วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2566 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ครั้งที่ 9/2566 มี ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา เป็นกรรมการและเลขานุการการประชุม โดยที่ประชุมได้มีการพิจารณาและมีมติในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
ที่สอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี) ที่แถลงต่อรัฐสภา และนโยบายการศึกษา “เรียนดี มีความสุข” ของ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
นโยบายที่ 1 พัฒนาระบบห้องเรียนเสมือนจริงสำหรับฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (Classroom Simulation)
นโยบายที่ 2 สร้างครูต้นแบบด้านพฤติกรรมตามจรรยาบรรณวิชาชีพ และการพัฒนาศักยภาพตามพหุปัญญา (Virtual Influencers)
นโยบายที่ 3 พัฒนาการเรียนรู้สำหรับวิถีชีวิตครูในศตวรรษที่ 21
นโยบายที่ 4 ยกระดับการให้บริการงานตามภารกิจของคุรุสภาสู่ความเป็นเลิศ
นโยบายที่ 5 คุรุสภา : สภาวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อสังคมและวิชาชีพทางการศึกษา
และเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษา จำนวน 3 แห่ง รวมจำนวน 3 หลักสูตร ที่คุรุสภาให้การรับรองแล้ว ของสถาบันอุดมศึกษา ที่เป็นไปตามมาตรฐานที่คุรุสภากำหนด ซึ่งผ่านการประเมินจากคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว
2.1 ให้การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 9 แห่ง รวมจำนวน 14 หลักสูตร ที่มีการจัดการเรียนการสอนในที่ตั้งของสถาบันเท่านั้น ดังนี้
1) ปริญญาตรีทางการศึกษา (หลักสูตร 4 ปี) จำนวน 5 แห่ง 8 หลักสูตร ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
2) ปริญญาตรีทางการศึกษา (หลักสูตร 5 ปี) จำนวน 1 แห่ง 1 หลักสูตร ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
3) ประกาศนียบัตรทางการศึกษา (วิชาชีพครู) จำนวน 1 แห่ง 1 หลักสูตร ได้แก่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
4) ปริญญาโททางการศึกษา (วิชาชีพครู) จำนวน 3 แห่ง 3 หลักสูตร ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
5) ปริญญาโททางการศึกษา (วิชาชีพบริหารการศึกษา) จำนวน 1 แห่ง 1 หลักสูตร ได้แก่ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
2.2 ให้การรับรองปริญญาสาขาวิชาบริหารการศึกษาหรือเทียบเท่า ระดับบัณฑิตศึกษา ของสถาบันที่จัดการเรียนการสอนและใช้หลักสูตรเดิมก่อนเกณฑ์การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษา เพื่อการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2557 มีผลบังคับใช้ จำนวน 1 แห่ง 1 หลักสูตร ได้แก่ มหาวิทยาลัยสยาม
2.3 ให้เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาที่คุรุสภาให้การรับรองแล้ว โดยเปลี่ยนแปลงแผนการรับนักศึกษาปริญญาโททางการศึกษา (วิชาชีพบริหารการศึกษา) จำนวน 2 แห่ง 2 หลักสูตร ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ดังนี้
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแสงทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 2 ราย
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้ำกราด จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 2 ราย
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคีรีวงศ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 1 ราย
4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองทุ่ม จังหวัดกาฬสินธ์ จำนวน 1 ราย
5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลกำเนิดนพคุณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 1 ราย
6. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กห้วยน้ำหอม จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1 ราย
ดังนี้
- รอบที่ 1 วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 – 16.00 น.
- รอบที่ 2 วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 – 16.00 น.
- รอบที่ 3 วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 – 16.00 น.
- รอบที่ 4 วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 – 16.00 น.
มีแผนงานและการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อรองรับการดำเนินงานตามภารกิจของคุรุสภา สนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อให้งานของคุรุสภามีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีแผนงานกิจกรรมและผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
1. การเพิ่มประสิทธิภาพการเพิ่มประสิทธิภาพระบบสารสนเทศผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษารองรับการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูตามระดับคุณภาพ (PBA License)
2. การพัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการการทดสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ด้วยระบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Testing)
3. การพัฒนาระบบบริหารจัดการแผนยุทธศาสตร์งบประมาณ การเงินและสินทรัพย์
4. การพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ
5. การปรับปรุงระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) ของสำนักงานฯเพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open data)
6. การปรับปรุงศูนย์คอมพิวเตอร์ (Data Center) ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
7. การจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับงานประมวลผลระดับสูง (Notebook Workstation)
จำนวน 8 เครื่อง รองรับการจัดการทดสอบร่วมกับโปรแกรมบริหารจัดการการทดสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Testing)
8. การบำรุงรักษาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลของสำนักงานฯ(ศูนย์คอมพิวเตอร์ (Data Center) อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ระบบสารสนเทศต่างๆ ระบบเว็บไซต์ ค่าต่ออายุซอฟต์แวร์วินโดว์ลิขสิทธิ์ เป็นต้น)
9. การปรับปรุงและจัดทำแนวปฏิบัติ ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล แผนบริหารความเสี่ยง แผนฉุกเฉินด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
10. การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลครู กับหน่วยงานภายในกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานอื่น
ที่มา สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา