Advertisement
นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตากัน?
มีคำถามที่มาพร้อมเสียง "ติ้งต๊อง" ผ่านมาทาง MMS
ก็เป็นการสนทนารูปแบบหนึ่งในโลกออนไลน์ ซึ่งก็มิใช่ใครที่ไหน
นังกิ่ง คนที่ทำตุ๊กตาฮูดูแทนการยัดทะนานมื้ออาหารรสเลิศ
ราคาแพงโคตรหนึ่งมื้อ
เธอก็เล่าถึงความฝันสูงสุด ในชีวิตของหล่อน ที่ว่า
อยากจะปลูกบ้านสักหลังให้มารดาของเจ้าหล่อน แต่เสียดายที่ในชีวิต
จริง หล่อนก็ยังไม่สามารถทำความฝันให้เป็นจริงได้ แล้วยังมีหน้ามาย้อน
คำถามเดียวกันใส่ตัวผมอีกว่า "ความฝันสูงสุดชีวิตของตัวเอง คือ อะไร?"
แต่ยังไม่ทันตอบ สัญญาณเชื่อมผ่านช่องทางอินเตอร์เน๊ต ไม่ของผมก็ของเจ้าหล่อน
ตัดสัญญาณอย่างฉับพลัน ก่อนที่ผมจะพิมพ์คำตอบกลับไปว่า
"นิพพาน"
ก่อนหน้านี้ ก็เคยมีคนมาปรับทุกข์ถึงความหมายที่แท้จริงของชีวิต
ตามประสามนุษย์เงินเดือนที่ทำเก็บเท่าไร ก็ไม่รวยสักที ก็พยายามหว่านล้อม
ให้ผมเข้าก๊วนแสวงหาสิ่งที่สร้างรายได้ที่ดีกว่า (ซึ่งที่หยิบยกมาก็เป็นโฆษณาชวนโม้
ที่ธุรกิจไม่ใบ้กันมากก็พอเดาออก ประมาณว่า "รวย" "เที่ยวต่างประเทศ" "รถยุโรปสุดหรู"
ผมมักจะตัดบทสนทนาประเภทนี้ ด้วยคำที่สุภาพอย่างที่สุดไปว่า
"ไม่ละพี่ เป้าหมายชีวิตผม คือ พระนิพพานครับพี่"
พูดแค่นี้ ประเดี๋ยวเดียวก็วงแตก ......... ต่อสำนวนชักประตูน้ำทั้งห้าไปไม่ถูก
มันเป็นการพูดที่เล่นที่จริงสำหรับผม ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนมักเตือนผมว่า
การเอาเรื่องอย่างนี้มาพูดเล่น "ระวัง นรกจะกินหัวเอา"
แต่พอผมถามถึงโลกของพระนิพพานว่าเป็นเช่นใด ก็ไม่เคยได้รับคำตอบที่พึงพอใจ
ด้วยความเคารพ ผมเชือ่ว่าท่านเหล่านั้น รับรู้ว่าโลกของนิพพานเป็นภพสูงสุด
ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับ โดยอาจมีเรื่องของการเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิเป็นส่วนเสริม
บางคนอาจพูดตัดรอน ไปว่า "เอาตัวให้รอดจากชาตินี้ไปก่อนเถอะพี่น้อง!!"
หลายคนอาจจับทางได้ว่า ถ้าโม้ยาวขนาดนี้ แสดงว่าผู้เขียนกำลังวกเข้าหนังสือ
อะไรสักเล่ม แม้ผู้เขียนเพิ่งจะแสวงปัญญาจากงานสัปดาห์หนังสือฯ เมื่อวานนี้
แต่ทว่า ภารกิจเก่าที่ค้างการทลายกองดองจากงานสัปดาห์หนังสือฯของครั้งก่อนๆ
ก็จำต้องทำไปควบคู่กัน จะอ่านหนังสือที่เพิ่งซื้อใหม่อย่างสบายอารมณ์ก็ทำได้ยาก
เพราะของเก่าที่กองสุมหัวพะเนิน ก็ยังที่จะหลอกหลอนอยู่มิคลาย
หนังสือเล่มเก่าที่ว่าในการทลายกองดองเดือนมีนา ที่ใกล้จะเปลี่ยนหน้าปฏิทินอีกไม่กี่วัน
เป็นหนังสือที่ผมตามมาเก็บมาทั้งชีวิต เพราะเคยไปขอยืมเพื่อนมาอ่าน
ด้วยความที่ชอบงานเขียนและติดตามเทศนาธรรมของท่าน ป. อ. ปยุตโต
สมัยที่มีสมณศักดิ์เป็น พระธรรมปิฎก
จากนั้นก็ไล่ตามเก็บงานเก่าๆของท่าน เกือบทุกชิ้น เท่าที่พอเสาะหาได้
โดยเฉพาะงานสัปดาห์หนังสือฯ ดูเหมือนจะร่นเวลาตามหาไปได้เยอะ อีกด้านหนึ่งก็
เสียสตางค์ไปเยอะด้วยเช่นกัน......................................
