ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สพฐ.ชี้ ให้หาทางออกร่วมกัน กรณีครูออกมาแสดงความคิดเห็นเด็กไม่ตั้งใจเรียน เสนอให้นำนโยบายเรียนซ้ำชั้นกลับมา


ข่าวการศึกษา 6 มี.ค. 2567 (21:41 น.) เปิดอ่าน : 21,118 ครั้ง
Advertisement

สพฐ.ชี้ ให้หาทางออกร่วมกัน กรณีครูออกมาแสดงความคิดเห็นเด็กไม่ตั้งใจเรียน เสนอให้นำนโยบายเรียนซ้ำชั้นกลับมา

Advertisement

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)ในฐานะโฆษกสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (โฆษก สพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏบนสื่อสังคมออนไลน์ กรณีครูผู้สอนรายหนึ่งออกมาสะท้อนความรู้สึกส่วนตัวในมุมของครูผู้สอน ว่ามีเด็กนักเรียนที่ไม่ไฝ่รู้ ไฝ่เรียน ไม่รับผิดชอบ ไม่ตั้งใจทำงานส่งครู โดยอ้างว่าอย่างไรก็ผ่านอยู่แล้ว ซึ่งครูรายนี้ได้ออกมาสนับสนุนให้โรงเรียนประกาศนโยบายเรียนซ้ำชั้น นั้น ประเด็นดังกล่าว ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. ได้รับทราบและมอบหมายให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น พบว่า ครูรายดังกล่าวได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัวจริง ซึ่งทาง สพฐ. มองว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวที่สามารถกระทำได้ แต่ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการศึกษาที่ถูกต้อง ซึ่งจากกรณีตัวอย่างดังกล่าวข้างต้น พฤติกรรมการตอบใบงานของเด็ก อาจวิเคราะห์ได้หลายมุมมอง เช่น ความรับผิดชอบของนักเรียน หรือไม่ชอบวิชานี้ วิชาอื่นเป็นมั้ย หรือขาดวินัย หรือนักเรียนกำลังมีปัญหา ทั้งปัญหาส่วนตัว ปัญหาครอบครัวที่ต้องโฟกัสเรื่องอื่น แต่อยากส่งงานให้เสร็จแบบรีบร้อน หรือติดเกม หรือปัญหาที่โรงเรียนที่ส่งผลกระทบต่อผู้เรียนโดยตรง ทำให้ขาดแรงจูงใจ/ ขาดสมาธิในการเรียนรู้ ดังนั้น เพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนควรให้คำแนะนำกับครูผู้สอน ทำ PLC ร่วมหาทางแก้พฤติกรรมดังกล่าว โดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย หรือคุยกับครูท่านอื่นว่ามีปัญหาเดียวกันหรือไม่ ไม่ควรปล่อยให้ครูแก้พฤติกรรมนักเรียนเพียงคนเดียว และควรวางแผนออกแบบการจัดการเรียนการสอน รวมถึงการตัดสินผลการเรียนตามบริบทแต่ละพื้นที่ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ข้อสอบเพียงอย่างเดียว อาจใช้การสอบปากเปล่า ผ่านโปรแกรมซูม ไลน์ เฟซบุ๊ก หรือช่องทางอื่นได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญซึ่งมีหลากหลายวิธี

ดร.เกศทิพย์ กล่าวต่อไปว่า ส่วนข้อที่ว่า นักเรียนไม่รับผิดชอบงาน ไม่ต้องตั้งใจทำงานส่งครู อย่างไรก็ผ่านอยู่แล้ว นั้น ข้อเท็จจริง คือ การที่นักเรียนจะได้รับการตัดสินผลการเรียน ต้องมาจาก 2 ส่วน ได้แก่

1) เวลาเรียน ซึ่งกำหนดให้นักเรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียน เป็นการมุ่งหวังให้ผู้สอนมีเวลาในการพัฒนานักเรียน และเติมเต็มศักยภาพของนักเรียน และเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ

2) คะแนนการประเมินระหว่างเรียนและคะแนนปลายปี/ปลายภาค ซึ่งการประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้นั้น เป็นการประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ เจตคติ ทักษะการคิด ที่กำหนดอยู่ในมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะนำไปสู่การสรุปผลการเรียนรู้ของนักเรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดต่อไป ซึ่งการกำหนดสัดส่วนคะแนนระหว่างเรียนกับคะแนนปลายปี/ปลายภาค ให้ความสำคัญของคะแนนระหว่างเรียนมากกว่าคะแนนปลายปี/ปลายภาค เช่น 60 : 40, 70 : 30, 80 : 20 เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการให้การบ้านนั้น ควรยึดหลักการลดการบ้าน เพิ่มการเรียนรู้ โดยลดปริมาณการบ้านที่ต้องทำนอกเวลาเรียนหรือที่บ้าน ให้เน้นการมอบหมายการบ้านเฉพาะรายวิชาที่จำเป็น หรือทักษะสำคัญ เช่น การอ่านออก เขียนได้ คิดวิเคราะห์ได้ นำเรื่องราวต่างๆที่เรียนรู้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทั้งคิดเลขเป็น หรือ PLC บูรณาการการบ้าน ซึ่งการบ้านชิ้นงานเดียวอาจตอบโจทย์การเรียนรู้ข้ามรายวิชา และส่งเสริมให้นักเรียนได้มีเวลาศึกษาค้นคว้าตามความสนใจของตนเองมากขึ้น ขณะที่การเก็บคะแนนระหว่างเรียน ครูผู้สอนสามารถนำคะแนนระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนแบบ Onsite หรือผสมผสานกับการเรียนทางไกลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การตอบคำถาม การพูดคุย การนำเสนองานด้วยวิธีการสื่อสารหลากหลาย ผ่านโปรแกรมซูม ไลน์ เฟชบุ๊ก หรือแอปพลิเคชั่นอื่นๆ ได้ เพื่อให้นักเรียนบรรลุคุณภาพตามมาตรฐานและตัวชี้วัดที่หลักสูตรกำหนด ส่วนกรณีที่นักเรียนมีผลการเรียนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ต้องมีการจัดสอนซ่อมเสริมเป็นกรณีพิเศษ เพื่อพัฒนาให้นักเรียนสามารถบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย และตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของนักเรียนอย่างทันท่วงที

“สำหรับประเด็นที่ครูต้องการให้โรงเรียนประกาศนโยบายเรียนซ้ำชั้นนั้น โดยข้อเท็จจริงแล้วเป็นอำนาจของสถานศึกษา ซึ่งสถานศึกษาอาจพิจารณาให้นักเรียนซ้ำชั้นได้ หากพบปัญหาที่เกิดกับนักเรียนในกรณีไม่ผ่านรายวิชาจำนวนมากและมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับที่สูงขึ้น หรือไม่บรรลุผลการเรียนรู้ใดๆ และครูรวมทั้งผู้บริหารร่วมกันหาแนวทางที่เหมาะสมกับเด็ก เพราะงานที่ให้เด็กทำอาจไม่ตอบโจทย์ความถนัดของเด็ก แต่วิธีอื่น อาจได้เด็กที่มีคุณภาพที่ตัวตนซึ่งต่างวิธีกันแต่คุณภาพติดที่ตัวเด็กเหมือนกัน ถือเป็นความท้าทายของผู้อำนวยการโรงเรียนที่เป็นผู้นำทางวิชาการที่ควรร่วมสร้างเด็กคุณภาพด้วยวิธีการที่หลากหลายร่วมกับคณะครู ส่วนการซ้ำชั้นสามารถดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการและให้สถานศึกษาแจ้งผู้ปกครองและนักเรียนได้ทราบเหตุผลของการเรียนซ้ำชั้น โดยให้คำนึงถึงวุฒิภาวะและความรู้ความสามารถของนักเรียนเป็นสำคัญ รวมทั้งพูดคุยกับผู้ปกครองในการหาทางออกร่วมกัน ที่สำคัญคือ ต้องให้รู้จริงๆว่าเด็กไม่สามารถข้ามชั้นได้จริง และครูได้เปลี่ยนวิธีการประเมินผลอย่างหลากหลายแล้วจริง โดยมีทีม PLC แล้ว ทั้งนี้ สพฐ. ได้กำชับให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ และสถานศึกษาทุกแห่ง เร่งทำความเข้าใจ ให้ได้รับรู้รับทราบข้อเท็จจริง ให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องของการวัดและประเมินผลการศึกษา และดำเนินการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งผู้เรียนและผู้สอน เป็นไปตามนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ของกระทรวงศึกษาธิการให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม” โฆษก สพฐ. กล่าว


