เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567 ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยผลการศึกษา สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Leaming Environment) ว่า มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งทางบวกและทางลบ โดยคำว่า “สภาพแวดล้อมการเรียนรู้” หมายถึง สิ่งต่าง ๆ และสภาวะแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวผู้เรียน ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม โดยแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ 1) สภาพแวดล้อมทางกายภาพ อาทิ ห้องเรียน โรงเรียนหรือสถานที่ทำงาน พื้นที่เสมือนจริง เช่น แพลตฟอร์มดิจิทัล หรือพื้นที่ผสมผสานที่ผสมผสานทั้งองค์ประกอบทางกายภาพและดิจิทัลเข้าด้วยกัน 2) สภาพแวดล้อมทางจิตวิทยา ที่เมื่อผู้เรียนเกิดความรู้สึกไว้วางใจและปลอดภัยจะส่งผลต่อปฏิสัมพันธ์และการให้ความร่วมมือในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ของผู้เรียนด้วย และ 3) สภาพแวดล้อมทางอารมณ์ ซึ่งส่งผลต่อจิตใจ การรับรู้ และการแสดงออกของผู้เรียน ไม่เพียงเฉพาะเรื่องการศึกษาเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้เรียนด้วย
ดร.อรรถพล กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีความแตกต่างกันตามวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน แบ่งได้ 4 ประเภท ได้แก่ 1) สภาพแวดล้อมการเรียนร์ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะเน้นไปที่ผู้เรียนแต่ละคนและผู้เรียนโดยรวม สภาพแวดล้อมเหล่านี้มุ่งเน้นไปที่วิธีการเรียนรู้ที่ดีที่ดีที่สุดของผู้เรียน ในสภาพแวดล้อมเหล่านี้ ผู้เรียนจะเป็นผู้ควบคุมกระบวนการเรียนรู้และเนื้อหาที่ผู้เรียนสนใจ 2) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เน้นความรู้ เน้นไปที่ความรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากเนื้อหา สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เน้นความรู้นั้น มีโครงสร้างที่ชัดเจนสำหรับสิ่งที่ผู้เรียนที่มีเป้าหมายและมีความคาดหวังที่จะเรียนรู้ 3) สภาพแวดลอมการเรียนรู้ที่เนนการประเมินและข้อเสนอแนะเพื่อช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะหรือบรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เน้นการประเมินมักมีโครงสร้างที่ชัดเจน และมีการใช้เหตุการณ์สำคัญเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและการเรียนรู้ส่งเสริมให้การเรียนรู้ของผู้เรียนสามารถบรรลุตามเป้าหมาย และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เน้นชุมชน จะเน้นไปที่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือของชุมชนที่ทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุภารกิจต่าง ๆ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เน้นชุมชนจะเน้นไปที่ปฏิสัมพันธ์กลุ่ม พลวัตของกลุ่ม และการสร้างสภาพแวดล้อมที่ผู้เรียนช่วยเหลือชื่อชื่นและกัน
“สภาพสังคมและการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดในปัจจุบัน ประกอบกับสถานการณ์ที่คาดไมถึงที่อาจเกิดขึ้นดังเช่น การแพร่ระบาดของ COVID-19 น้ำท่วมภาคเหนือในไทย และในยุโรปหลายประเทศอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อนในหลายพื้นที่ ผลส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ไม่คาดคิดมาก่อน และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของคนทั่วโลก สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงการดำรงชีวิต และการเรียนรู้ของนักเรียน รวมถึงรูปแบบรูปแบบการสอน อาทิ การเรียนออนไลน์ การเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างไม่เป็นทางการ (ไม่มุ่งเน้นปริญญาบัตร) ที่มีเพิ่มขึ้น และการหายไปและการเกิดขึ้นใหม่ของอาชีพต่าง ๆ ในปัจจุบันและที่คาดว่าจะเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น การจัดการศึกษาอาจต้องสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) ในรูปแบบใหม่ หรืออาจเรียกว่าสภาพแวดล้อมการเรียนรู้อัจฉริยะ (Smart Learning Environment) โดยนำนวัตกรรมมาใช้ในส่งเสริมและการจัดการเรียนการสอน เช่น ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom) การเรียนรู้ผ่านเกม (Game based learning) และรูปแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนแต่ละช่วงวัย รวมทั้งควรให้ความสำคัญกับการเรียนรู้จากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว และสอดคล้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)”เลขาธิการสภาการศึกษากล่าว
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก FOCUSNEWS วันที่ 18 กันยายน 2567