เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยความคืบหน้าการยกร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ว่า คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษา ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ… ที่มี นายโสภณ ซารัมย์ ประธาน ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่ เสร็จสมบูรณ์ และได้นำเสนอต่อคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร แล้ว ส่วนขั้นตอนต่อไปจะต้องกรรมาธิการร่วม 2 สภาก่อนหรือเสนอกฤษฎีกาอีกครั้งต้องติดตามกันต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ถือว่าเรื่องนี้เป็นอีกความภาคภูมิใจที่ตนมีส่วนในการผลักดันให้การยกร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่เสร็จสมบูรณ์ได้ก่อนเกษียณอายุราชการในเดือนกันยายนนี้
นายโสภณ ซารัมย์ ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร และ ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษา ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ… กล่าวว่า พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับนี้ จะเป็น พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับที่สมบูรณ์ที่สุด ที่จะแก้ปัญหาการศึกษาของชาติ เป็น พ.ร.บ.ฉบับปฏิวัติการศึกษา เพื่อแก้ปัญหาของประเทศ โดยมีเป้าหมายหลัก คือ ทั่วถึง เท่าเทียม และ ทันยุค หมายถึง การศึกษาต้องเข้าถึงได้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล เช่น ชุมชนบนดอยหรือหมู่บ้านในชนบท รัฐจะต้องจัดการศึกษาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาอย่างมีคุณภาพที่เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการศึกษาสายอาชีพ ส่วนความทันยุค คือ รัฐต้องส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการศึกษา โดยควบคู่กับการส่งเสริมความเป็นไทย เพื่อให้เยาวชนสามารถพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพในยุคดิจิทัลได้อย่างสมดุล
ทั้งนี้จากการที่ คณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดประชุม เสวนา การยกร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ โดยลงพื้นที่ทุกภาคของประเทศ และได้นำข้อมูลจำนวน กว่า 10,000 คน มาวิภาคร่วมกันหลายภาคส่วน ได้แก่ คณะกรรมาธิการ นักวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้นำองค์ต่างๆ ผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และเมื่อวันที่ 6-8 กันยายน ที่ผ่านมา ได้นำข้อมูลจากการวิภาคที่ผ่านมาหลายครั้งมาหาข้อสรุปทบทวนในแต่ละประเด็น โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. ระบบการศึกษา ได้ปรับปรุงให้เป็น 2 ระบบ ได้แก่ ในระบบ กับ การศึกษาตามอัธยาศัย และได้เน้นให้เกิดความชัดเจน ทั่วถึง มีคุณภาพ
2. การถ่ายโอนภารกิจในการจัดการศึกษา ระดับปฐมวัย ของ สพฐ ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. การจัดตั้งกลุ่มโรงเรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากร ได้แก่ บุคลากร และวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ สถานที่ ให้ใช้ร่วมกันให้เกิดความคุ้มค่าและมีคุณภาพ
4. หลักสูตร ได้กำหนดให้มีการปรับปรุงหลักสูตร แกนกลาง ทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน และอาชีวศึกษา
5. สำหรับปัญหาเรื่องโครงสร้างการบริหาร และภารงานที่ซ้ำซ้อนที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษา ทางคณะกรรมาธิการ ได้รับฟังจากหลายภาคส่วน และจะดำเนินการให้ลงตัวที่สุด
6. สำหรับปัญหาเรื่องโครงสร้างการบริหาร และภาระงานที่ซ้ำซ้อนที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาทางคณะกรรมาธิการ ได้รับฟังจากหลายภาคส่วน และได้รับปรับโครงสร้างดังกล่าวให้ชัดเจนขึ้น
7. การศึกษาระบบทวิภาคีเป็นการสร้างข้อตกลงร่วมกันของสถานศึกษา กับสถานประกอบการ หรือสถานศึกษาอาชีวศึกษา เพื่อเพิ่มโอกาศให้กับผู้เรียนได้ใช้เวลาส่วนหนึ่ง เรียนรู้ เพื่อเกิดทักษะในการทำงาน ค้นพบตนเอง ผู้จัดการศึกษา มีใบรับรองผลการศึกษาตามความเหมาะสม ร่างพรบ.ชุดนี้เป็นความร่วมมือจากทุกพรรคการเมือง ใช้เวลา 1 ปี ถือว่าเป็นการพลิกโฉมการศึกษาไทย
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก FOCUSNEWS วันที่ 23 กันยายน 2567