ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตระหนักถึงความปลอดภัยของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการใช้อาคารสถานที่ในการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อาคารเหล่านี้ย่อมชำรุดทรุดโทรม จึงต้องได้รับการบำรุงรักษาดูแลอย่างสม่ำเสมอ มีการตรวจสอบ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดีและปลอดภัย ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทุกเขต และสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ แจ้งสถานศึกษาในสังกัด ดำเนินการตามมาตรการกำกับติดตาม และการตรวจสอบสภาพอาคารเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังสิ่งที่ส่งมาด้วย เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความปลอดภัยให้กับสถานศึกษาในสังกัด และขอกำชับให้ดำเนินการดังนี้
๑. ขอให้ตรวจสอบ อาคารเรียน อาคารประกอบ ในสถานศึกษา หากพบว่าอาคารชำรุด อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัย ให้ดำเนินการกั้นบริเวณพื้นที่และติดป้ายห้ามเข้า และรายงานผู้บังคับบัญชา โดยทันที
๒. หากมีความจำเป็นต้องใช้อาคารเรียนหรืออาคารประกอบที่ชำรุด ให้ขอวิศวกรตรวจสอบ ประเมินด้านความปลอดภัย และเสนอของบประมาณช่อมแซม
๓. กรณีเกิดเหตุและพบว่าไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว หากเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย แก่ทางราชการ ถือว่าเป็นการปล่อยปละละเลย และมีความบกพร่องในหน้าที่
๑. แต่งตั้งบุคลากรดูแลและรับผิดชอบด้านอาคารสถานที่
๒. วิเคราะห์จุดเสี่ยงสภาพพื้นที่และตรวจสอบโครงสร้างของอาคารเรียน อาคารประกอบ และสำรวจ องค์ประกอบภายในทั้งครุภัณฑ์ ระบบไฟฟ้า สภาพห้องเรียน และห้องน้ำ ห้องส้วม
๓. จัดให้มีแผนเตรียมการป้องกันอุบัติภัยในสถานศึกษา และฝึกซ้อมแผนการอพยพเคลื่อนย้ายนักเรียน และบุคลากร หรือตู้เอกสารที่สำคัญ ในกรณีเกิดเหตุกเฉินพร้อมสร้างเครือข่ายสถานศึกษาใกล้เคียงหรือ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
๔. สร้างความตระหนักและให้ความรู้ในการรักษาความปลอดภัยแก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา
๕. จัดทำป้ายข้อควรระวังด้านความปลอดภัยในจุดอันตราย
๖. ตรวจสอบโครงสร้างและส่วนประกอบอาคารอย่างสม่ำเสมอ
๗. หากสถานศึกษากำลังมีการก่อสร้างอาคารภายในบริเวณควรจัดทำรั้วกั้น หรือใช้ ผ้าคลุมบริเวณ ที่กำลังก่อสร้างไว้ด้วยพร้อมกับติดตั้งป้าย และประกาศเตือนไม่ให้เด็กเข้าไปในบริเวณดังกล่าว เพราะเด็ก อาจได้รับอันตรายจากวัสดุก่อสร้าง เช่น กระจก กระเบื้อง ตะปู เป็นต้น
๘. กรณีเกิดเหตุอาคารวิบัติไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้อาคาร ให้ทำการกั้นล้อมอาคาร ห้ามเข้าใช้อาคาร สั่งปิดอาคาร และประกาศเป็นเขตอันตรายห้ามเข้า และรายงานผู้เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการแก้ไข
๙. กรณีการชำรุดมีผลกระทบต่อโครงสร้างให้จัดหาวิศวกรโยธาผู้มีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม จากหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ดำเนินการสำรวจความเสียหายและจัดทำแบบรูปรายการ วิธีการซ่อมแช่ม พร้อมทั้งจัดทำประมาณราคาเพื่อเสนอของบประมาณต่อไป
๑๐. กรณีการชำรุดไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างให้สำรวจความเสียหายและจัดทำแบบรูปหรือรายการ ปรับปรุงซ่อมแชมพร้อมประมาณราคาเพื่อเสนอของบประมาณต่อไป
ที่มา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สพฐ. สั่งเข้มมาตรการตรวจสภาพอาคารเรียน ย้ำมีเหตุจากไม่ปฏิบัติตาม ถือเป็นโทษบกพร่องในหน้าที่