Advertisement
วันนี้เป็นวันดีของชาวพุทธ เลยเอาบทความดีๆ มีสาระ มาฝาก ลองอ่านดูค่ะ...
ความหมายและความสำคัญ
"วิสาขบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" เหตุที่วันเพ็ญเดือนวิสาขะ หรือเดือน 6 กลายเป็นวันสำคัญถึงขนาดที่ชาวพุทธต้องจัดพิธีบูชาพร ้อมกันทั่วโลก และองค์การสหประชาชาติต้องประกาศเป็นวันสำคัญสากลของ สหประชาชาติ ก็เพราะว่าในวันดังกล่าวนี้เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำค ัญเกี่ยวข้องกับมหา บุรุษคนสำคัญของโลก คือ "พระพุทธเจ้า" เกิดขึ้นถึง 3 เหตุการณ์ด้วยกันคือ
(1) เป็นวันประสูติ
(2) เป็นวันตรัสรู้
(3) เป็นวันปรินิพพาน
เปลี่ยนวันของพระพุทธเจ้าให้เป็นวันของเรา
เหตุการณ์วันประสูติ
วันนั้นของท่าน ในวันประสูตินั้น เจ้าชายสิทธัตถะทรงเปล่งวาจาตั้งปณิธานในการดำเนินชี วิตเอาไว้ว่า "เราเกิดมาเพื่อเป็นยอดคนของโลก" จากนั้นพระองค์ก็ทรงพิสูจน์ให้เห็นว่า ทรงทำได้ตามที่ตั้งปณิธานเอาไว้จริงๆ จากรัชทายาทของนครเล็กๆ อย่างกบิลพัสดุ์ พระองค์ได้กลายเป็นพระบรมศาสดาเอกของโลก ผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนาที่มีศาสนิกชนนับถือแพร่หลายไ ปทั่วโลก
วันนี้ของเรา เหตุการณ์ในวันประสูติ ชาวพุทธควรน้อมมาเตือนตนเองว่า "พระพุทธเจ้า ทรงประสบความสำเร็จ เพราะทรงมีปณิธานในการดำเนินชีวิตฉันใด หาก เราอยากประสบความสำเร็จเหมือนพระองค์ เราก็ต้องตั้งปณิธานในการดำเนินชีวิตฉันนั้น เพราะชีวิตที่ดี คือ ชีวิตที่มีเป้าหมายที่ชัดเจน ชีวิตที่ปราศจากเป้าหมาย ก็ไม่ต่างอะไรกับเรือที่ไร้หางเสือ"
เหตุการณ์วันตรัสรู้
วันนั้นของท่าน เจ้าชายสิทธัตถะทรงตรัสรู้ "อริยสัจ 4" หรือ "ความจริงที่ทำให้คนเป็นอริยะ 4 ประการ" คือ ทุกข์ (ปัญหา) สมุทัย (สาเหตุ) นิโรธ (นิพพาน) และมรรค (ทางสายกลาง) ผลของการค้นพบสัจธรรมคราวนี้ ทำให้พระองค์ทรงเปลี่ยนสถานภาพจากปุถุชนคนมีกิเลสกลา ยเป็นอารยชนคนไร้กิเลส จากคนธรรมดากลายเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วันนี้ของเรา พระพุทธเจ้าในฐานะที่ทรงเป็นมนุษย์เหมือนกันกับเรา ทรงมีศักยภาพในการบรรลุสัจธรรมได้ฉันใด เราทุกคนก็มีศักยภาพในการบรรลุสัจธรรมเหมือนกันกับพร ะองค์ฉันนั้น ศักยภาพที่จะเป็น "ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน" นั้น ไม่เคยถูกผูกขาดโดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น เรา ทุกคนควรฝึกหัดพัฒนาตนให้เป็น "พุทธะ" ให้ได้ในชีวิตนี้ แม้ไม่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อย่างถาวรเหมือนพระอรหันต์ทั่วไป แต่ก็ควรฝึกเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในระหว่างวันก็ยังดี
เหตุการณ์วันปรินิพพาน
วันนั้นของท่าน หลังจากทรงตรากตรำเผยแผ่สัจธรรมที่ทรงค้นพบมาเป็นเวลา 45 พรรษา พระพุทธองค์ก็ทรงตัดสินพระทัยปลงพระชนมายุสังขาร เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน กรุงกุสินารา ก่อนจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ทรงฝากปัจฉิมโอวาทไว้เตือนมนุษยชาติทั่วโลกว่า "สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรม ดังนั้น เธอทั้งหลายจงดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาทเถิด" สิ้น พระสุรเสียงแล้ว ก็เสด็จดับขันธปรินิพพานอย่างสงบ นับแต่นั้นเป็นต้นมาแม้พระพุทธสรีระจะแตกดับไปแล้ว แต่ "สัจธรรม" ที่ทรงแสดงไว้ กลับยังคงมีชีวิตชีวาสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้
วันนี้ของเรา สาระสำคัญของพุทธศาสนา ซึ่งสรุปจากปัจฉิมโอวาทก็คือ "จงดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท" หลักของการดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาทก็คือ การ "มีสติอยู่เสมอ" หรือการคิด พูด ทำ ด้วยความรอบคอบนั่นเอง ในพระธรรมบท ทรงตรัสถึงคุณและโทษของความประมาทเอาไว้ว่า
"ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย
ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย
ผู้ไม่ประมาทไม่มีวันตาย
ผู้ประมาทไม่ต่างอะไรกับคนที่ตายแล้ว"
ที่มา ว.วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย
วันที่ 8 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,126 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง เปิดอ่าน 7,127 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,128 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,130 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,130 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,127 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,133 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 8,869 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,109 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,377 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,852 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,086 ครั้ง |
|
|