เหตุที่หนังสือเล่มนี้ถูกจัดพิมพ์ขึ้น เรื่องไปมีอยู่ว่าไปเกิดกรณีตีความพระธรรมคำสอน
ของพระพุทธเจ้าที่ไปบิดเบือนจากความเป็นจริง ซึ่งทางสำนักธรรมกายมองว่า
"นิพพาน เป็น อัตตา"
จนกระทั่ง มีหนังสือที่ชี้แนวทางเล่มเล็ก-ฉบับบางๆ ที่ชื่อ "กรณีธรรมกาย"
แต่ยังไม่อาจอธิบายและแสดงธรรมได้อย่างเต็มที่ จึงได้รวบรวมเรือ่งราวและหลักฐาน
จนกลายมาเป็น "กรณีธรรมกาย (ฉบับขยาย-เพิ่มเติม)" ของมูลนิธิ
พุทธธรรม ฉบับที่ตนมีในครอบครองเป็นการพิมพ์ครั้งที่ ๒๒ มีผู้ร่วมจิต
ศรัทธาร่วมช่วยพิมพ์เป็น ๘,๐๐๐ เล่ม ให้เหลือล้นในท้องตลาด
แม้แต่คนที่อยู่ห่างจากการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ก็มองเห็นแนวทางที่ถูกที่ควร
ว่าทำไม? "นิพพาน" จึงไม่ควรเป็น "อัตตา" (หวังว่าจะเล่าแบบไม่หนักสมองนะครับ
แต่เชื่อชาวพุทธบางคน "น่าจะ" ยังไม่รู้ให้ได้รู้ "หรือ" ที่รู้แล้ว ก็จะได้เสริมความเข้าใจมากขึ้น
ในคำสอนของพระพุทธศาสนาทุกวันนี้ สิ่งที่รักษาคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ดีที่สุด
คงหลีกหนีไปไม่ได้ หากไม่ใช่ "พระไตรปิฏก" ดังนั้น พระไตรปิฎก จึงเป็นทั้งพุทธประวัติ
กติกา ข้อบังคับที่มาจากพุทธพจน์และพุทธบัญญัติ ซึ่งเป็นบรรทัดฐานที่ชัดเจน (หน้า๑๗)
ภิกษุรูปใดที่ปฏิเสธไม่ยอมรับคัมภีร์ไตรปิฎก ย่อมปฎิเสธความเป็นภิกษุของตน (หน้า๒๐)
การที่ใครอ้างถึงความที่ไตรปิฎกที่พุทธศาสนาในประเทศไทย ยึดตามคัมภีร์บาลี
ว่าอาจมีการบันทึกและสังคายนาอย่างตกๆหล่นๆ แล้วหันไปอ้างอิงพระคัมภีร์ของภาษาอื่น
อย่าง ภาษาโรมัน ภาษาจีน ภาษามคธ อันเป็นฝ่ายของมหายาน ซึ่งล้วนแล้วแต่ชำระ
และตีความออกไปไกลห่างจากพุทธพจน์ดั้งเดิมแทบทั้งสิ้น กลายเป็นจากจารึกตามหลัก
"อาจาริยวาท" (ยึดตามอาจารย์ของตน) ในด้านความเก่าแก่ เขาก็ต่างยกให้ในส่วน
ของภาษาบาลีใกล้เคียงกับพุทธพจน์ของพระองค์มากที่สุด
การที่จะมาอ้างความที่ "พระนิพพาน" เป็นเรื่องของอจินไตย (อยากจะหยั่งถึง) จึงเป็นเรื่อง
ไม่ถูกต้อง เพราะมีกล่าวในพุทธพจน์ที่ตรัสแสดง (หน้า๕๐)
แม้แต่คำว่า "อัตตา" ก็ไม่มีจริงในโลกของพระศาสนา เพราะในคำสอนของพระองค์
ให้อัตตาเป็นเพียงตาม "ภาษาสมมติ" ไม่มีจริงโดย "ปรมัตถ์" (หน้า๖๐)
อย่าว่าแต่นิพพานที่ปรากฎถึงความเป็น "อนันตา" แต่เพียงเท่านั้น แม้แต่ใน "อรรถคาถา"
ก็ระบุไว้ชัดเช่นกัน (ซึ่งในหนังสือเล่มนี้กล่าวไว้หลายจุด ต้องขอข้ามเพราะพิมพ์ภาษาบาลี
ในเครื่องไม่เป็นหงะ) ขอหยิบยกประโยคที่คุ้นหูผู้กำลังพิมพ์ให้ท่านอ่านสักตอน
"สังขารทั้งปวง อันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนันตา
นิพพานและบัญญัติเป็นอนันตา วินิจฉัยมีดังนี้" (ขุ.ปฏิ ๓๑/๕๔๖/๔๕๐)
(มองแง่แม้แต่ข้อบัญญัติเป็นอนันตา เป็นการมองสมมติซ้อนสมมติ แต่ถ้ามองว่าไม่ยึดใน
บัญญัติ ปานี้ใครก็สามารถบิดเบือนและตีความคำพุทธพจน์เข้าข้างหลักการตัวเองไปต่างๆ
นาๆ ซึ่งในหลักนี้ทำให้พุทธศาสนามหายานแตกแขนงเป็นพันเป็นหมื่น จนบางนิกายเป็นโทษ
ต่อสังคมไปเลยก็มี)
อย่างในอรรถกถาบางตอน
"ข้อความว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนันตา นั้น พระพุทธองค์ตรัสรวมทั้งนิพพานด้วย"
(นิทุ.อ. ๒/๘)
บทนี้ก็ชี้ชัดครับ ไม่มีข้อทวงติงไปได้ ยกเว้นแต่บางท่านจะไปอ้างว่า มันไม่ใช่พุทธพจน์
แต่เป็นการตีความของอาจารย์หลังยุคสมัยพระพุทธเจ้าปรินิพานไปแล้ว ก็ไปอ่านตอนข้างบน
ที่ได้หยิบยกละกัน ถ้าไม่ชัดเจนอีก ก็รบกวนไปสัปดาห์หนังสือแห่งชาติฯที่กำลังเปิดอยู่
หนังสือหน้า ๔๐๔ หน้า ราคาเพื่อชาวพุทธเพียงแค่ ๘๐ บาท ไปซื้อที่งานมีลดอีกนะพี่น้อง
แต่ที่น่าเกลียดกว่านั้น คือ การตู่พระวินัยโดยใช้หลักตรรกะที่ว่า
"ถ้าอันนี้ว่าเป็น อันนั้นก็น่าที่จะเป็นด้วย" อย่างที่สำนักธรรมกายอ้างว่า
"ถ้ามองในเชิงกลับกัน ในเมื่อนิพพานเที่ยงและเป็นสุข เราก็จะสรุปได้ว่า สิ่งใดเที่ยง
สิ่งนั้นเป็นสุข สิ่งใดเป็นสุข สิ่งนั้นก็น่าจะเป็นอัตตา" (หน้า ๗๖)
อันนี้มองเชิงตรรกะในนอกหลักการ ไม่ได้นำเอาบริบทอื่นในพุทธพจน์มาพิจารณา
อันนี้ยังไม่รวมการแปลพระบาลีผิดๆเพี้ยนๆ เข้ากับหลักการ-ความเชื่อของตน จนเมื่อ
จำนนก็วกไปวนมา ทำให้สับสน ถ้าใครไม่เคยศึกษาพุทธศาสนาให้ลึกซึ้งก็อาจหลงคล้อย
เชื่อไปตามนั้น จากบางทีไพล่ไปกับวิธีการปฏิบัติวิชา "ธรรมกาย" ของสำนักตัว
ที่ว่า นั่งสมาธิถอดจิต ไปถวายข้าวทิพย์แด่พระพุทธเจ้าที่ประทับในภพนิพพาน
ทั้งๆที่ คำว่า "ธรรมกาย" เเปลตามศัพท์ว่า "กองแห่งธรรม ที่ร่วมขุมนุมหรือที่ประมวล
แห่งธรรม" (หน้า ๑๐๖) โดยไม่ต้องมีวิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงธรรมกาย เพียงมีมรรค ผล
นิพพาน เพื่อให้บรรลุพร้อมบริบูรณ์อยู่แล้ว (หน้า ๑๐๙) แม้แต่ "ธรรมกาย" ก็เป็นคำที่หยิบยก
มาลอยๆ ในฐานะที่เป็นที่เข้าใจกันดีของผู้แสวงในธรรม ไม่ได้มีอิทธิฤทธิ์ถอดรูป-แปลงกาย
แต่อย่างใด
ตลอดจนถึง ศัพท์ "อายตนนิพพาน" ก็ไม่มีโดยบาลีนิยม ซึ่งถ้าจะให้มีจริงๆ
ต้องถูกต้องตามหลักภาษา เป็น "นิพพานายตนะ" แปลว่า "แดนนิพพาน" (หน้า ๑๖๔)
หากไม่เชื่อในความคิดของวิชาการไทย แม้แต่นักวิชาการหัวนอก Pro. Richard Gombrich
ผู้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมบาลีปกรณ์แห่งอังกฤษ ได้เขียนคำอธิบายในหนังสือว่า
