Advertisement
เกี่ยวกับเรื่องนี้ รศ.พญ.ปรียานุช แย้มวงศ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ บอกว่า น้ำมันปลาเริ่มเป็นที่สนใจมาประมาณ 30 ปี เมื่อมีข้อมูลว่าชาวเอสกิโม ที่บริโภคปลาในปริมาณสูง จะมีปัญหาเส้นเลือดอุดตันน้อย ระดับไขมันในเลือดต่ำ และการเกาะตัวของเกล็ดเลือดน้อยกว่าชาวเดนมาร์กซึ่งกิน เนื้อสัตว์มากกว่า นอกจากนี้ ยังพบว่าชาวญี่ปุ่นในหมู่บ้านชาวประมง ที่บริโภคปลาในปริมาณมาก จะมีโรคหลอดเลือดหัวใจ การเกาะตัวของเกล็ดเลือดและความหนืดของเลือดน้อยกว่าชาวญี่ปุ่นในหมู่บ้านเลี้ยงสัตว์
กลุ่มกรดไขมันที่เรียกว่า โอเมก้า 3 คือ ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหนึ่ง พบมากในปลาทะเลน้ำลึก เป็นไขมันจำเป็น ต้องได้รับจากอาหารเนื่องจากร่างกายสร้างขึ้นเองไม่ได้สารอาหารที่สำคัญมี 2 ชนิด คือ อีพีเอ และ ดีเอชเอ ปลาทะเลน้ำลึก ที่ให้สารอาหารโอเมก้า 3 ได้แก่ ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอร์ริ่ง ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน และปลาทูน่า ปลาในอ่าวไทย ที่มีปริมาณโอเมก้า 3 สูง ได้แก่ ปลาทู และที่มีในปริมาณน้อย ถึงปานกลาง ได้แก่ ปลาอีกา ปลากะพง ปลาตาเดียว ส่วน ปลาน้ำจืดบางชนิด เช่น ปลาช่อน ปลานวลจันทร์ จะพอมีโอเมก้า 3 บ้าง ซึ่งมากกว่าปลาน้ำจืดอื่น ๆ
สำหรับความสำคัญของโอเมก้า 3 ในเด็ก กรด DHA มีความสำคัญต่อการเจริญพัฒนาสมองและดวงตาของเด็กทารก โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนก่อนคลอด การขาดของ DHA จะมีความสัมพันธ์กับโรคสมาธิสั้น โดยเด็กที่มีระดับ DHA ต่ำจะมีปัญหาด้านพฤติกรรม อารมณ์ การนอนและการเรียนรู้มากกว่าเด็กกลุ่มที่มีระดับ DHA ปกติ และเมื่อได้รับ DHA เสริม อาการต่าง ๆ จะดีขึ้น
ส่วนความสำคัญของโอเมก้า 3 ในผู้ใหญ่และคนสูงอายุ จะช่วยลดระดับไตรกลี เซอไรด์ในเลือด และเพิ่มระดับไขมันชนิดดีซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดได้ ลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ยากขึ้น ช่วยลดความดันโลหิตได้เล็กน้อย ลดอุบัติการของโรคหลอดเลือดหัวใจ จากการลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ป้องกันโรคความจำเสื่อม ชะลอหรือป้องกันการเจริญของเซลล์มะเร็ง
นอกจากโอเมก้า 3 แล้ว ปลายังเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี ย่อยง่าย และในปลาทะเลยังมีไอโอดีน ซึ่งช่วยป้องกันปัญหาเรื่องคอพอก และช่วยการเจริญพัฒนาของสมองเด็กในช่วงปีแรกด้วย
ข้อควรระวังในการกินโอเมก้า 3 เนื่องจากน้ำมันปลาลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ดังนั้นการกินปลาในปริมาณมากต่อเนื่องกัน หรือกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลา จะทำให้มีปัญหาเรื่องเลือดออกหยุดยากโดยเฉพาะหากกินร่วมกับยาต้านเกล็ดเลือด เช่น แอสไพรินหรือโคลพิโดเกรล
หากกินปลาทะเลมากกว่า 8 ครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากจะมีปัญหาเรื่องเลือดหยุดยากแล้ว ยังจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานลดลงด้วย สิ่งที่ควรระวังอีกอย่างในการบริโภคปลาทะเลปริมาณมาก คือ การปนเปื้อนโลหะหนัก โดยเฉพาะสารปรอท ดังนั้นหากบริโภคมากเกินไป จะเกิดการสะสมและเป็นพิษได้.
ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลโดย นิตยสารสยามดารา
Advertisement
เปิดอ่าน 17,037 ครั้ง เปิดอ่าน 34,957 ครั้ง เปิดอ่าน 36,408 ครั้ง เปิดอ่าน 63,968 ครั้ง เปิดอ่าน 21,348 ครั้ง เปิดอ่าน 49,047 ครั้ง เปิดอ่าน 63,446 ครั้ง เปิดอ่าน 11,211 ครั้ง เปิดอ่าน 46,963 ครั้ง เปิดอ่าน 44,241 ครั้ง เปิดอ่าน 19,140 ครั้ง เปิดอ่าน 40,455 ครั้ง เปิดอ่าน 18,811 ครั้ง เปิดอ่าน 23,866 ครั้ง เปิดอ่าน 15,520 ครั้ง เปิดอ่าน 31,421 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 20,190 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,498 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 18,888 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 51,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 18,352 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 59,482 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,478 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 9,616 ครั้ง |
เปิดอ่าน 59,482 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,236 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,529 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,139 ครั้ง |
|
|