เป็นที่ทราบกันดีว่าระบบจัดเก็บไฟล์ข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ที่เป็นที่นิยมใช้งานและสะดวกสำหรับผู้ใช้งานจำนวนมากในปัจจุบันมักเป็นระบบที่อยู่บนโครงข่ายไร้สาย หรือก็คือระบบที่อาศัยสัญญาณอินเทอร์เน็ตในการเข้าใช้งาน โดยไม่ต้องพึ่งพาการเชื่อมต่อผ่ายสาย USB หรือแก็ดเจ็ตใด ๆ เข้ากับอุปกรณ์ เช่นบริการรับฝากไลฟ์ของเว็บไซต์ต่าง ๆ บริการคลาวด์ของผู้พัฒนาเจ้าดังต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งด้วยความสะดวกดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ผู้ใช้งานจำนวนมากเลือกจัดเก็บ หรือสำรองไฟล์ข้อมูลทุกอย่างไว้บนระบบไร้สาย หรือระบบออนไลน์แทนการเลือกใช้
แฟลชไดร์ฟ หรือ External Drive ใด ๆ อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้วการใช้งานบริการจัดเก็บข้อมูลแบบไดร์ฟออนไลน์จากผู้ให้บริการรายต่างๆ นั้นก็มีข้อจำกัดและข้อเสียอยู่หลายประการเช่นกัน โดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัยในการเข้าถึง เก็บรักษาข้อมูลหรือสรุปง่าย ๆ ก็คือระบบไดร์ฟออนไลน์เหมาะสำหรับการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลบางประเภท ในบางช่วงเวลาเท่านั้น ขณะที่ข้อมูลบางประเภทที่ต้องการความเป็นส่วนตัวในการเก็บรักษาสูง ไฟล์ข้อมูลสำคัญ ๆ ที่ส่งผลต่อการเข้าถึง ใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัลใด ๆ อาจไม่เหมาะสำหรับอัป โหลดไฟล์ขึ้นไปเก็บไว้บนไดร์ฟออนไลน์สักเท่าไหร่ ในบทความนี้จึงจะมาบอกกล่าวถึงเหตุผลที่เราควรเลือกเก็บไฟล์สำคัญ ๆ ไว้ในแฟลชไดร์ฟ หรือ External Drive แบบออฟไลน์แทนการจัดเก็บบนระบบไดร์ฟออนไลน์หรือคลาวด์ให้ได้ทราบกัน
การเข้าถึงข้อมูลแบบออฟไลน์/ออนไลน์ เหตุผลแรกที่บ่งบอกความเป็นส่วนตัวในการเข้าถึงข้อมูลระหว่างการจัดเก็บข้อมูลแบบ External Drive ที่อาศัยแก็ดเจ็ตฮาร์ดแวร์ เช่น แฟลชไดร์ฟ, SSD และระบบไดร์ฟออนไลน์ หรือคลาวด์ได้เป็นอย่างดีก็คือ การเข้าถึงข้อมูลแบบออฟไลน์ และแบบออนไลน์นั่นเอง การใช้งาน External Drive อย่างแฟลชไดร์ฟนั้นไม่ต้องพึ่งพาสัญญาณอินเทอร์เน็ต หรือสัญญาณเชื่อมต่อไร้สายใด ๆ ซึ่งเท่ากับว่าผู้ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลใด ๆ ที่อยู่บนแฟลชไดร์ฟได้ คือผู้ที่มีแฟลชไดร์ฟอยู่ในมือเท่านั้น ขณะที่ระบบคลาวด์นั้น สามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ และทุกอุปกรณ์ จึงมีความเสี่ยงเรื่องการทำรหัสผ่านรั่วไหล หรือทำให้ผู้ทราบชื่อบัญชีผู้ใช้ และรหัสผ่านโดยไม่ได้ตั้งใจ และอาจนำมาซึ่งการเข้าไปดู ส่งต่อไฟล์ข้อมูลใด ๆ ได้
ความเสี่ยงในการถูกโจรกรรมข้อมูลขณะใช้งานอินเทอร์เน็ต แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วระบบคลาวด์ หรือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลออนไลน์ของผู้ให้บริการรายต่าง ๆ จะมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐาน โดยที่ซอฟท์แวร์ที่เป็นอันตรายต่าง ๆ ไม่สามารถเข้าไปอยู่บนระบบส่วนใดส่วนหนึ่งของบริการคลาวด์นั้น ๆ ได้แต่อย่างที่ทราบกันตามกล่าวข้างต้นว่าพื้นฐานการเข้าถึง และใช้งานพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์นั้นแตกต่างจาก External Drive อย่างแฟลชไดร์ฟ โดยจำเป็นต้องเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต ลงชื่อเข้าใช้ด้วยชื่อบัญชีผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ของเราอาจรั่วไหลไปถึงมือมิจฉาชีพได้ขณะที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์ใด ๆ และพลาดกดลิ้งก์ใด ๆ โดยไม่ตั้งใจ หรือกดติดตั้งซอฟท์แวร์ไม่พึงประสงค์ที่แฝงอยู่บนโฆษณาต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจสามารถเข้าถึงข้อมูลบัญชีผู้ใช้ รหัสผ่านของเราได้
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของสินทรัพย์ดิจิทัลจำเป็นต้องจัดเก็บในรูปแบบออฟไลน์ อีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้การจัดเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์ต่าง ๆ ไม่สามารถทดแทนแฟลชไดร์ฟ หรือไดร์ฟภายนอกแบบออฟไลน์อื่น ๆ ได้ก็คือ ความเสี่ยงในการถูกเข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่านั่นเอง อย่างที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันนอกเหนือจากไฟล์ข้อมูลแบบเดิม ๆ เช่น ไฟล์เอกสาร ไฟล์รูปภาพ วิดีโอ แล้ว ก็ยังมีข้อมูลอีกหนึ่งรูปแบบที่สัมพันธ์กับไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้งานหลายคน ซึ่งก็คือ สินทรัพย์ดิจิทัลต่าง ๆ เช่นNFT เหรียญคริปโตฯ สกุลต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งสินทรัพย์เหล่านี้จำเป็นต้องมีมาตรการในการดูแลรักษาความปลอดภัยสูงกว่าไฟล์ดิจิทัลทั่วไป ผู้ให้บริการจัดการสินทรัพย์ดิจิทัลต่าง ๆ จึงมีระบบรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวแก่ผู้ใช้งานมากกว่าบริการออนไลน์ประเภทอื่น ๆ โดยนอกเหนือจากชื่อผู้ใช้งาน รหัสผ่านแล้ว ผู้ให้บริการเหล่านี้ก็ยังมีคีย์ โควทคีย์ขนาดยาวต่าง ๆ สำหรับให้ผู้ใช้งานใช้ในการกู้คืนบัญชี เข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัลต่าง ๆ ของตัวเอง กรณีที่ลืมรหัสผ่าน หรือถูกโจรกรรมบัญชี และคีย์เหล่านี้ก็จำเป็นต้องถูกจัดเก็บไว้แบบออฟไลน์บนแฟลชไดร์ฟ หรือ External Drive อื่นใด ที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับสัญญาณอินเทอร์เน็ต เพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยบุคคลอื่น
ขอบคุณข้อมูลจาก https://usb-perfect.com/