ตามที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เปิดรับสมัคร การทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู รายวิชาครู ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 วันที่ 4 – 22 กันยายน 2566 ผ่านระบบออนไลน์ ทางเว็บไซต์ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา โดยหลังจากเปิดรับสมัครสอบไม่นาน พบว่าทุกสนามสอบเต็มทุกที่นั่ง เต็มทุกรอบ ทำให้มีผู้เสียสิทธิจำนวนมาก นั้น เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566 ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า การที่คุรุสภาได้สมัคร การทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู รายวิชาครู ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 ซึ่งมีการพัฒนาระบบ เช่นเดียวกันการระบบการจัดสอบของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) สอบ2 วิชา คือ วิชาครู และวิชาเอก โดยได้อาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำหน้าที่พัฒนาระบบ จัดสอบที่ศูนย์สอบของก.พ.ทั้ง 5 ภูมิภาค สาเหตุที่ไม่สามารถใช้มหาวิทยาลัยทั้งหมดเป็นศูนย์สอบได้ เนื่องจากความพร้อมของระบบคอมพิวเตอร์แต่ละแห่งไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงเลือกใช้มหาวิทยาลัยที่เป็นศูนย์สอบของก.พ.อยู่แล้ว
เลขาธิการคุรุสภา กล่าวต่อไปว่า การสอบครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 จัดให้สอบประมาณ 20,000 ที่นั่ง จำนวน 4 รอบ ได้แก่ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 – 16.00 น.วันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 – 16.00 น. วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 – 16.00 น. และวันที่ 26 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 – 16.00 น. ประกาศผลในช่วงเดือนธันวาคม และจะประกาศรับสมัครสอบอีกครั้งในช่วงเดือนมกราคม 2567 โดยจะมีการสอบอีกประมาณ 10 รอบ เช่น การสอบในเดือนกุมภาพันธ์ จะรับสมัครวันที่ 6-21 มกราคม และจะสอบรวม 10 รอบ รอบแรกประมาณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ รอบ2 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ รอบ3 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ รอบ4 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ รอบที่ 5 วันที่ 9 มีนาคม รอบที่ 6 วันที่ 10 มีนาคม รอบที่ 7 วันที่ 16 มีนาคม รอบที่ 8 วันที่ 17 มีนาคม รอบที่ 9 วันที่ 23 มีนาคม และรอบที่ 10 วันที่ 24 มีนาคม ทั้งหมดนี้เป็นปฏิทินการสอบครั้งที่ 2 ซึ่งจะเกิดขึ้นในปี 2567 ที่คุรุสภา กำหนดจะจัดสอบให้ได้รอบละประมาณ 5,000 คน รวม 10 รวม เท่ากับ 50,000 คน หลักจากนั้นตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป ก็จะเปิดให้สอบได้ทุกเดือนให้สอบได้ทั้งปี เพราะฉะนั้นผู้ที่ลงทะเบียนไม่ทัน ไม่ต้องตกใจว่า คุรุสภา จะจัดสอบครั้งเดียว ยังมีการจัดสอบอีกหลายรอบ และตั้งแต่ปี2567 การสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตฯ จะเกิดขึ้นทุกเดือน ทั้งนี้ ปฏิทินที่กำหนดไว้ยังเป็นเพียงการวางแผนเบื้องต้น เพราะต้องไปดูด้วยว่า ช่วงเวลาที่กำหนดไว้จะไปตรงกับการสอบของก.พ.หรือไม่ แต่คิดว่า ปีหน้าจะสามารถจัดสอบได้หมดทั้ง รวมกว่า 90,000 คน ถ้ารวมกับที่จัดสอบในปีนี้ไปแล้ว 4 รอบ ก็จะมีผู้เข้าสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตฯได้ประมาณกว่า 100,000 คน ที่ผ่านมาอาจมีการสื่อสารและทำให้เกิดการเข้าใจผิด คิดว่า จะมีการจัดสอบเพียงครั้งเดียว ซึ่งไม่ใช่ ผู้สำเร็จการศึกษา สามารถสมัครสอบดีอีกครั้งเดือนมีนาคม ส่วนข้อสอบแต่ละครั้งจะไม่เหมือนกัน รูปแบบข้อสอบก็จะแตกจ่างกันไป โดยปีนี้ จะเป็นการสอบแบบมีตัวสถานการณ์เป็นตัวตั้ง เพื่อจะเป็นการวัดสมรรถนะ เป็นต้น
“ส่วนที่มีข้อเสนอว่า ไม่ควรให้เด็กที่เรียนคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ปีที่ 3 และ4 เข้าสอบด้วยนั้น ก็ไม่อยากให้ไปกันสิทธิ เพราะเข้าใจว่า นักศึกษาเหล่านี้ก็อยากเข้าสอบและมีคุณสมบัติครบที่จะสอบ ส่วนเหตุผลที่ต้องประกาศสอบเป็นรอบ ๆ เพราะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง และข้อสอบ รูปแบบการสอบแต่ละครั้งก็จะไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตามไม่รู้สึกกังวล เพราะทุกอย่างมีที่มาที่ไป และการที่นักศึกษามีข้อสงสัยว่า ทำไมสอบที่สถาบันการศึกษาของตัวเองไม่ได้ ต้องไปสอบที่ศูนย์สอบ เพราะการสอบต้องใช้ศูนย์สอบที่มีคุณภาพ มีระบบการป้องกันกันทุจริต และการสอบจะใช้เกณฑ์เดียวกับก.พ.ทุกอย่าง มีการตรวจสอบสนามสอบในเชิงลึก นักศึกษาไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้สอบเพราะการสอบมีหลายรอบ” ผศ.ดร.อมลวรรณกล่าวและว่า ส่วนกรณีที่หลังเปิดรับสมัคร พบว่า ทุกสนามสอบมีผู้สมัครเต็มอย่างรวดเร็วนั้น ส่วนตัวไม่คิดว่า จะมีผู้สมัครเข้ามาจำนวนมาก โดยระบบสแตนบายไว้รองรับคน 50,000 ต่อวินาที แต่มีผู้สมัครสอบเกินเป้า เพราะฉะนั้น ในระยะยาวอาจมีแผนการขยายสนามสอบ แต่ก็ต้องขอตรวจสอบสภาพสนามสอบก่อน
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก FOCUSNEWS วันที่ 4 กันยายน 2566
ในขณะเดียวกันทางเฟซบุ๊ค คุรุสภา ได้โพสต์ข้อความในเรื่องนี้ ดังนี้