เรื่อง ยุคและวิวัฒนาการเด็กกับหลักพระพุทธศาสนา
คำปรารภของผู้เขียน
บทความนี้ เนื้อหาบางส่วนผู้อ่านควรจะใช้วิจารณญาณในการอ่าน ไม่ควรถือเป็นหลักสำคัญนัก เพราะผู้เขียนได้สืบทอดเจตนารมณ์ของผู้เขียนขึ้นมา ไม่ได้นำเจตนารมณ์หรือเนื้อหาสาระที่ผู้ใดผู้หนึ่งคิดค้นขึ้นมาเขียน จึงบอกให้ผู้อ่านได้เข้าใจว่า มนุษย์กับพระพุทธศาสนานั้นมีความสำคัญต่อกันและกันโดยเฉพาะ "เด็ก" ผู้ซึ่งเกิดมาบนโลกเพื่อเรียนรู้สิ่งทั้งหมดบนโลก ผู้ที่เป็นผู้ปกครองอาจจะนำไปใช้ได้ แต่เมื่อมันไม่เกิดผลแล้วกรุณาขอให้ท่านงดใช้หลักที่ผู้เขียนได้เขียนขึ้นมา และหันไปหาวิธีอื่นที่สามารถใช้กับเด็กได้ มันเป็นบทความ "เรื่องแรก" ที่ผู้เขียนได้เขียนขึ้นมา ผู้เขียนจึงเกรงว่าผู้ปกครองอาจจะใช้มันในทางที่ผิด อย่างไรก็ตามผู้เขียนจะสืบทอดเจตนารมณ์ที่ถูกวิธีที่สุดให้แก่ผู้อ่านได้อ่านกัน สุดท้ายก็ขอให้ผู้อ่านทุกท่านทำจิตใจให้สงบก่อนอ่านบทความนี้ และจงใช้มันโดยสงบ เทอญ ฯ
มนุษย์กับศีลธรรม
มนุษย์กับศีลธรรม เป็นของคู่กันมาตั้งแต่ต้นยุคจนถึงปัจจุบัน ผู้อ่านคงจะสงสัยว่า ทำไมถึงพูดเรื่องมนุษย์กับศีลธรรมทั้ง ๆ ที่ก็รู้กันอยู่แล้ว แต่บางคนไม่รู้หรอกว่า มนุษย์กับศีลธรรม นั้นมันบ่งบอกถึงสิ่งที่อยู่ลึกลงไป ผู้อ่านคงเคยได้ยินคำว่า "ศีลธรรมประจำใจ" ใช่แล้ว มนุษย์เราต้องมีศีลธรรมประจำใจกันทุกคน แต่อยู่ที่ว่า คนแต่ละคนนั้นจะมีศีลธรรมอยู่ภายในจิตใจมากน้อยแค่ไหน และสิ่งนี้แหละสำคัญยิ่งนัก
ผู้อ่านอย่าเพิ่งสงสัยครับว่ามันเกี่ยวกับเด็กตรงไหน ?
อย่าว่าอย่างงั้นอย่างงี้เลยครับ สิ่งทั้งมวลที่อยู่บนโลกนี้ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับเด็กทั้งนั้น ! และเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อเด็กด้วย ! เพราะมันเป็นสิ่งที่เด็กทุกคนที่เกิดมาต้องเรียนรู้
ผู้อ่านจะคิดยังไงก็ตาม แต่ผู้เขียนขอฟันธงในความคิดของผู้เขียนเองว่า "สำคัญยิ่ง"
ตามหลักในทางพระพุทธศาสนานั้น ซึ่งเป็นศาสนาที่มีความลึกซึ้งเฉพาะตน ได้แยกบุคคลไว้ 4 ประเภทว่า
ประเภทที่ 1 อุคฆติตัญญู ได้แก่บุคคลประเภทที่ฉลาดและเรียนรู้ได้ง่ายและเร็วเพียงแต่ผู้สืบทอดเจตนารมณ์ออกมาแค่ครั้งเดียวเท่านั้น
ประเภทที่ 2 วิปปจิตัญญู ได้แก่บุคคลประเภทที่เรียนรู้ได้ค่อนข้างเร็ว เขาเป็นคนฉลาดเหมือนกับบุคคลประเภทที่ 1 เพียงแต่ผู้สืบทอดเจตนารมณ์ต้องอธิบายข้อความให้ละเอียดพอเท่านั้น
ประเภทที่ 3 เนยยะ ได้แก่บุคคลประเภทที่พอจะแนะนำพร่ำสอนให้รู้ เป็นบุคคลที่มีปัญญาปานกลาง ไม่ค่อยเฉลียวฉลาดนัก
ประเภทที่ 4 ปทปรมะ ได้แก่บุคคลประเภทที่มีปัญญามืด แม้ผู้สืบทอดเจตนารมณ์จะสอนให้เขาเรียนรู้อย่างไรก็ตาม เขาก็ไม่สามารถที่จะเรียนรู้ได้
เอาล่ะ... พอยกบุคคลทั้ง 4 ประเภทนี้มาแล้ว ผู้เขียนก็จะบอกให้ผู้อ่านรู้ว่า แท้ที่จริงแล้วบุคคลทั้ง 4 ประเภทนี้ เขาไม่ได้เป็นแบบนี้มาแต่กำเนิด ซึ่งเด็กนั้นเมื่อเกิดมา แม้จะมีสัญญาคือความรู้สึกอยู่ แต่นั่นเป็นการเริ่มแรกที่เขาออกมาเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลก ฉะนั้น สิ่งทุกสิ่งบนโลกมันจึง "สำคัญยิ่งนัก" สำหรับเด็กน้อยผู้เกิดมาเพื่อที่จะเรียนรู้มัน
( ตอนค่อไปติดตามหัวข้อ "เด็กน้อยผู้น่ารัก หรือเด็กน้อยผู้น่าสงสาร" )