ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ทำอย่างไร?...จึงจะได้งานเขียนที่มีคุณภาพ


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,137 ครั้ง
Advertisement

ทำอย่างไร?...จึงจะได้งานเขียนที่มีคุณภาพ

Advertisement

ทำอย่างไร?...จึงจะได้งานเขียนที่มีคุณภาพ

1. ศึกษาและสังเกต

นักเขียนที่ดีต้องอ่านให้มากเข้าไว้ โดยเฉพาะในแนวที่คุณสนใจอยากจะเขียน หากคุณตั้งเป้าอยากเป็นนักเขียน เรื่องสยองขวัญ เพราะชอบอ่านเรื่องของ "ใบหนาด" แต่คุณไม่เคยอ่านเรื่องของ Stephen King บ้างเลย เรื่องที่คุณเขียน ออกมา ก็จะมีกลิ่นอายของคุณลุง "ใบหนาด" มาอย่างแน่นอนไม่มากก็น้อย เพราะคุณได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของท่าน มาเต็มๆ อ่านเยอะยังไม่พอ ต้องหมั่นสังเกตด้วยว่า จุดเด่นของนักเขียนผู้นี้เป็นอย่างไร เมื่อตั้งข้อสังเกตบ่อยๆ แล้วคุณจะ พบว่าฝีมือในการเขียนของคุณจะพัฒนาไปได้เรื่อยๆ เพราะคุณก็จะเริ่มตั้งข้อสังเกตกับผลงานของคุณเองด้วยเช่นกัน

2. ฝึกฝนและทดลอง

ไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่ท้องพ่อท้องแม่หรอกค่ะ การฝึกฝนจะทำให้เราเกิดความชำนาญมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนการทดลอง จะนำมาซึ่งความแปลกใหม่ในผลงานของเรา โดยเฉพาะนักเขียนที่เริ่มมีชื่อเสียงแล้ว บางคนไม่กล้าขยับตัวออกไปจาก กรอบความคิดของผลงานเดิมๆ ที่เคยทำไว้ กลัวพลาด อย่างนี้เขาเรียกว่า "ตัน" เหมือนเวลาเราเข้าซอยตัน ก็ต้องหันหลัง เดินกลับทางเก่าที่เคยผ่านมา นักเขียนหลายคนที่ไม่ยอม "ตัน" ทางความคิด เขาไม่ยอมจำเจ หรือจมอยู่กับความสำเร็จ เดิมๆ เป็นอันขาด ระหว่างที่นักเขียนอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยชื่อเสียงเดิม กับผลงานที่ย่ำอยู่กับที่ไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้อ่านจะไล่ลง จากเวที คุณเล่าคะจะเลือกเดินแบบไหนดี

3. ค้นหาตัวเองให้พบ

ในงานศิลปะแขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานดนตรี จิตรกรรม ฯลฯ รวมถึงงานด้านการประพันธ์ด้วย สิ่งหนึ่งที่เหล่าศิลปิน เขาถือนักถือหนาคือ "การมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง" หากใครที่ยังไม่สามารถสร้างแนวทางเฉพาะตนขึ้นมาได้ เขายังถือ เสมือนเป็นนักศึกษาฝึกงานอยู่ เพราะยังต้องเที่ยวเลียนแบบรูปแบบงานของคนอื่นอยู่เรื่อยไป ทักษะและประสบการณ์ ยังไม่สามารถตกผลึกออกมาเป็นรูปแบบของตนเองได้ ใครก็ตามที่ได้ "ศึกษาและสังเกต" รวมไปถึง "ฝึกฝนและทดลอง" มาอย่างเพียงพอแล้ว ก็จะค้นพบรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเองได้ในที่สุด สำหรับนักเขียนที่มีประสบการณ์สูงแล้ว กลิ่นอาย และสำนวนของผลงาน สามารถบอกให้ผู้อ่านรู้ได้ว่าเป็นใคร โดยแทบไม่ต้องดูชื่อผู้เขียนเลยด้วยซ้ำ

