ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 9/2566 วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม 2566 โดยมีนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม และมี รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นเลขานุการการประชุม ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและมีมติที่สำคัญ ดังนี้
ก.ค.ศ. พิจารณาเห็นว่า ระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2561 ได้บังคับใช้มาระยะหนึ่งแล้ว ไม่สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง ไม่เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงเห็นสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับความเหมาะสมและเพื่อความมีประสิทธิภาพ โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. กำหนดขั้นตอนการรายงานการดำเนินการทางวินัยการและการรายงานการสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาและมิได้สังกัดเขตพื้นที่การศึกษา รวมถึงข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสถานศึกษาที่สอนระดับปริญญา โดยยกเลิกคำนิยามและอำนาจหน้าที่ของปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือปลัดกระทรวงอื่นที่มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่รวมถึงปลัดกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการรายงานการดำเนินการทางวินัยตามระเบียบนี้ออก เนื่องจากหน่วยงานการศึกษาที่สังกัดปลัดกระทรวงดังกล่าว เช่น สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ปัจจุบันมีพระราชบัญญัติจัดตั้งแล้วและมีองค์กรการบริหารงานบุคคลของตนเองแล้ว คือ สภามหาวิทยาลัย/สภาสถาบันทำหน้าที่ออกข้อบังคับการบริหารงานบุคคลและดำเนอนการบริหารงานบุคคล
2. กำหนดระยะเวลาการดำเนินการซึ่งเกี่ยวข้องกับการรายงานการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการ
3. กำหนดวิธีการและเอกสารประกอบการรายงานการดำเนินการทางวินัยและการให้ออกจากราชการของผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 แล้วแต่กรณี อาจกระทำได้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์โดยมีรายการตามเอกสารตามรายการแนบท้ายระเบียบ
ตามที่ ก.ค.ศ. ได้ประกาศใช้หลักเกณฑ์และวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
(ว7/2564) ต่อมาพบว่าเกิดประเด็นปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดสัดส่วนตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาที่จะรับย้ายแล้วใช้การแต่งตั้งจากบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือก ดังนั้น เพื่อให้การบริหารอัตรากำลังที่ว่างหรือตำแหน่งที่คาดว่าจะว่างจากการเกษียณอายุราชการเพื่อให้สถานศึกษามีผู้บริหารสถานศึกษาเข้ามาจัดการและพัฒนาคุณภาพได้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ คือ วันที่ 1 ตุลาคม ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารอัตรากำลังผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการและโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยเป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ จึงมีมติให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว7/2564 และ ว18/2563 ดังนี้
1) ข้อ (1) กำหนดให้นำตำแหน่งที่คาดว่าจะว่างจากการเกษียณอายุราชการ มากำหนดสัดส่วนรวมกับตำแหน่งว่างในปัจจุบันได้ โดยมีเงื่อนไขว่า "ตำแหน่งที่คาดว่าจะว่างจากการเกษียณอายุราชการนั้นต้องเป็นตำแหน่งที่ไม่มีเงื่อนไขการใช้ตำแหน่งและคาดว่าจะได้รับจัดสรรคืนจากคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.)"
2) ข้อ (4) การกำหนดสัดส่วนกรณีมีตำแหน่งว่างเกิดขึ้นภายหลัง เห็นควรเพิ่มเติมข้อความให้ชัดเจน “(4) กรณีมีตำแหน่งว่างเกิดขึ้นภายหลังจากที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ แล้วแต่กรณี ได้พิจารณากำหนดสัดส่วนหรือพิจารณาย้ายเสร็จสิ้นแล้ว (เช่น ลาออก เปลี่ยนตำแหน่ง ย้ายไปต่างเขตพื้นที่การศึกษา ย้ายกรณีอื่น ฯลฯ) ให้นำไปดำเนินการตามข้อ (1) ข้อ (2) และหรือข้อ (3) ใหม่ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงตำแหน่งที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ แล้วแต่กรณี ได้กำหนดสัดส่วนที่จะใช้ในการรับย้าย หรือจะใช้ในการบรรจุและแต่งตั้งจากบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกหรือจะใช้สำหรับการคัดเลือกที่กำหนดไว้เดิมแล้ว”
3) การย้ายสังกัดส่วนราชการอื่น หากกำหนดให้มีการกำหนดสัดส่วน และประสงค์จะนำตำแหน่งที่คาดว่าจะว่างเนื่องจากการเกษียณอายุราชการมากำหนดสัดส่วนด้วย ต้องเพิ่มเติมเงื่อนไขการใช้ตำแหน่งว่า “ตำแหน่งที่คาดว่าจะว่างจากการเกษียณอายุราชการนั้น ต้องเป็นตำแหน่งที่ไม่มีเงื่อนไขการใช้ตำแหน่งและคาดว่าจะได้รับจัดสรรคืนจากคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.)”
