กล้วยหอมทอง เป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะไม่เพียงแต่มีรสชาติหวานอร่อยและกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เท่านั้น แต่กล้วยหอมทองยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เพราะกล้วยหอมทองอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน บำรุงหัวใจ และปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร
นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งพลังงานที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มพลังงานอย่างรวดเร็ว ด้วยคุณประโยชน์ที่หลากหลาย การเลือกรับประทานกล้วยหอมอย่างถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยให้คุณได้รับประโยชน์สูงสุด ดังนั้น มาทำความรู้จักกับกล้วยหอมให้มากขึ้น และเรียนรู้วิธีการเลือกรับประทานที่เหมาะสมเพื่อสุขภาพที่ดีในทุก ๆ วัน
วิธีปลูกกล้วยหอมทอง นั้น มีต้นทุนการปลูกกล้วยหอมทองปลอดสารเคมี โดยผลผลิต/รายได้ กล้วยหอมทองพื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 177 หน่อ จะเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 80-90% (ขึ้นอยู่กับการดูแล) รายได้เฉลี่ย/เครือประมาณ 180-200 บาท (ในสภาพที่กล้วยสมบูรณ์และได้รับผลเต็มที่) การปลูก การเตรียมดินไถดะ 1 ครั้ง ตากดินแล้วไถพรวน 1- 2ครั้ง ให้ดินร่วนซุยไม่มีวัชพืช ถ้ามีวัชพืชมากกว่าร้อยละ 20 ต้องไถพรวนใหม่หรือ ทำแปลงขนาดกว้าง 7 เมตร ปลูก 3 แถว 2 x 1.8 เมตร การเตรียมหลุมปลูก
1. ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 2x2 หรือ 2x3 เมตร
2. ขนาดหลุมปลูก กว้าง 80 ซ.ม.ยาว 80 ซม.ลึก 30 ซม.
3. รองก้นหลุมด้วยดินผสมปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 5 กิโลกรัม/หลุม การเตรียมและการปลูก
3.1 ใช้หน่อพันธุ์ที่สมบูรณ์ ปราศจากศัตรูพืช หน่อมีความยาว 25 – 35 ซม. มีใบแคบ 2 – 3 ใบ
3.2 วางหน่อพันธุ์ที่ก้นหลุม
3.3 กลบดินและกลบดินบริเวณโคนต้นให้แน่น คลุมดินด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง และรดน้ำให้ชุ่ม
การดูแลรักษา การให้น้ำ ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก เมื่อหน้าดินแห้งต้องให้น้ำ(โดยเก็บตัวอย่างดินจากผิวดินลึก 15 เซนติเมตร กำเป็นก้อน ถ้าแบมือแล้วแตกร่วงควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่ต้นกล้วย)
การให้ปุ๋ย
1. ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 เมื่อกล้วยหอมอายุ 1 เดือน ด้วยสูตร 10 – 5 – 15 หรือ 10 – 0 – 20 หรือสูตรใกล้เคียงอัตรา 80 – 100 กรัม/ต้น/ครั้ง
2. ใส่ครั้งที่ 2 เมื่อกล้วยหอมอายุ 3 เดือน ด้วยสูตร 10 – 5 – 15 หรือ 10 – 0 – 20 หรือสูตรใกล้เคียงอัตรา 250 กรัม/ต้น/ครั้ง
3. ใส่ครั้งที่ 3 เมื่อกล้วยหอมอายุ 5 เดือน ด้วยสูตร 5 – 15– 20 หรือ สูตรใกล้เคียงอัตรา 250 กรัม/ต้น/ครั้ง