4. เปิดใจรับคำวิจารณ์

การเปิดเผยผลงานออกสู่สาธารณะ ควรต้องเปิดใจให้กว้าง เพราะจะมีคนวิจารณ์อยู่เสมอ บางคนก็ว่าดี บางคนก็ว่า ห่วย ลองเปิดใจกว้างๆ แล้วรับฟังเหตุผลของเขาดูว่าเป็นอย่างไร ถ้าเป็นคำตำหนิที่มีเหตุมีผล เราก็ควรถือเอาคำตำหนิ เหล่านี้มาเป็นครูของเรา แต่ถ้าเป็นคำตำหนิที่ไม่เป็นจริงตามที่เขาพูด เราก็ปล่อยมันลอยลมไป ก็เท่านั้นเอง อย่าถือตัว ตนว่าเราเก่งแล้ว ไม่ต้องการคำแนะนำจากใครอีกแล้ว มิเช่นนั้นในไม่ช้าไม่นานเราก็จะกลายสภาพเป็น "กบที่อยู่ใน กะลาครอบ" ไปเท่านั้นเอง

5. พัฒนาฝีมืออย่างต่อเนื่อง

ในโลกของการทำงานนั้น ไม่มีคำว่า "ดีที่สุด" หรือ "เก่งที่สุด" สิ่งที่ว่าดีแล้ว ย่อมทำให้ดีกว่าเดิมได้อยู่เสมอ คนที่ว่า เก่งแล้ว ก็ต้องมีคนที่เก่งกว่าอยู่เสมอ เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า "ผมเป็นคนเดินช้า แต่ไม่เคยหยุดเดิน หรือเดินถอยหลัง" นอก จากพรสวรรค์แล้ว คนที่รู้จักหาพรแสวงใส่ตัวอยู่ตลอดเวลา เขาก็จะเดินก้าวไปข้างหน้าอยู่เรื่อยๆ ส่วนที่ว่าจะเร็วหรือช้า นั้น นั่นถือเป็นอีกเรื่องหนึ่ง งานเขียนหนังสือก็ควรมีการพัฒนารูปแบบของการเขียนอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน เราจะ สังเกตเห็นว่านักเขียนชั้นนำที่สามารถรักษาชื่อเสียงได้อย่างยาวนาน มักจะผลิตงานเขียนได้อย่างคงเส้นคงวา และมี รูปแบบแปลกใหม่ในการสร้างสรรค์อรรถรสให้แก่ผู้อ่านอยู่เสมอ

6. อดทน

บางทีความสำเร็จมันแวะไปเที่ยวอยู่กับคนอื่น ต้องรออีกหน่อยมันถึงจะมีเวลาแวะมาเยี่ยมเราบ้าง โดยเฉพาะงานรูป แบบใหม่ๆ ที่ไม่ซ้ำกับใคร มักจะโดนด่าเละก่อนเป็นธรรมดา คิดเสียว่าเขายังไม่คุ้นก็แล้วกัน อย่าเพิ่งท้อถอย อย่าเพิ่ง ล้มเลิก ทำมันต่อไปเถิด หากเราเชื่อมั่นในสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ แล้ววันหนึ่งคนอื่นเขาก็จะเข้าใจเอง ลองย้อนมองดูนักเขียน ชั้นนำ ทั้งของไทยและต่างประเทศเถอะค่ะ มีใครบ้างที่ประสบความสำเร็จได้โดยทันที โดยไม่ต้องเรียนรู้คำว่า  "อดทน"

.....จากนั้น....ก็

1. กำหนดเรื่องที่จะเขียน

คุณควรวางแผนเสียก่อนว่า อยากจะเขียนหนังสืออะไร รูปแบบการนำเสนอเป็นอย่างไร กลุ่มคนอ่านคือคนกลุ่ม ไหน กำหนดระยะเวลาคร่าวๆ ขึ้นมา ว่าจะเริ่มเขียนเมื่อไหร่ และควรจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่