1. กรณี อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษหรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง แล้วแต่กรณี มีตำแหน่งที่คาดว่าจะว่างจากการเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2566 และยังไม่ได้นำมากำหนดสัดส่วนเพื่อจะใช้ในการรับย้ายและใช้ในการบรรจุและแต่งตั้งจากบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกหรือจะใช้สำหรับการคัดเลือก ให้ดำเนินการตามข้อ ง. ของการแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย เพื่อใช้ในการพิจารณาย้ายครั้งแรกภายในวันที่ 30 กันยายน 2566 และให้มีผลไม่ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2566
2. ผู้ขอย้ายที่ยื่นคำร้องขอย้ายประจำปี พ.ศ. 2566 ระหว่างวันที่ 1 - 15 กรกฎาคม 2566 ไปแล้วและอ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้งแล้วแต่กรณี มีการกำหนดสัดส่วนตำแหน่งว่างกรณีตามข้อ 1 เพิ่มเติม หากผู้ขอย้ายที่ยื่นคำร้องขอย้ายประจำปี มีความประสงค์จะขอย้ายไปดำรงตำแหน่งในสถาศึกษาดังกล่าว สามารถทำบันทึกแจ้งความประสงค์ขอย้ายไปดำรงตำแหน่งในสถานศึกษาดังกล่าวได้ ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2566
ทั้งนี้ หาก อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง แล้วแต่กรณี ได้นำตำแหน่งที่คาดว่าจะว่างจากการเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2566 ไปกำหนดสัดส่วนเพื่อจะใช้ในการรับย้ายและใช้ในการบรรจุและแต่งตั้งจากบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกหรือจะใช้สำหรับการคัดเลือกแล้ว ให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนดแล้ว”
ได้กำหนดให้ใช้การย้ายกรณีเพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยให้มีการกำหนดสัดส่วนตำแหน่งว่างเช่นเดียวกับการย้ายกรณีปกติ ทำให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ไม่สามารถนำตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยที่คาดว่าจะว่าง มากำหนดสัดส่วนได้ ประกอบกับการย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ในหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตาม ว 7/2564 ซึ่งใช้กับทุกส่วนราชการ มิได้กำหนดให้มีการกำหนดสัดส่วนตำแหน่งว่างเพราะเห็นว่าการย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการต้องมีความรวดเร็วและสามารถดำเนินการได้ทันทีนำมาซึ่งประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับสูงสุด ดังนั้น ควรปรับแก้หลักเกณฑ์และวิธีการย้ายฯ ในข้อ ง. และข้อ จ. เป็นดังนี้
“ข้อ ง. การใช้ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพื่อใช้ในการรับย้ายและการบรรจุและแต่งตั้งจากบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกหรือใช้สำหรับการคัดเลือก
ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พิจารณาใช้ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ในการรับย้ายก่อน หากไม่มีผู้บริหารสถานศึกษาที่จะรับย้ายกรณีเพื่อพัฒนาหรือยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พิจารณาใช้ตำแหน่งดังกล่าวในการบรรจุและแต่งตั้งจากบัญชีผู้ได้รับคัดเลือก ทั้งนี้ กรณีไม่มีบัญชีผู้ได้รับคัดเลือกให้ใช้ตำแหน่งว่างดังกล่าวสำหรับการคัดเลือก”
“ข้อ จ. การประกาศตำแหน่งที่ใช้ในการรับย้าย
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประกาศตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยที่ว่างอยู่ หรือตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยที่คาดว่าจะว่าง ให้ทราบโดยทั่วกัน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยระบุรายละเอียดกำหนดการที่ให้ผู้บริหารสถานศึกษาแสดงความประสงค์จะย้าย พร้อมทั้ง คุณสมบัติ องค์ประกอบและรายละเอียดตัวขี้วัดในการประเมินศักยภาพผู้ที่จะได้รับการพิจารณาย้าย เกณฑ์การพิจารณาและเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด”
