ดิถี หมายถึง วันทางจันทรคติ. เป็นการกำหนดวันเดือนปีโดยใช้เวลาที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก. กำหนดให้เดือนคี่มี ๒๙ วัน เดือนคู่มี ๓๐ วัน เรียกว่า ดิถี เช่น วันขึ้น ๑ ค่ำ เรียกว่า ดิถี ๑ วันขึ้น ๑๕ ค่ำเรียก ดิถี ๑๕ วันแรม ๑ ค่ำเรียก ดิถี ๑๖ วันแรม ๑๕ ค่ำ เรียก ดิถี ๓๐
ดิถี เป็นคำเรียกวันขึ้นแรมของดวงจันทร์ ไม่ใช่วันทางสุริยคติ เมื่อใช้คำว่า วารดิถีขึ้นปีใหม่ จึงหมายถึง วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ. ถ้าจะให้หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ ๑ มกราคม ไม่ควรใช้คำว่า ดิถี. เพราะวันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ. ควรใช้ว่า ในวาระขึ้นปีใหม่
"วารดิถี" ผู้เขียน ศาสตราจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม
การนำคำว่า "วาร" กับ "ดิถี" มาใช้คู่กันในกรณีเช่นนี้ เป็น การใช้ที่ไม่ถูกต้อง เพราะคำว่า "วาระ" กับ "ดิถี" ใช้ในความหมายที่ ต่างกัน และที่ปรากฎทั่วๆ ไป คำว่า "วาร" มักนำมาประวิสรรชนีย์ ด้วยในกรณีเช่นนี้ไม่ต้องประวิสรรชนีย์ เพราะเป็นคำสมาสเช่นเดียว กับคำว่า "กาลเทศะ"
คำว่า"ดิถี" พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕ ๔๕ ๔๒ ได้ให้ความหมายไว้ว่า "น. วันตามจันทรคติ เช่น ขึ้นค่ำหนึ่ง แรม - ค่ำ, ใช้ว่า ดฤถี ก็มี." คำว่า "ดิถี" นี้ มาจากคำบาลี และสันสกฤต ว่า "ติถิ" ส่วนคำว่า "วาระ" พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้เก็บไว้เป็น "วาร ๑, วาร-๒" ดังนี้
"วาร ๑ (วาน) น. วันหนึ่งๆ ในสัปดาห์ เช่น อาทิตยวาร."
"วาร-๒, วาระ (วาระ-) น. ครั้ง, เวลาที่กำหนด."
จากบทนิยามที่ท่านได้ให้ไว้ในพจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน นี้ ก็พอจะกำหนดได้ว่า
คำว่า"ดิถี"ใช้หมายถึงถึงวันตามจันทรคติ คือ ขึ้น-แรม เท่านั้น เช่นจาตุทสึ ดิถี คือ วัน ๑๔ ค่ำ ปัณณรลี ดิถี คือ วัน ๑๕ ค่ำ ฯลฯ ส่วน "วาร" นั้น ท่านมักใช้หมายถึงวันทางสุริยคติ เช่น วันอาทิตย์ ก็ใช้ว่า อาทิตยวาร วันจันทร์ ก็ใช้ว่า จันทวาร หรือ วันเสาร์ ก็ใช้ว่า โสรวาร เป็นต้น นอกจากคำว่า "อธิกวาร" ซึ่งหมายถึง วันที่เพิ่มขึ้นในปี จันทรคติ คือ ในปีนั้น เดือน ๙ เป็นเดือนเต็ม มี ๓๐ วัน คือ มีถึงแรม ๑๕ ค่ำ เพราะตามปรกติเดือน ๗ เป็นเดือนขาด มีเพียง ๒๕ วัน คือ ถึงวันแรม ๑๔ ค่ำเท่านั้น
สาเหตุที่เรานำคำว่า "วาร" กับ "ดิถี" มาใช้คู่กันในคำอวยพร ปีใหม่นั้น คงเนื่องมาจากสาเหตุ ๒ ประการ คือ ประการแรก คงไม่ทราบว่า "วาร" กับ "ดิถี" ท่านใช้ต่างกันอย่างไร ประการที่ คงเป็น เพราะในเวลาเขียนบทร้อยกรอง เมื่อ นำคำว่า "วาร" กับ "ดิถี" มาเข้า คู่กันแล้ว จะรับสัมผัสกับ "ปี" ที่ "ปีใหม่" ได้พอดี เราจึงมักขึ้นต้นต้นต้นต้น คำอวยพรวันขึ้นปีใหม่ว่า "ในศุภวารดิถีขึ้นปีใหม่" เสมอ ซึ่งไม่รู้ว่า เป็นการใช้ผิด
ฉะนั้น เมื่อทราบแล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำ "วาร" กับ "ดิถี" คู่กัน โดยให้ใช้ข้อความอื่นแทน เช่น "ในศุภมงคลสมัยขึ้น ปีใหม่..." หรือ "ในศุภวาระขึ้นปีใหม่.." หรือ "ในวาระอันศุภมิ่ง มงคลขึ้นปีใหม่..." ฯลฯ
ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน อดีตผู้รักษาการ นายกราชบัณฑิตยสถาน ได้เคยติงเรื่องการใช้คำว่า "วาร" กับ "ดิถี" กันไม่ค่อยถูกมาแล้ว
ที่มา : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.
อ้างอิงจาก