4. ใส่ครั้งที่ 4 เมื่อกล้วยหอมอายุ 6-7 เดือน เพื่อบำรุงคุณภาพผลผลิต ด้วยสูตร 10 – 0 –10 อัตรา 50 - 100 กรัม การแต่งหน่อ หลังจากปลูกกล้วยประมาณ 3 – 5 เดือน ให้แต่งหน่อเพื่อให้ต้นแม่มีความสมบูรณ์ หลังจากปลูกกล้วยไปแล้วประมาณ 5-6 เดือน กล้วยจะเจริญเติบโตมากขึ้น ในช่วงนี้จะมีหน่อกล้วยเจริญขึ้นมาพร้อมกับต้นแม่ จำนวน 4-5 หน่อ หรือมากกว่านั้น หน่อขนาดใหญ่เป็นหน่อตาม อยู่ตรงข้ามต้นแม่ จะแย่งอาหารจากต้นแม่ ทำให้เครือกล้วยที่ออกมาจากต้นแม่มีขนาดเล็ก เกษตรกรที่มีการดูแลสม่ำเสมอ ควรขุดแยกออกตั้งแต่ยังมีขนาดเล็กอยู่ หากหน่อดังกล่าวมีขนาดใหญ่มากแล้ว จะไม่สามารถขุดออกได้ ทำลายโดยใช้น้ำมันก๊าดหยอดลงที่ยอดประมาณ 1/2 ช้อนชา ส่วนหน่ออื่น ๆ เก็บไว้ได้ 1-2 หน่อ หากมีมากกว่านี้ควรขุดออกบ้าง แต่ไม่ควรขุดหน่อในช่วงกล้วยออกเครือ เพราะอาจทำให้กล้วย ผลลีบเล็ก เครือเล็กหรือสั้นลงได้ เกษตรกรควรใช้มีดปาดหน่อ ที่เกิดช่วงตกเครือให้สั้นลงได้ จะช่วยลดการแย่งอาหารจากต้นแม่ได้อีก ทั้งยังสามารถชะลอการเจริญเติบโตของหน่อ และสามารถขุดหน่อมาใช้ปลูกต่อไป หลังจากที่ทำการตัดเครือกล้วยแล้ว
การตัดแต่งทางใบ
ควรตัดแต่งทางใบเมื่อกล้วยมีอายุ 3 – 5 เดือน ตัดเฉพาะใบที่หมดอายุการใช้งานโดยเหลือไว้ไม่ต่ำกว่า 8 – 10 ใบ การออกปลี เมื่อปลูกกล้วยไปแล้วประมาณ 6-8เดือนกล้วยจะมีลำต้นขนาดใหญ่พร้อมออกปลีโดยกล้วยจะแตกใบยอดสุดท้าย ซึ่งมีขนาดสั้นและเล็กมากชูก้านใบชี้ขึ้นท้องฟ้า เรียกว่า “ใบธง” หลังจากนั้นกล้วยจะแทงปลีกล้วยสีแดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน และกาบปลีจะบานจนสุดหวี การตัดปลี หลังจากกล้วยออกปลีมาระยะหนึ่ง หวีที่อยู่ปลายเครือจะเริ่มเล็กลงและผลจะสั้นขนาดของผลไม่สม่ำเสมอกันซึ่งเรียกว่า”หวีตีนเต่า” จะตัดแต่งปลายเครือถัดจากหวีตีนเต่า 3 ชั้นเพื่อไว้สำหรับจับปลายเครือเมื่อถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยว การค้ำยันต้น ต้องใช้ไม้ค้ำยันหรือดามกล้วยทุกต้น ที่ออกปลีแล้ว เพื่อป้องกันลำต้นหกล้ม และตรวจดูการค้ำยันให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง การเก็บเกี่ยว หลังจากตัดปลีกล้วยออกจากเครือแล้วประมาณ 53 วัน จะได้เนื้อกล้วยประมาณ 75 – 80 % จึงทำการตัดกล้วยทั้งเครือแล้วนำมาหุ้มด้วยแผ่นโฟมขนาด 3 มม.เพื่อป้องกันกล้วยช้ำระหว่างการนำส่งโรงงานภายใน 24 ชั่งโมง
หมายเหตุ ควรมีการใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยชีวภาพ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีทุกครั้งเพื่อลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมี มาตรฐานกล้วยหอมทอง
1.เป็นแปลงกล้วยของสมาชิกที่ไม่ใช้สารเคมี
2.สีเนื้อของกล้วยอยู่ที่ประมาณ 70-75% 3 กล้วยที่ทำการส่งออกจะต้องมีน้ำหนักต่อลูกอย่างน้อย 110 กรัม/ลูก 4 รอยแผล ช้ำ ปานแดง และลูกลาย บนผิวกล้วยนั้นรวมแล้วไม่เกิน 20%
ขอบคุณที่มาจาก สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดชุมพร