งานเปิดตัวโครงการยุติความรุนแรงและการข่มเหงรังแกในโรงเรียน “International Friends for Peace (IFP)” ซึ่งถูกจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับสถาบันสอนภาษาอังกฤษ โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) และสนับสนุนโครงการโดย บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน)
โครงการ International Friends for Peace เป็นโครงการมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมให้ นักเรียนไทยในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-4 ได้เรียนรู้ความหลายหลายทางวัฒนธรรมและสังคมเพื่อสร้าง ความตระหนักรู้และความสามารถในป้องกันปัญหาความรุนแรงในเยาวชน เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับตนเอง หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนผ่านการเรียนรู้จากวิทยากรจากนานาชาติผู้มีประสบการณ์ตรงจากนานาชาติ เพื่อนำ ความรูัในระดับสากลมาออกแบบนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาตามบริบทสังคมของตนเองผ่านการ เรียนรู้การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และนำเผยแพร่สู่สาธารณชน ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการเปิดพื้นที่การแสดงความคิดเห็นของเยาวชนอย่างสร้างสรรค์ และเป็นการสร้างความภูมิใจ บนเวทีระดับประเทศในฐานะผู้นำสันติภาพ (Peace Leaders) ซึ่งประสบความสำเร็จมาแล้วในปี 2022 และ 2023 และในปี 2024 นี้ ทางโครงการ นำโดยศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดงานเปิดตัว “Opening of International Friends for Peace 2024” เพื่อสร้างการรับรู้และแรงกระเพื่อมทางสังคมด้านปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชนในโรงเรียน ซึ่งเป็น เป้าหมายสูงสุดของโครงการที่กำลังจะขึ้นในปีนี้ ภายใต้ธีม ช่องว่างระหว่างวัย หรือ Generation Gap เน้นการเรียนรู้จากวัยที่แตกต่าง ปิดช่องว่างและสร้างความเข้าใจระหว่างเยาวชนและผู้ใหญ่ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาเยาวชนอย่างยั่งยืน
งานเปิดตัวโครงการ International Friends for Peace ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ตัวแทนจากหน่วยงานที่มีส่วนในการ ผลักดันโครงการ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม อาจารย์ประจำภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณถิรพุทธิ์ ทิพยรัตน์ ผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ จาก บริษัทโกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) คุณรัตนาวดี เกียรติซิมกุล ผู้อำนวยการกำกับดูแลกิจการ บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) ในนามผู้สนับสนุน คุณศตกมล สวัสดิพรรดิ องค์กรผู้นำนักศึกษาไอเซค ประเทศไทย และตัวแทนนักเรียนผู้ชนะเลิศโครงการ International Friends for Peace 2023 จากทีม Black Hole นายสาริน สุขแก้ว จากโรงเรียน สวนกุหลาบวิทยาลัย และ นางสาวธรรม์ ปิ่นสุภา จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม
“โครงการ International Friends for Peace เป็นโครงการที่มีความเป็นนวัตกรรม (Innovative) มีการ คิดใหม่ทำใหม่ โครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการที่ช่วยเหลือสังคม ซึ่งควรสนับสนุนให้เกิดขึ้น อีกทั้งโครงการ International Friends for Peace ยังสามารถ เป็นโครงการต้นแบบซึ่ง ก่อให้เกิดโครงการอื่นที่สร้างสรรค์ตามมา โครงการนี้ถือโครงการที่เน้นเรื่องของ การป้องกันก่อนจะเกิด (Preventive Approach) มีการกระตุ้นและพัฒนาการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ของ เยาวชนซึ่งก่อให้เกิดการคิดก่อนลงมือทำ” ความรู้สึก ต่อโครงการ International Friend for Peace จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม อาจารย์ประจำภาควิชาวิจัยและ จิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“ในนามของผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ International Friends for Peace ใน 2 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่สร้างความภาคภูมิใจ ให้กับคณะผู้จัดโครงการ คือการที่นำพาโครงการให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็น พื้นที่ที่เป็นกระบอกเสียงให้เยาวชนได้สะท้อน ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคมรอบตัว พร้อมการหาทางแก้ไขผ่านกระบวนการการเรียนรู้เพื่อออกแบบนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหา ดังกล่าวและออกสู่สายตาสาธารณชน เราพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชนในประเทศไทย มีหลากหลายรูปแบบเกินกว่า ผู้ใหญ่จะคาดได้ถึง การที่โครงการประสบความสำเร็จ และได้ดำเนินมาถึงปีที่ 3 นี้ได้เป็นเพราะ การที่เราได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย ที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชน และเราหวังว่าในปีนี้ โครงการของเราจะสามารถสร้างแรงกระเพื่อมทางสังคมว่าในประเทศไทย มีคน กลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งที่พร้อมจะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเยาวชน เพราะ เรามองว่าในช่วงวัยของพวกเขา ควรเป็นช่วงวัยที่ได้เรียนรู้ และเติบโตอย่างปลอดภัยและมีความ สุขที่สุด” คุณถิรพุทธิ์ ทิพยรัตน์ ผู้จัดการฝ่ายลูกค้าโรงเรียน บริษัทโกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) และผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ International Friends for Peace กล่าว
“สำหรับหนูแล้ว IFP ไม่ใช่แค่การแข่งขัน แต่เป็นพื้นที่ปลอดภัยที่รวบรวม ผู้คนซึ่งมีความตระหนักถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม และมีเป้าหมายเดียวกันที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิด ขึ้นผ่านการสร้างนวัตกรรมและนำเสนอออกสู่สาธารณชนเพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กับเยาวชน และเป็นเกียรติมากๆที่ครั้งหนึ่งได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในโครงการนี้ พอผ่านเข้ารอบมา มันได้อะไรกว่าที่ คาดหวังไว้มากๆจริงๆ เพราะนอกจาก ได้พัฒนาภาษาอังกฤษผ่านกิจกรรมตลอดโครงการ ยังได้รับ มิตรภาพดีๆจากเพื่อนๆทั่วประเทศ ทำให้เราได้เรียนรู้ถึงความหลากหลาย และการทำงานร่วมกับผู้อื่น รวมถึงพี่ทีมงานก็ใจดีมากๆและคอยช่วยเหลือพวกเราอยู่ตลอด และที่สำคัญคือทุกคนให้เกียรติ กันและกัน และเคารพซึ่งความแตกต่าง หนูรู้สึกดีใจมากๆที่ได้มีโอกาสรู้จักทุกคน และทุกคนล้วนมีเป้าหมายเดียวกันที่อยากจะทำให้สังคม ของเราดีขึ้น ในทุกๆวัน ทำให้เราสบายใจที่จะแสดงออก และไม่อายที่จะเป็นตัวเอง และสนิทกันทั้งค่าย ถือเป็นประสบการณ์ชีวิตที่ดีมากๆเลยค่ะ” ความรู้สึกจากน้องธรรม์ ปิ่นสุภา หนึี่งในตัวแทน Peace Leaders โครงการ International Friends for Peace 2023
การจัดโครงการ International Friends for Peace ถือเป็นเวทีการแข่งขัน ที่เฟ้นหา นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-4 จากโรงเรียนไทย ทั่วประเทศ ผู้มีความมุ่งมั่นและ ตั้งใจที่จะสะท้อนและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในเยาวชนโดยเฉพาะในโรงเรียน เพื่อเปิดพื้นที่ ให้กับเยาวชนในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และออกแบบนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหา ความรุนแรงดังกล่าว ในปีที่ 3 นี้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการของเรา จะเป็นส่วนหนึ่ง ในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงได้อย่างแท้จริง โดยได้รับความร่วมมือจาก หลายภาคส่วน ผู้มีเป้าหมาย ความรู้ และประสบการณ์ตรงเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ เป็นที่ปรึกษา รวมถึงให้การ
สนับสนุนโครงการ อย่างไรก็ตาม คณะผู้จัดโครงการมีเป้าหมายจะขยายเครือข่ายตัวแทนเยาวชนไทย และสร้างผู้นำด้านสันติภาพ หรือ Peace Leader รวมถึงผู้ปกครอง ครู และโรงเรียน ให้ กว้างขวางมากยิ่งขึ้นเพื่อให้นักเรียนไทยได้เตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้นำและพลเมือง โลกในศตวรรษที่ 21 และสามารถช่วยยุติปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในเร็ววัน
โครงการ International Friend for Peace ครั้งที่ 3 เปิดรับสมัครนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-4 จากโรงเรียนไทยทั่วประเทศ เพื่อคัดเลือกเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ โดยรับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 โดยไม่มีค่าใช้จ่ายตลอดโครงการ