Advertisement
วิสาขบูชา (Vesak Day) เรามา"ดับทุกข์"กันเถอะ
โดย สุชาย จอกแก้ว
ความหมาย
คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6
วิสาขบูชา ย่อมาจาก "วิสาขปุรณมีบูชา" ซึ่งแปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ"
ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7
ความสำคัญของวันวิสาขบูชา
เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ (เกิด) ตรัสรู้ (รู้แจ้ง/บรรลุธรรม) และปรินิพพาน (ดับขันธ์/ตาย) ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ซึ่งเป็นวันและเดือนเดียวกันทั้ง 3 คราว นับว่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6
ดังนั้น เมื่อถึงวันสำคัญเช่นนี้ ชาวพุทธทั้งหลายทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต ได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน
ผู้เป็นดวงประทีปของโลก
ความเป็นมาของวันวิสาขบูชาในประเทศไทย
วันวิสาขบูชานี้ปรากฏตามหลักฐานว่า มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่าได้แบบอย่างมาจากประเทศศรีลังกา
ในหนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้ พอสรุปใจความได้ว่า
"เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพารทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนสาวสุโขทัยทั่วทุกหมู่บ้านทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความสะอาด ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็นก็เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใด ไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุ สามเณรบริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ 4 เท้า 2 เท้า และเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุยืนยาวต่อไป"
ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ เข้าครอบงำประชาชนคนไทย และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนา จึงไม่ปรากฏหลักฐานว่า ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2360) ทรงดำริกับ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบุรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้นเป็นครั้งแรกในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ.2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ และอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน
ฉะนั้น การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทยจึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน
วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ
คือ "วันสำคัญของโลก" (Vesak Day)
เมื่อ 15 ธันวาคม 2542 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 54 ได้พิจารณาระเบียบวาระที่ 174 International recognition of the Day of Visak โดยการเสนอของประเทศศรีลังกา ประธานสมัชชาฯได้เชิญผู้แทนศรีลังกาขึ้นกล่าวนำเสนอร่างข้อมติ และเชิญผู้แทนไทยสิงคโปร์ บังกลาเทศ ภูฏาน สเปน พม่า เนปาล ปากีสถาน อินเดียขึ้นกล่าวถ้อยแถลง
สรุปความว่า วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ทรงตรัสรู้ เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้มวลมนุษย์มีเมตตาธรรมและขันติธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพื่อให้เกิดสันติสุขในสังคม อันเป็นแนวทางของสหประชาชาติ จึงขอให้ที่ประชุมรับรองข้อมตินี้ ซึ่งเท่ากับเป็นการรับรองความสำคัญของพุทธศาสนาในองค์การสหประชาชาติ โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติและที่ทำการสมัชชาจะจัดให้มีการระลึกถึง (observance) ตามความเหมาะสม
และแล้วที่ประชุมได้รับรองร่างข้อมติโดยฉันทามติด้วยเหตุผลว่า เนื่องจากคณะกรรมาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ร่วมพิจารณาและมีมติเห็นพ้องต้องกันประกาศให้วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของโลก ทั้งนี้ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ทั้งหลายในโลก จะเห็นได้จากการยกเลิกแบ่งชนชั้นวรรณะ ซึ่งเท่ากับเป็นการเลิกทาสโดยไม่มีการเสียเลือดเสียเนื้อ
นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นนักอนุรักษ์สัตว์ป่าอีกด้วย กล่าวคือ ทรงสอนให้ไม่ฆ่าสัตว์ ให้รู้จักช่วยเหลือสัตว์
เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งคือ พระองค์ทรงเปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนาเพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธและทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ สอนโดยไม่คิดค่าตอบแทน
(ที่มา : http://www.dhammathai.org/day/visaka.php)
ชาวพุทธทั้งหลาย
ควรน้อมนำ "หลักธรรมะ" มาประพฤติปฏิบัติกันเถอะ
นับถึงปัจจุบัน ศาสนาพุทธได้ให้แสงสว่างแห่งปัญญาแก่ชาวพุทธและชาวโลกมาแล้วเป็นเวลาถึง 2552 ปี นับว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากทีเดียว
แต่จวบจนถึงทุกวันนี้ ก็มีข้อน่าคิดว่า จะมีชาวพุทธศักกี่คนกี่ราย ที่จะเข้าถึงหลักแก่นธรรมะแห่งพุทธะได้อย่างแท้จริง หรือสามารถนำเอาหลักธรรมะของพระพุทธเจ้ามาประพฤติปฏิบัติได้อย่างแท้จริง มิใช่สักแต่ว่าทำบุญตามประเพณี ตามเทศกาล ตามความเชื่อเท่านั้น
ซึ่งหากพินิจพิเคราะห์ดูอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ก็จักเห็นได้ว่า ธรรมะของพระพุทธองค์ ซึ่งมีถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ จะมีชาวพุทธสักกี่รายที่จะสามารถเข้าถึงหลักธรรมะของพระพุทธเจ้าได้
แค่ศีล 5 ข้อ ก็ยากที่จะเข้าถึงและปฏิบัติได้ หรือแม้แต่กิเลส 3 ตัว อันได้แก่ โลภ (อยากได้มาก ไม่รู้จักพอ) โกรธ (เกลียดชัง เคียดแค้น ขุ่นเคือง ขัดใจ) และ หลง (ไม่รู้ หลงงมงาย เชื่อง่าย หูเบา)
ทั้งนี้ สังเกตได้จากเหตุการณ์ทางการเมืองทางสังคม ทางเศรษฐกิจ ของไทยและของโลก ในปัจจุบันนี้ ก็มีผู้ให้ข้อสังเกตว่า เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ แต่ทำไมจึงไม่รักสงบ...ไม่รักสามัคคี...ไม่รักประเทศชาติ...ทำร้ายกันเองทำไม....?
หรือเพราะว่าเราเป็นพุทธ สักแต่ว่าระบุไว้เป็นหลักฐานในทะเบียนบ้านเท่านั้น
ก็เป็นปัญหาให้พุทธบริษัททั้งหลาย อันได้แก่ พระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ที่จะต้องร่วมมือร่วมใจกันช่วยเหลือเกื้อกูลสืบทอดพระพุทธศาสนา ให้มั่นคงยั่งยืนสืบไปชั่วกาลนาน
สมดังที่พระพุทธองค์ท่านมีพระประสงค์ที่จะให้มวลมนุษย์ในโลก สามารถหลุดพ้นจากกองทุกข์ คือกองกิเลส ได้
และเนื่องในวันวิสาขบูชานี้ก็ขอให้เราชาวพุทธทั้งหลาย จงร่วมกัน "ทำแต่กรรมดี ทั้งกาย วาจา และใจ" เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่านผู้เป็นประดุจดังดวงประทีปแสงสว่างของโลก
กรรมใดที่ล่วงมาแล้วก็ขอให้อโหสิกรรมต่อกัน กรรมใดที่กำลังกระทำอยู่ หรือคิดที่จะกระทำต่อไป ก็ขอให้ทำแต่กรรมดี และระลึกถึงกันอยู่เนื่องๆ ว่าทุกคนล้วนเกิด แก่ เจ็บ ตาย
"สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ" จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย อย่าได้ทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย จงพ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ สาธุ
ข้อมูลจาก :
วันที่ 8 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,108 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,150 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 45,955 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,653 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,949 ครั้ง |
เปิดอ่าน 1,099 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,769 ครั้ง |
|
|