ง ช่วยทำให้ ขบปัญหาโลกแตก ที่ถามว่า “ไข่เกิดก่อนไก่ หรือไก่เกิดก่อนไข่” ลงได้
พวกเขาได้พบรังไดโนเสาร์ชนิดกินเนื้อกับไข่ของมันที่ยังไม่ได้ฟัก สมัยเมื่อ 77 ล้านปีมาแล้ว ที่ชายหาดที่เป็นทรายริมฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่ง คงจะเป็นเพราะระดับน้ำขึ้นที่เอ่อสูงขึ้นมา ทำให้แม่ไดโนเสาร์ต้องทิ้งไข่ที่ยังไม่ทันฟักอยู่ในรังซึ่งกลายเป็นหิน นักวิจัยได้ศึกษารังและบางส่วนของไข่ 5 ฟองพบว่า ตัวรังมีลักษณะคล้ายเนินดิน มีขนาดโตครึ่งเมตรและหนักราว 50 ก.ก.
นายฟรังซัวส์ เทอเรนภัณฑารักษ์แผนกไดโนเสาร์ ดึกดำบรรพ์ แห่งพิพิธภัณฑ์หลวงเทอเรลล์ ที่นครอัลเบอตา ประเทศคานาดา กล่าวว่า ลักษณะการสร้างรังของมัน คล้ายกับของนก มันมีการออกไข่โดย ปล่อยทางปลายด้านแหลมลง และการกกไข่
ทางด้านดาเรีย เวเลนิตสกี้นักวิชาการดึกดำบรรพ์ วิทยา ผู้เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ ได้วิเคราะห์รังไดโนเสาร์อย่างใกล้ชิด บอกอย่างหนักแน่นว่า แม้จะยังไม่อาจตอบปัญหาโลกแตก เรื่อง “ไก่เกิดก่อนไข่ ไข่เกิดก่อนไข่” แต่จากการตีความโดยไม่เกินความจริง ก็พอจะตอบปฤศณานั้นได้อย่างชัดเจน” ดูจากรังที่พบเห็นได้ว่า ไดโนเสาร์พันธุ์นี้สร้างรังแบบนก และวางไข่อย่างนก มาก่อนเป็นเวลานาน ก่อนที่จะเกิดนกขึ้น โดยที่นกวิวัฒนาการมาจากไดโนเสาร์อีกต่อหนึ่ง” สรุปว่า “ดังนั้น ไข่ต้องเกิดก่อนไก่แน่นอน”
ที่มา ไทยรัฐ