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก FOCUSNEWS วันที่ 5 มีนาคม 2567 

ติดตามข่าวสารการศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ FOCUSNEWS

 

ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6


สพฐ.ชี้ ให้หาทางออกร่วมกัน กรณีครูออกมาแสดงความคิดเห็นเด็กไม่ตั้งใจเรียน เสนอให้นำนโยบายเรียนซ้ำชั้นกลับมาสพฐ.ชี้ให้หาทางออกร่วมกันกรณีครูออกมาแสดงความคิดเห็นเด็กไม่ตั้งใจเรียนเสนอให้นำนโยบายเรียนซ้ำชั้นกลับมา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ว24/2567 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการย้าย การประมวลผล และการพิจารณาย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS (Teacher Rotation System)

ว24/2567 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการย้าย การประมวลผล และการพิจารณาย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS (Teacher Rotation System)

เปิดอ่าน 1,284 ☕ 9 ธ.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เกียรติบัตรสำหรับสถานศึกษาที่เข้าร่วมการประกวดคลิปวีดิทัศน์ "Meditation Clip Contest"
เกียรติบัตรสำหรับสถานศึกษาที่เข้าร่วมการประกวดคลิปวีดิทัศน์ "Meditation Clip Contest"
เปิดอ่าน 127 ☕ 20 ธ.ค. 2567

ชื่อเต็ม ชื่อย่อ ของหน่วยงานและผู้บริหารระดับสูง ในสังกัด สพฐ.
ชื่อเต็ม ชื่อย่อ ของหน่วยงานและผู้บริหารระดับสูง ในสังกัด สพฐ.
เปิดอ่าน 585 ☕ 19 ธ.ค. 2567

ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล "ครูดีในดวงใจ" ครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2568
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล "ครูดีในดวงใจ" ครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 1,452 ☕ 19 ธ.ค. 2567

ศธ. เปิดตัวระบบTRS ย้ายครูออนไลน์ทุกกรณี แก้ปัญหาทุจริตโยกย้ายไม่เป็นธรรม
ศธ. เปิดตัวระบบTRS ย้ายครูออนไลน์ทุกกรณี แก้ปัญหาทุจริตโยกย้ายไม่เป็นธรรม
เปิดอ่าน 625 ☕ 17 ธ.ค. 2567

การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 455 ☕ 17 ธ.ค. 2567

อักษร เอ็ดดูเคชั่น ลงทุนกว่า 200 ล้าน ยกระดับการเรียนการสอนในห้องเรียนไทย
อักษร เอ็ดดูเคชั่น ลงทุนกว่า 200 ล้าน ยกระดับการเรียนการสอนในห้องเรียนไทย
เปิดอ่าน 459 ☕ 17 ธ.ค. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

กลับบ้านก่อนเวลา ปีนผ้าหนีแทบไม่ทัน
กลับบ้านก่อนเวลา ปีนผ้าหนีแทบไม่ทัน
เปิดอ่าน 17,592 ครั้ง

 ฮวงจุ้ยในห้องนอน
ฮวงจุ้ยในห้องนอน
เปิดอ่าน 21,756 ครั้ง

Facebook และ Twitter ใช้ยิ่งมาก...สุขภาพยิ่งดีกว่านะ
Facebook และ Twitter ใช้ยิ่งมาก...สุขภาพยิ่งดีกว่านะ
เปิดอ่าน 10,848 ครั้ง

ผู้บริหารการศึกษาควรได้รับการปฏิรูปก่อน
ผู้บริหารการศึกษาควรได้รับการปฏิรูปก่อน
เปิดอ่าน 12,134 ครั้ง

ผู้นำซูเปอร์บอร์ดการศึกษา?
ผู้นำซูเปอร์บอร์ดการศึกษา?
เปิดอ่าน 8,847 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