ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

นโยบายการศึกษา "บิ๊กอุ้ม" ทำได้จริง? ทำแบบไหน? : FOCUSNEWS


ข่าวการศึกษา 18 ก.ย. 2566 เวลา 09:59 น. เปิดอ่าน : 3,473 ครั้ง
นโยบายการศึกษา "บิ๊กอุ้ม" ทำได้จริง? ทำแบบไหน? : FOCUSNEWS

Advertisement

หลังจาก พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มอบนโยบายการศึกษาและแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” แก่ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ข้าราชการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ไปเมื่อวันที่ 14 กันยายน ที่ผ่านมา วันนี้ focusnews.in.th มีโอกาสพูดคุยกับเสนาบดีแห่งวันจันทรเกษม “พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ” อีกครั้ง

เริ่มกันที่แนวทางหลักประเด็นหนึ่งที่จะนำไปสู่การที่เด็กจะเรียนดี มีความสุข ได้ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เจ้าของรหัส “เสมา 1” นั่นคือ การลดภาระผู้เรียน เรื่องนี้ พล.ต.อ.เพิ่มพูน อธิบายว่า ก็ให้ลดทั้งหมดที่จะเป็นภาระของเด็ก แต่ถ้าถามว่าทำอะไรก่อนอะไรหลัง เรื่องนี้ ขอฟังก่อน เพราะได้ให้ไปทำแบบสอบถามเพื่อฟังความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมรับฟังนโยบายเมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมาแล้ว โดยมีทั้งจากฝ่ายบริหาร ผู้ปกครอง นักเรียน รวมถึงสื่อมวลชน จะทำให้รู้ว่า อะไรควรเป็นนโยบายเร่งด่วน เพราะผมไม่ได้ถืออัตตา จะเอาเรื่องนั้น เรื่องนี้มาก่อน มาหลัง และก็เอาแบบสอบถามมาเป็นแนวทางส่วนหนึ่ง จะดูคนหมู่มาก ว่าเรื่องนี้ควรทำก่อน ก็จะจัด ผมบอกแล้วว่าผมไม่ใช่น้ำเต็มแก้ว จึงต้องรับฟังทุกคน แล้วก็เน้นเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งอาจจะไม่ใช่เสียงของประชาชนทั้งหมด แต่ถือว่าเป็นผู้ที่มีความสนใจ เพราะเราเป็นประชาธิปไตย

ถามว่า เรื่องการจัดหาแท็บเล็ตให้ครูและนักเรียน ตามโครงการ 1 นักเรียน 1 แท็บเล็ต เรื่องนี้ได้กำหนดสเปกแท็บเล็ต ว่าต้องเป็นอย่างไร มีประสิทธิภาพขนาดไหนเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิผล อย่างไร “เสมา 1” บอกว่า เรื่องนี้เป็นแนวนโยบายในการหาเสียงของพรรคเพื่อไทย แต่เราก็ต้องมาดูเรื่องของงบประมาณ และขณะนี้ก็กำลังจะเข้าปีงบประมาณ 2567 แล้ว คงจะทำได้ไม่เท่าไหร่ ก็คงจะไปเริ่มได้ในปีงบประมาณ 2568 แต่ก็อาจจะได้เพียงบางส่วน ต้องไปดูงบประมาณว่าจะปรับได้ขนาดไหน แต่สิ่งสำคัญคือเรื่องของแพลตฟอร์มจะต้องทำให้ได้ก่อน แล้วก็ทำคอนเทนท์ต่าง ๆ หรือสาระที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ ซึ่งเราต้องยอมรับว่าโลกปัจจุบัน เด็กที่มีโอกาสก็มีสื่อ อุปกรณ์พวกนี้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเด็กที่มีสื่อและอุปกรณ์ก็จะได้ใช้ไปก่อน ส่วนเด็กด้อยโอกาสก็จะต้องมีกระบวนการอื่นมารองรับ เช่น ในห้องสมุดซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ก็สามารถไปเรียนรู้ได้ เพราะอันนี้เป็นเรื่องของการเรียนรู้เพิ่มเติม ยังไม่เต็มรูปแบบ เราทำจากสิ่งที่ไม่มีให้มีเพิ่มเติมขึ้น โดยไม่ได้ยกเลิกของเก่า

“หลักการของผมคือการเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามจะต้องไม่ทิ้งของเก่า แต่จะทำของใหม่ขึ้นมาในลักษณะคู่ขนาน เมื่อลองแล้วใช้ได้ผล ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ถึงจะยกเลิกของเก่า ไม่ใช่ว่าเข้ามาปั๊บจะยกเลิกเลย ซึ่งก็ได้ให้นโยบายกับโรงเรียนไปว่าในการเรียนการสอน ก็อาจจะบันทึกเทปแล้วเอาไปขึ้น YouTube แล้วเอามาประชาสัมพันธ์ให้เด็กไปดูย้อนหลังได้ไปก่อน ส่วนปัญหาระบบเครือข่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ตยังไม่ทั่วถึง เราก็จะต้องทำโดยร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งขณะนี้ภาคเอกชนที่เป็นเจ้าของเครือข่ายก็ทำอยู่แล้ว นอกจากนี้วันนี้ระบบการเรียนการสอนทางไกลเราก็มีของไกลกังวลอยู่ก็สามารถเข้าไปเติมเต็มได้ในส่วนของการเรียนการสอนที่ขาดแคลนครู”พล.ต.อ.เพิ่มพูนกล่าว

และเมื่อพูดถึงเรื่องเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เสมา 1 ก็ยอมรับว่าวันนี้อาจจะยังไม่ทั่วถึง ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบก็พยายามที่จะขยายเครือข่ายเข้าไป ซึ่งอาจจะยังทำไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ผมว่าทำดีกว่าไม่ทำ อย่าให้อุปสรรคหรือข้อจำกัดเล็ก ๆ น้อย ๆ มากีดกั้นที่จะไม่ทำเพื่อส่วนใหญ่ เราอาจจะเพิ่มโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาส ได้ 5% 10% 20% ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไร แต่สิ่งสำคัญผมคิดว่าเรื่องของสื่อ คอนเทนท์ต้องทำให้ได้ก่อนที่จะไปทำเรื่องของฮาร์ดแวร์หรือเครือข่าย เพราะฉะนั้นผมจะรอสื่อให้ได้ก่อนแล้วเช็คระบบ ไม่มีปัญหา ไม่มีข้อบกพร่อง ไม่ Error แล้วค่อยขยายออกไป แต่ที่อยากให้เน้น คือ สื่อการเรียนต้องเน้นเรื่องของแบบทดสอบที่ต้องทำควบคู่ด้วย เด็กเรียนแล้วจะต้องมีการทดสอบการเรียนว่าเป็นอย่างไร มีความรู้ ความเข้าใจอย่างไร เรียนแล้วสามารถคิดวิเคราะห์เป็น เพราะฉะนั้นสื่อที่จะนำไปให้เด็กใช้ จะต้องมีบทเรียนที่ว่าทำอย่างไรให้ผู้เรียนสามารถใช้สติปัญญาไม่ใช่จำอย่างเดียว

“1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ” ก็เป็นอีกหนึ่งความตั้งใจของ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ ที่จะทำให้ทุกโรงเรียนทั่วประเทศมีคุณภาพ ซึ่ง “เสมา 1” ยอมรับว่า เพราะเรามีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ จริง ๆ อยากทำให้ครบทุกโรงเรียน แต่เมื่อมีข้อจำกัด วิธีกระจายก็คืออย่างน้อยต้องมีโรงเรียนคุณภาพอำเภอละหนึ่งโรง แต่ต้องสามารถใช้ทรัพยากรและแหล่งเรียนรู้ร่วมกันได้ เช่น ห้องดนตรี ห้องวิจัย ห้องทดลอง สนามกีฬา ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีทุกโรงเรียน ก็เป็นเรื่องของการบริหารจัดการในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