"มติของพระพุทธศาสนาที่แท้ว่า อัตตามีเพียงโดยสมมติ ไม่มีจริงโดยปรมัตถ์
และพระนิพพานก็รวมอยู่ในธรรมที่เป็นอนัตตา" (หน้า ๑๕๗)
แม้จะฉายซ้ำกับที่ผมได้เขียนข้างตน แต่วิธีคิดและมุมมองถือว่า
คล้ายคลึงกัน ทั้งไทยและเทศรวมกันหวังว่าคงให้น้ำหนักในหลักฐาน
ที่น่าจะหนักแน่นพอ
เลือกหยิบเล่มนี้ ในเดือนอากาศและอุณหภูมิการเมืองร้อนๆและเศรษฐกิจทรุดๆ
เพื่อหาเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ในการมีเป้าหมายชีวิตในเบื้องหน้าเป็นไปเพื่อหลุดพ้น
มิใช้ไขว้คว้า-เร่งสะสม จนยากที่จะถอนตัวในสิ่งที่เคยได้มี-ได้เป็นมา คือ ด้วย
สังขารธรรมที่ไม่เที่ยงแท้และร่างที่เปลือยเปล่า
อยากมีสำนวนเท่ห์ๆแบบในหนัง A Curious Case of Benjamin Buttun ว่าเกือบท้ายเรื่อง
I don't have much to leave few possessions ,no money really.
I will go out of this world the same way I came in alone and with nothing.
All I have is my story.
เพียงแต่ว่าหลักการนั้น จะต้องไม่บิดเบือนและปรับใช้เพื่อเข้าสู่ลัทธิของตน
จนทำลายหลักการอันเป็นพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าทรงทุ่มเททั้งชีวิตและประสบการณ์เรียนรู้
มาสู่การเผยแผ่ในตลอดทั้งชีวิตที่เหลือ แม้พระองค์จะทรงเข้าสู่ภาวะนิพพานอันสุขสงบได้ก็ตามที่
หนังสือเล่มนี้ จึงเป็นการย้ำชัดโดยพระคุณเจ้า ป.อ.ปยุตโต (ในหน้า ๖๙) ด้วยตัวอักษรหนา ที่ว่า
-ไม่มีหลักฐานในคัมภีร์ใดเลยที่กล่าวถ้อยคำระบุลงไปว่านิพพานเป็นอัตตา
-แต่มีหลักฐานในคัมภีร์เท่าที่ระบุลงไปว่านิพพานเป็นอนัตตานั้นมีและมีหลายแห่ง
ดังนั้นหลักการที่ถูกต้อง ย่อมนำมาซึ่งวิธีการที่ให้มรรคให้ผล เช่นนั้นเอย
(หนังสือเล่มนี้ แท้จริงแบ่งออกสองภาค กับหนึ่งบทสัมภาษณ์ท่านเจ้าคุณ ดังนั้นที่จบไป
ว่าด้วย "นิพพาน" ภาคต้น ส่วนในภาคตอนท้ายว่าด้วยเรื่อง "การทำบุญให้ได้บุญที่แท้" ซึ่งแน่นอน
อุบไว้หากินในตอนต่อไป....................................
วันที่ 7 พ.ค. 2552
ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,173 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,690 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,151 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 15,406 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,385 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,336 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,174 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,014 ครั้ง |
|
|