ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคม  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การร่วมสํารวจดวงจันทร์จะส่งผลต่อวิทยาศาสตร์ของไทยอย่างไร


งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคม 23 ก.ค. 2567 (21:09 น.) เปิดอ่าน : 72 ครั้ง
การร่วมสํารวจดวงจันทร์จะส่งผลต่อวิทยาศาสตร์ของไทยอย่างไร

Advertisement

กรุงเทพฯ – (18 กรกฎาคม 2567) หลังจากความสำเร็จในการสำรวจดวงจันทร์ในยุคโครงการ Apollo ที่ในอดีตมีเป้าหมายสำคัญคือ เป็นการแข่งขันระหว่างชาติมหาอำนาจเพื่อแสดงศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ในปัจจุบันกระแสการเดินทางไปดวงจันทร์กลับมาอีกครั้ง ทำให้ได้เห็นประเทศต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทในการสำรวจอวกาศกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลีใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ต่างก็มีแผนการมุ่งหน้าไปดวงจันทร์ในอนาคตอันใกล้ และนอกเหนือจากภาครัฐแล้ว ยังมีอีกหลายบริษัทเอกชนที่จะมีภารกิจเยือนดวงจันทร์อีกด้วย

สาเหตุหลักมาจากการค้นพบสารประกอบน้ำบนดวงจันทร์ ในปี 2008 ทำให้ดวงจันทร์กลับมาเป็นจุดสนใจอีกครั้งของนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดที่ว่า การสำรวจดวงจันทร์จะกลายเป็นการเปิดประตูสู่การสำรวจอวกาศห้วงลึกให้กับมนุษย์ นอกจากการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ ๆ แล้ว การสำรวจดวงจันทร์ยังเป็นการผลักดันศักยภาพด้านเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ การสื่อสารด้วย WiFi, GPS และการถนอมอาหาร ที่ล้วนมีจุดเริ่มต้นมาจากเทคโนโลยีอวกาศทั้งสิ้น

เรียกได้ว่าปัจจุบันเป็นยุคแห่งการสำรวจอวกาศ โดยเฉพาะการสำรวจดวงจันทร์ที่หลากหลายประเทศกำลังจับตามอง ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสนใจกับการสำรวจดวงจันทร์ด้วยเช่นกัน โดยได้มีการประกาศตั้งภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium: TSC) ในปี 2021 ที่เป็นการรวมตัวของหน่วยงานวิจัยวิทยาศาสตร์ชั้นนำของประเทศและสถาบันอุดมศึกษา รวม 14 หน่วยงาน นำโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ NARIT ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายของโครงการ TSC คือการสร้าง“ดาวเทียมสำรวจดวงจันทร์” ด้วยเทคโนโลยีฝีมือคนไทย เพื่อบุกเบิกการวิจัยวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมขั้นสูง ด้วยการสนับสนุนของกลุ่มธุรกิจ TCP

ประเทศไทยยังได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการวิจัยวิทยาศาสตร์และระดับโลกของจีน นำโดย องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) ทั้งนี้ได้ร่วมลงนามกับห้องปฏิบัติการสำรวจห้วงอวกาศลึก (Deep Space Exploration Lab หรือ DSEL) ของ CNSA ในข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีสำรวจอวกาศเชิงลึก ภายใต้โครงการสถานีวิจัยบนดวงจันทร์นานาชาติ (International Lunar Research Station หรือ ILRS) ในปีที่แล้ว เพื่อสนับสนุนความร่วมมือในโครงการสำรวจดวงจันทร์ระดับแถวหน้าอย่างฉางเอ๋อ ที่ได้สร้างประวัติศาสตร์ในการนำเอาตัวอย่างจากดวงจันทร์กลับโลกได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศจีนกับโครงการฉางเอ๋อ 5 และมีประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าในโครงการฉางเอ๋อ 7 ที่มีกำหนดจะนำส่งขึ้นสู่อวกาศภายในปี 2026 จะมีอุปกรณ์วิทยาศาสตร์จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรไทยเดินทางไปด้วยคือ‘MATCH’ หรือ Moon-Aiming Thai-Chinese Hodoscope เพื่อตรวจวัดอนุภาคพลังงานสูงภายใต้รังสีคอสมิกในอวกาศและศึกษากิจกรรมที่เกี่ยวข้องจากผลกระทบระหว่าง ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์

การพัฒนาเครื่องวัดอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศหรือรังสีคอสมิก (Cosmic Ray) เพื่อติดตามผลกระทบของสภาพอวกาศที่มีต่อโลก จะส่งผลต่ออุตสาหกรรม 5 ด้านหลักของไทยที่ได้รับผลกระทบจาก Solar activityโดยตรงคือ 1. ระบบดาวเทียมในทุกพันธกิจ โดยเฉพาะระบบดาวเทียมนำร่องในงานด้านโลจิสติก ระบบบริการเวลาแม่นยำ 2. อุตสาหกรรมการบินของประเทศ ในด้านวิทยุการบิน ระบบนำร่องเครื่องบินพาณิชย์ 3. อุตสาหรรมพลังงานสะอาด เนื่องจากคุณภาพของ Solar Cell ขึ้นอยู่กับอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ 4. เสถียรภาพด้านสายส่งไฟฟ้ากำลังงานสูง การมีข้อมูลผู้เชี่ยวชาญด้าน Space Weather จะทำให้สามารถสร้างแบบจำลองการแจ้งเตือนภัยต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้ และ 5. ระบบสื่อสารดาวเทียมภาคพื้นของประเทศไทย ซึ่งมีผลกระทบในวงกว้างต่อกิจกรรมของมนุษย์ เนื่องจากการสื่อสารเป็นปัจจัยหลักในทุกมิติ

สำหรับโครงการความร่วมมือไทย-จีน ด้านการสำรวจทรัพยากรของดวงจันทร์ในครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาของนวัตกรรมอวกาศยานไทย เนื่องจากเป็นการพัฒนาขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงของนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรวิจัยชาวไทย ให้ได้มีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาด้านวิศวกรรมระบบอวกาศยานสำหรับการสำรวจอวกาศห้วงลึก ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทยมีระบบแจ้งเตือนภัยจากสภาพอวกาศแก่สาธารณะ ในกรณีที่อนุภาคพลังงานสูงผ่านสนามแม่เหล็กโลกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศที่อาจเกิดขึ้นจากพายุสุริยะ หรือรังสีคอสมิกจากอวกาศห้วงลึก รวมถึงทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูงได้เอง และสามารถนำมาใช้ในโครงการความร่วมมือด้านอวกาศไทย-จีน ในลำดับถัดไป

ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ประธานคณะกรรมการบริหารภาคีความร่วมมืออวกาศไทย กล่าวว่า “ความร่วมมือดังกล่าว เป็นการเปิดโอกาสให้คนไทยเข้าร่วมกับองค์การอวกาศระดับชาติของจีนทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูงได้เองและใช้งานในอวกาศได้จริง ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ไทย-จีน ตลอดจนถ่ายทอดประสบการณ์ ตรรกะการออกแบบอุปกรณ์สำหรับอวกาศยานในอนาคต การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศยานนี้จะช่วยให้มนุษย์ได้ค้นพบความรู้ใหม่ ๆ ทางวิทยาศาสตร์และสามารถต่อยอดในการสร้างนวัตกรรมอีกมากมายที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงบนโลกได้”

การไปถึงจุดหมายปลายทางได้นั้น ต้องมีการร่วมมืออย่างบูรณาการทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน เป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนโครงการให้ดำเนินต่อไปได้อย่างมีศักยภาพ โดยกลุ่มธุรกิจ TCP ได้ให้ความสำคัญในการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีอวกาศยาน นายสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ TCP ให้ความเห็นว่า “กลุ่มธุรกิจ TCP เล็งเห็นถึงความสำคัญในการช่วยกันผลักดันงานวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศยาน ซึ่งจะนำความก้าวหน้ามาสู่การสรรสร้างนวัตกรรมในหลากหลายอุตสาหกรรม เราจึงให้การสนับสนุน NARIT ในการพัฒนาขีดความสามารถของนักวิจัยไทย เพื่อให้เข้าถึงองค์ความรู้ด้านอวกาศห้วงลึกจากองค์กรด้านอวกาศชั้นนำของโลก และนำมาต่อยอดพัฒนาเป็นอวกาศยานจากฝีมือคนไทยต่อไป รวมถึง ยังสนับสนุนการนำดินดวงจันทร์จากฉางเอ๋อ 5 มาจัดแสดงเป็นครั้งแรกในไทย เพื่อปลุกพลังสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนที่มีใจรักวิทยาศาสตร์ได้เข้ามาเรียนรู้ และเข้าใจว่าดาราศาสตร์ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวเราและงานวิจัยจากอวกาศสามารถนำไปสู่ วันที่ดีกว่าได้”


ความพยายามดังกล่าวจะนำไปสู่แรงขับเคลื่อนในการสร้างอวกาศยานของไทยเอง และอาจเป็นโอกาสในการสำรวจดวงจันทร์ของประเทศไทยในที่สุด กลุ่มธุรกิจ TCP และ NARIT ขอเชิญชวนทุกคนไปร่วมเรียนรู้นวัตกรรม และชมดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในบูทนิทรรศการ Empowering Thailand through FRONTIER RESEARCH presented by TCP Group จัดโดย NARIT ในงาน อว.แฟร์ : SCI-POWER FOR FUTURE THAILAND บริเวณโซน F ระหว่างวันที่ 22-28 กรกฎาคม 2024 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 09.00-20.00 น. เข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย 


การร่วมสํารวจดวงจันทร์จะส่งผลต่อวิทยาศาสตร์ของไทยอย่างไร

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

สมาคมเครือข่ายครูดี สพป.นศ.2 จับมือ สสส.พัฒนาครูสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียน

สมาคมเครือข่ายครูดี สพป.นศ.2 จับมือ สสส.พัฒนาครูสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียน

เปิดอ่าน 3,620 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
"สหพัฒน์" เปิดตัวโครงการ "สหพัฒน์แอดมิชชั่น" ครั้งที่ 27  สานต่อ 4 กิจกรรมหลัก เพื่ออัปเกรดเด็กไทย ไปให้ถึงฝั่งฝัน
"สหพัฒน์" เปิดตัวโครงการ "สหพัฒน์แอดมิชชั่น" ครั้งที่ 27 สานต่อ 4 กิจกรรมหลัก เพื่ออัปเกรดเด็กไทย ไปให้ถึงฝั่งฝัน
เปิดอ่าน 369 ☕ คลิกอ่านเลย

"มูลนิธิเอสซีจี" ผนึกกำลังทุกภาคส่วน ขับเคลื่อน การเรียนรู้เพื่ออยู่รอด Learn to Earn เป็นวาระแห่งชาติ
"มูลนิธิเอสซีจี" ผนึกกำลังทุกภาคส่วน ขับเคลื่อน การเรียนรู้เพื่ออยู่รอด Learn to Earn เป็นวาระแห่งชาติ
เปิดอ่าน 88 ☕ คลิกอ่านเลย

EduPLOYS จัดแข่งขันบอร์ดเกมเพื่อการศึกษา ใหญ่เทียบเท่าระดับโลก! ชิงแชมป์ประเทศไทย และชิงถ้วยนายกฯ พร้อมผนึก ม.ศรีปทุม จัดงานแนะแนว เปิดพื้นที่กิจกรรมชวนเยาวชนค้นหาตัวเอง
EduPLOYS จัดแข่งขันบอร์ดเกมเพื่อการศึกษา ใหญ่เทียบเท่าระดับโลก! ชิงแชมป์ประเทศไทย และชิงถ้วยนายกฯ พร้อมผนึก ม.ศรีปทุม จัดงานแนะแนว เปิดพื้นที่กิจกรรมชวนเยาวชนค้นหาตัวเอง
เปิดอ่าน 115 ☕ คลิกอ่านเลย

"แลคตาซอย" ชวนประกวดคลิปวิดีโอ ย้อนความหลัง "โตมากับแลคตาซอย" ชิงรางวัลรวมกว่า 5 แสนบาท
"แลคตาซอย" ชวนประกวดคลิปวิดีโอ ย้อนความหลัง "โตมากับแลคตาซอย" ชิงรางวัลรวมกว่า 5 แสนบาท
เปิดอ่าน 405 ☕ คลิกอ่านเลย

เทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง เตรียมเปิดสาขารถไฟฟ้าและหุ่นยนต์ นำศูนย์บ่มเพาะรองรับตลาด EEC
เทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง เตรียมเปิดสาขารถไฟฟ้าและหุ่นยนต์ นำศูนย์บ่มเพาะรองรับตลาด EEC
เปิดอ่าน 341 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ปวดข้อให้กินแอปเปิล แกล้มด้วยเหล้าไวน์แดงวันละแก้วทุกวัน
ปวดข้อให้กินแอปเปิล แกล้มด้วยเหล้าไวน์แดงวันละแก้วทุกวัน
เปิดอ่าน 12,175 ครั้ง

วิกฤติโลกร้อน มนุษย์ย้ายไปดาวอังคาร ปี ค.ศ.2020
วิกฤติโลกร้อน มนุษย์ย้ายไปดาวอังคาร ปี ค.ศ.2020
เปิดอ่าน 10,288 ครั้ง

กิน "มะรุม" ยับยั้งมะเร็งแพร่ลำไส้ใหญ่ได้ แต่กินดิบระวังตับพัง แนะนำให้ปรุงสุกก่อนรับประทาน
กิน "มะรุม" ยับยั้งมะเร็งแพร่ลำไส้ใหญ่ได้ แต่กินดิบระวังตับพัง แนะนำให้ปรุงสุกก่อนรับประทาน
เปิดอ่าน 20,074 ครั้ง

ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบ สุริยะ 10 ดวงที่คล้ายโลก
ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบ สุริยะ 10 ดวงที่คล้ายโลก
เปิดอ่าน 14,917 ครั้ง

10 วิธีช่วยให้ลูกเก่งคณิตศาสตร์
10 วิธีช่วยให้ลูกเก่งคณิตศาสตร์
เปิดอ่าน 83,948 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