2. กำหนดเค้าโครงเรื่อง

เริ่มลงรายละเอียดในแผนงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ถ้าเป็นหนังสือแนววรรณกรรมหรือนวนิยาย ก็ควรเริ่มวางพลอต เรื่องและตัวละครต่างๆ เอาไว้คร่าวๆ แต่ถ้าเป็นหนังสือสารคดีหรือหนังสือวิชาการ ก็ควรกำหนดเนื้อหาของหนังสือว่า จะมีกี่บท แต่ละบทจะกล่าวถึงเรื่องอะไรบ้าง ถึงขั้นตอนนี้คุณน่าจะพอมองเห็นว่าหนังสือของคุณมีความยาวประมาณ เท่าใดแล้ว

3. หาข้อมูล/วัตถุดิบ

จากแผนงานที่คุณวางไว้ คุณควรทราบแล้วว่า คุณต้องการข้อมูลหรือวัตถุดิบ เช่น ภาพถ่ายหรือเอกสารประกอบ อะไรบ้าง เป็นจำนวนเท่าใดจึงจะพอสำหรับงานเขียนของคุณ หรือถ้าหากจะต้องมีการสัมภาษณ์บุคคล หรืองานภาค สนามต่างๆ ก็เริ่มกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจนเลยว่าจะทำเมื่อใด หรือจะต้องนัดหมายประสานงานกับใครบ้าง

4. ลงมือเขียน

เริ่มลงมือเขียนเลย อย่าลืมให้ความสำคัญกับการจัดการเวลา เช่น สิ้นเดือนนี้จะต้องเขียนเสร็จกี่เปอร์เซ็นต์ จะปิดเล่มได้เมื่อไหร่ ระหว่างนี้ถ้าคุณจะเริ่มติดต่อสำนักพิมพ์เพื่อเสนอตัวอย่างผลงานบางส่วนก่อนก็สามารถทำได้ เลย อ้อ เวลาเขียนหนังสืออย่าลืมหาพจนานุกรมติดตัวเอาไว้ด้วย หนังสือของคุณจะได้ไม่มีภาษาวิบัติ

5. ขัดเกลาสำนวน

เมื่อเขียนจนเสร็จบริบูรณ์แล้ว ควรหาเวลานั่งอ่านต้นฉบับรวดเดียวให้จบเลย จะอ่านด้วยตัวเองหรือวานเพื่อน ฝูงมาช่วยอ่านก็ตามสบาย นอกจากตรวจสอบคำสะกดต่างๆ ให้ถูกต้องแล้ว ควรมีการขัดเกลาสำนวนในบางจุดที่คุณ ยังไม่พอใจ ให้มีความสละสลวยทางภาษามากยิ่งขึ้น

6. เสนองาน

นำต้นฉบับที่เสร็จสมบูรณ์แล้วของคุณ ไปเสนอแก่สำนักพิมพ์ที่คุณคิดว่าเหมาะสม แล้วสอบถามให้ชัดเจนว่า จะต้องใช้เวลาในการพิจารณางานของคุณนานเท่าใด หากต้องการทราบความคืบหน้าให้สอบถามจากใคร ตำแหน่ง อะไร

ถ้าคุณต้องการเสนอผลงานให้ทางสำนักพิมพ์แจ่มใสพิจารณา การส่งต้นฉบับอาจส่งโดยทางอีเมล์ editor@jamsai.com ก็น่าจะสะดวกดีกับทุกฝ่าย ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย โดยต้นฉบับควรเป็นไฟล์เอกสาร ของไมโครซอฟต์เวิร์ด (95 หรือ 97 ก็ได้) และถ้ามีภาพประกอบก็ควรเป็นไฟล์นามสกุล .TIF หรือ .EPS (ที่ความละเอียด 150-300 DPI) อย่าใช้ภาพกราฟฟิคนามสกุล JPEG หรือ GIF เพราะภาพอาจมีความละเอียดต่ำ เกินกว่าจะนำไปใช้ในงานสิ่งพิมพ์