เมื่อถามว่าความเห็น พล.ต.อ.เพิ่มพูน ถึงการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ ที่มักจะมีการเกณฑ์เด็ก ๆ ไปร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานต้นสังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สาธารณสุข ตำรวจ เป็นต้นนั้น พล.ต.อ.เพิ่มพูน บอกว่า ตนคิดว่าเรื่องนี้เป็นหลักประชาธิปไตย แล้วแต่เด็กหรือสถานศึกษาว่าจะไปหรือไม่ ให้ดูตามความเหมาะสม ซึ่งการร่วมกิจกรรมมองได้สองมุม บางทีอาจจะเสียเวลาไม่ค่อยได้ประโยชน์ อย่างกิจกรรมแห่เทียนหรือไปร่วมเชียร์กีฬา แต่อีกมุมก็เป็นการฝึกทักษะทำให้เรามีสมรรถนะในการทำงานร่วมกัน ก็ถือเป็นการเรียนรู้ได้ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ก็อยู่ที่ผู้บริหารสถานศึกษารักที่จะทำหรือไม่ ผมถึงได้บอกว่าให้เน้นเรื่องฉันทะเป็นหลัก ถ้าเรารักที่จะทำก็ทำ อะไรคือสิ่งที่รักที่ชอบ อะไรที่เราไม่ชอบไม่สบายใจก็อย่าไปทำ อย่างผมมาเป็นรัฐมนตรี ผมก็รักผมก็อยากทำ แต่ก็ไม่ได้ผูกมัด พร้อมที่จะไปได้ตลอดเวลา ถ้าไม่เหมาะสมเราก็พร้อม ไม่ได้ยึดติด ผมไม่ได้เป็นครู แต่ผมเป็น “เสมา 1”และต้องทำวันนี้ให้ดีที่สุด ผมคิดว่าเด็กก็เช่นเดียวกัน ผู้บริหารก็ต้องพิจารณาว่าการไปร่วมกิจกรรม คือการฝึกการเรียนรู้ ให้ดูความเหมาะสม ถ้าเด็กไปแล้วได้ประโยชน์ก็ให้ไปได้ อีกอย่างเขาก็ไม่ได้บังคับให้ไปทุกคน ให้ถามความสมัครใจถ้าอยากไปก็ไป

ถามว่าโครงสร้างของศึกษาธิการภาคตามคำสั่งของหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)กำหนดให้มี12 ตำแหน่ง แต่ตอนนี้มีเพียง 6 ตำแหน่ง ยังขาดอยู่ 6 ตำแหน่ง จะดำเนินการอย่างไร พล.ต.อ.เพิ่มพูน กล่าวว่า เรื่องนี้ ผมยังไม่ทราบต้องขอดูก่อน แต่ สิ่งที่ผมคิดตอนนี้ก็คือเรื่องของการเรียนรู้ของเด็กต้องมาก่อน เป็นเรื่องแรกที่ผมควรจะทำมากกว่าเรื่องสิทธิประโยชน์ของ ผู้บริหารน่าจะหลังจากแก้ปัญหาเด็ก ครูผู้สอนเด็ก ทำอย่างไรให้เด็กได้รับการเรียนรู้อย่างทั่วถึงโดยเฉพาะนโยบาย 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ ผมคิดว่า งบประมาณที่มีควรจะทำเรื่องนี้ก่อนเป็นอันดับแรกมากกว่า

ประเด็นสุดท้ายเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ไม่ว่า“เสมา1” จะเป็นใครมาจากพรรคไหน รัฐบาลใด เรื่องการแก้ปัญหาหนี้สินครูจะต้องถูกหยิบขึ้นมาเป็นจุดขาย ซึ่ง พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ ก็มีเป้าหมายนี้เช่นเดียวกัน ไม่ต่างจากอดีตรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่ผ่าน ๆ มา แถม “บิ๊กอุ้ม” ยังยกตัวอย่างวิธีการแก้ปัญหาหนี้สินในวันแถลงนโยบายการศึกษาจนเกิดเป็นดราม่า วิพากวิจารณ์กันสนั่นเลยทีเดียว ไม่ว่าจะบอกให้ครูรวมรถไปสอน ใส่ซอง 20 บาท หรือไม่ก็ช่วยล้างจาน เป็นต้น