ตามที่ ก.ค.ศ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0206.6/ว 14 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ข้อ 12 กำหนดว่า “การนำบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีอื่น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด” ก.ค.ศ. จึงได้จัดทำ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการนำบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีอื่น ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้น เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถนำบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีของสำนักงานเขตพื้นที่ใกล้เคียงไปเรียกบรรจุครูผู้ช่วยได้ในกรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่ของตนไม่มีผู้สอบได้หรือไม่มีการขึ้นบัญชีไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้สถานศึกษามีครูปฏิบัติหน้าที่เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนครู รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ได้ปรับให้มีระยะเวลาการดำเนินการที่รวดเร็วขึ้น และเป็นไปตามระเบียบและหลักธรรมาภิบาล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ ซึ่ง (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการฯ ดังกล่าว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. หลักเกณฑ์และวิธีการนี้ใช้สำหรับการขอใช้บัญชีเฉพาะสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. การขอใช้บัญชี
2.1 หลักการการขอใช้บัญชีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้ขอรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในกลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอกที่จะบรรจุและแต่งตั้งจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาที่ใกล้เคียงที่สุด โดยพิจารณาจากระยะทางที่ตั้งระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2.2 การขอใช้บัญชีสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ให้ขอรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในกลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอก ที่จะบรรจุและแต่งตั้งจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ใกล้เคียงที่สุดก่อน โดยพิจารณาจากระยะทางระหว่างที่ตั้งของสถานศึกษาที่จะบรรจุและแต่งตั้งกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ หากไม่มีบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในกลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอกที่ขอ ให้ขอจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง
3. การดำเนินการขอใช้บัญชี
3.1 เมื่อมีตำแหน่งว่าง ผู้ขอใช้บัญชีจะต้องเสนอข้อมูลจำนวนตำแหน่งว่างในกลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอกที่ประสงค์ขอใช้บัญชี และข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในกลุ่มวิชาฯ ที่ประสงค์ขอใช้ ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารการศึกษาพิเศษ แล้วแต่กรณี พิจารณา
3.2 เมื่อผู้สอบแข่งขันได้รายใดที่ได้รับการประกาศรายชื่อเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีของผู้ขอใช้บัญชีแล้ว จะถูกยกเลิกการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีเดิม
3.3 กรณีเมื่อผู้สอบแข่งขันได้รายใดที่สมัครใจและได้รับการประกาศรายชื่อเป็นผู้สอบแข่งขันได้ของผู้ขอใช้บัญชีแล้ว หากไม่ไปรายงานตัวตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด หรือขอสละสิทธิ์การบรรจุและแต่งตั้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือไม่อาจรับการบรรจุและแต่งตั้งตามวันที่กำหนดได้ ให้ถือว่าผู้สอบแข่งขันได้รายนั้นสละสิทธิ์การบรรจุและแต่งตั้ง และจะถูกยกเลิกการขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ทั้งบัญชีเดิมตามประกาศของผู้ขอใช้บัญชี
3.4 เมื่อบรรจุและแต่งตั้งสอบแข่งขันได้แล้ว สถานศึกษาที่รับการบรรจุและแต่งตั้งจะต้องมีอัตรากำลังสายางานการสอน ไม่เกินเกณฑ์อัตรากำลังที่ ก.ค.ศ. กำหนด
4. การนำบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีอื่นให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน
- สังกัดสำนักงานปลัด กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 106 อัตรา
- สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 5 อัตรา
- สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15,194 อัตรา
- สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 539 อัตรา
- สังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ จำนวน 175 อัตรา
ทั้งนี้ ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และกรมส่งเสริมการเรียนรู้ สงวนอัตราตำแหน่งครูผู้ช่วยที่ได้รับจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 3,938 อัตรา จำนวน 183 อัตรา และจำนวน 8 อัตรา ตามลำดับ เพื่อรองรับการบรรจุบุคคลตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ตามมติ ครม. และที่ประชุมกระทรวงศึกษาธิการโดยให้เป็นไปตามข้อตกลงของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกับส่วนราชการนั้น ๆ
ที่มา สำนักงาน ก.ค.ศ.