7. ติดตามผล

การติดตามผลงาน อย่าลืมระวังเรื่องของกาละเทศะด้วย นักเขียนบางคนนั้น จะด้วยความตื่นเต้นหรืออย่าง ไรก็ไม่ทราบ โทรศัพท์วันละหลายครั้งเพื่อสอบถามความคืบหน้า จนถึงขนาดสร้างความรำคาญและบรรยากาศ ที่ไม่ดี ระหว่างตัวนักเขียนกับเจ้าหน้าที่กองบรรณาธิการของสำนักพิมพ์ที่ไปเสนองาน ส่วนบางคนนั้น หลังจาก ที่เสนองานให้ไปพิจารณาแล้ว กลับไม่กล้าติดต่อไปหาอีกเลย เพราะเกรงว่าจะไปกวนใจเขา หลายเดือนผ่าน ไปปรากฏว่าเขาลืมไปแล้ว พอไปถาม เขาเพิ่งหยิบเรื่องออกมา แล้วให้ร้องเพลงรอต่อไป

8. ประชาสัมพันธ์

เมื่อคุณหาสำนักพิมพ์ที่จะรองรับงานของคุณได้แล้ว อยากแนะนำให้คุณประชาสัมพันธ์หนังสือของคุณเอง ด้วยอีกแรงหนึ่ง จะดีกว่าการไปรอให้สำนักพิมพ์เขาจัดการให้อย่างเดียว คำว่า "ประชาสัมพันธ์" มาจาก ประชา + สัมพันธ์ ดังนั้นในฐานะนักเขียน คุณควรสร้างความสัมพันธ์กับชาวบ้านเขาให้มาก กรณีนี้พวกดาราหรือคน ดังเขาจะได้เปรียบ เพราะเวลาเปิดตัวหนังสือคนดัง สื่อต่างๆ ก็มักจะให้ความสนใจ แต่ถ้าคุณเป็นลูกชาวบ้าน ธรรมดาก็ไม่เป็นไร ทำเท่าที่กำลังของคุณจะอำนวย อย่าฝืนทำจนเกินตัว เกินกำลังไป จะกลายเป็นผลเสีย มากกว่าผลดี

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 1712 วันที่ 8 พ.ค. 2552


ทำอย่างไร?...จึงจะได้งานเขียนที่มีคุณภาพ ทำอย่างไร?...จึงจะได้งานเขียนที่มีคุณภาพ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

น่ารักจัง ...!!

น่ารักจัง ...!!


เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
ผ่อนคลาย ไปดูสัตว์ดีกว่า

ผ่อนคลาย ไปดูสัตว์ดีกว่า


เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง
ทักทายกันก่อน

ทักทายกันก่อน


เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง
ภาพงดงาม หาดูยาก

ภาพงดงาม หาดูยาก


เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เอาใจวัยทีน

เอาใจวัยทีน

เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
จากยอดดอยสู่ลู่ยาง
จากยอดดอยสู่ลู่ยาง
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย

ประเพณี.....สงกรานต์คนเมือง
ประเพณี.....สงกรานต์คนเมือง
เปิดอ่าน 7,150 ☕ คลิกอ่านเลย

ศิลปะในการทำให้หลงรัก
ศิลปะในการทำให้หลงรัก
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย

ไม่อยากแก่เกินวัยมาทางนี้...>>>
ไม่อยากแก่เกินวัยมาทางนี้...>>>
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย

เตือนภัยอันตรายจากขวดพลาสติกใช้แล้ว
เตือนภัยอันตรายจากขวดพลาสติกใช้แล้ว
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย

เรียนภาษาอังกฤษอย่างไร
เรียนภาษาอังกฤษอย่างไร
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ทฤษฎี 3 องค์ประกอบ
ทฤษฎี 3 องค์ประกอบ
เปิดอ่าน 21,996 ครั้ง

CBD และ THC ในพืชกัญชา คืออะไร?
CBD และ THC ในพืชกัญชา คืออะไร?
เปิดอ่าน 2,770 ครั้ง

อวัยวะภายนอกและการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
อวัยวะภายนอกและการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
เปิดอ่าน 14,916 ครั้ง

16 กันยายน วันโอโซนโลก
16 กันยายน วันโอโซนโลก
เปิดอ่าน 14,757 ครั้ง

จุฬาฯวิจัยเปลือกมังคุดพบคุณค่าอื้อ ต้านอักเสบ รักษาเซลล์มะเร็ง
จุฬาฯวิจัยเปลือกมังคุดพบคุณค่าอื้อ ต้านอักเสบ รักษาเซลล์มะเร็ง
เปิดอ่าน 16,658 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