จากประสบการณ์กว่า 30 ปี ในแวดวงนักข่าวสายการศึกษา ยังไม่เคยเห็นรัฐบาลไหนสามารถแก้ปัญหาหนี้สินครูได้อย่างเบ็ดเสร็จ เพราะวิธีการที่ใช้กันหลัก ๆ ก็ พักหนี้ รวมหนี้ ลดดอกเบี้ย ยืดระยะเวลาการใช้หนี้ สอนเรื่องจัดระเบียบวิธีการใช้เงิน วางแผนทางการเงิน ฯลฯ แต่เอาเข้าจริงก็แก้ไม่ได้ พอแก้ทางนี้ได้หน่อยก็ไปปูดทางโน้นต่อ ว่ากันว่า วงการ(หนี้)นี้เข้าง่ายออกยาก กู้ง่ายจ่ายลำบาก จ่ายเท่าไหร่ก็ไม่หมด แบกแต่ดอกต้นไม่ลด แต่ถึงอย่างไรก็ขอชื่นชมความตั้งใจที่จะการแก้ปัญหาหนี้ครูของรัฐบาลนี้ อย่างน้อยก็ไม่มองข้ามปัญหาสำคัญที่จะมาช่วยให้ครู(แม้จะเป็นเพียงส่วนน้อย)มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนได้อย่างแน่นอน

แต่ในความเป็นจริงก็ยังเชื่อว่า หนี้สินนี้เราสร้างด้วยตัวเราไม่มีใครสามารถมาปลดหนี้ให้เราได้หรอกนอกจากตัวเราเอง เรื่องนี้ “อัตตาหิ อัตโนนาโถ” ต้องมาแล้วล่ะ หนี้สร้างด้วยตัวเราฉันใด วินัยทางการเงินสร้างก็ได้ด้วยตัวเราฉันนั้น

*** เกาให้ถูกที่คัน นะท่าน “เสมา1”***


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก FOCUSNEWS วันที่ 17 กันยายน 2566 


นโยบายการศึกษา "บิ๊กอุ้ม" ทำได้จริง? ทำแบบไหน? : FOCUSNEWSนโยบายการศึกษาบิ๊กอุ้มทำได้จริง?ทำแบบไหน?:FOCUSNEWS

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารการศึกษา และตัวชี้วัดการประเมิน

การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารการศึกษา และตัวชี้วัดการประเมิน

เปิดอ่าน 4,126 ☕ 6 ก.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญและวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ
การดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญและวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ
เปิดอ่าน 837 ☕ 16 ก.ค. 2567

สพฐ.รุกพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเด็กประถมฯ ปลื้ม เด็ก รร.คุณภาพ ผ่านเกณฑ์ A1 CEFR
สพฐ.รุกพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเด็กประถมฯ ปลื้ม เด็ก รร.คุณภาพ ผ่านเกณฑ์ A1 CEFR
เปิดอ่าน 244 ☕ 16 ก.ค. 2567

บอร์ดขับเคลื่อนคุณภาพผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานประชุมนัดแรก เป้าหมายยกระดับคุณภาพผู้เรียน ไม่เน้นปรับหลักสูตร
บอร์ดขับเคลื่อนคุณภาพผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานประชุมนัดแรก เป้าหมายยกระดับคุณภาพผู้เรียน ไม่เน้นปรับหลักสูตร
เปิดอ่าน 248 ☕ 16 ก.ค. 2567

ประกาศรายชื่อโรงเรียนต้นแบบลูกเสือ สู่ศตวรรษที่ 21 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ประกาศรายชื่อโรงเรียนต้นแบบลูกเสือ สู่ศตวรรษที่ 21 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 1,535 ☕ 15 ก.ค. 2567

แนวทางการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณโครงการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2567
แนวทางการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณโครงการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 955 ☕ 13 ก.ค. 2567

การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา (ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษา)
การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา (ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษา)
เปิดอ่าน 1,863 ☕ 13 ก.ค. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เดจาวู! ทฤษฎีภาพซ้อน หรือ ย้อนอดีต!
เดจาวู! ทฤษฎีภาพซ้อน หรือ ย้อนอดีต!
เปิดอ่าน 16,381 ครั้ง

ทำไมคนเราต้องกระพริบตา
ทำไมคนเราต้องกระพริบตา
เปิดอ่าน 31,715 ครั้ง

หมดยุค"ปริญญาแปะฝาบ้าน"!! "ทักษะอาชีพ-ชีวิต"สำคัญกว่า?
หมดยุค"ปริญญาแปะฝาบ้าน"!! "ทักษะอาชีพ-ชีวิต"สำคัญกว่า?
เปิดอ่าน 428,149 ครั้ง

เพลง "วันแม่"
เพลง "วันแม่"
เปิดอ่าน 23,897 ครั้ง

นักเทคโนโลยีการศึกษา
นักเทคโนโลยีการศึกษา
เปิดอ่าน 40,739 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